TEXT: Momiin
Main Idae
- สาเหตุหลักของธุรกิจ SME ที่อยู่ไม่นาน ก็คือ ขาดความรู้เรื่องการเงิน
- วันนี้เราเลยพามารู้ 5 วิธีบริหารเงิน ฉบับ ป้องกันธุรกิจล้มเหลว มาฝากเพื่อนๆ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกัน
พาไปรู้จัก Cost Structure ต้นทุนในการทำธุรกิจทั้งหมด
ต้นทุนมีหลายประเภท ต้นทุนที่แบ่งตามวัตถุประสงค์จะมี 2 ประเภท คือ
1. ทุนเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษาเรื่องจักร ค่าเช่าสำนักงาน ฯลฯ
2. ทุนเพื่อเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจ เช่น งบโฆษณา งบเช่าพื้นที่พิเศษเพื่อลูกค้าของตนเองตามห้างสรรพสินค้า งบลงข่าว ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
แต่ถ้าแยกตามประเภทของต้นทุน จะมี 4 ประเภท
1. ต้นทุนคงที่ (fixed cost) เป็นรายจ่ายคงที่ จ่ายประจำ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่า
2. ต้นทุนผันแปร (variable cost) จ่ายมากจ่ายน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน
3. ต้นทุนผลิตมากแล้วราคาถูกลง (economy of scale) เช่น สั่งผลิตขวดโหลใส่อาหารจำนวน 1,000 ใบขึ้นไป จะได้ราคาต่อชิ้นถูกกว่าปกติ
4. ต้นทุนซื้อรวมกันแล้วถูกลง (economy of scope) เช่น ซื้อเครื่องใช้สำนักงานพร้อมกัน และจัดส่งทีเดียวจะได้ส่วนลดมากกว่า และได้รับบริการส่งฟรี
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/finance/8354.html
3 วิธีใช้ประโยชน์จากข้อมูลการเงิน
1. เก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็น แยกประเภทรายรับ-รายจ่ายให้ถูกต้อง ต้องเริ่มแยกตั้งแต่แรกว่าค่าใช้จ่ายหรือรายได้ต่างๆ นั้นอยู่ในบัญชีการเงินประเภทไหน โดยอาจใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ตอนนี้มีผลิตออกมาให้เลือกมากมายเป็นตัวช่วย ยอมเสียเวลานิดหน่อยตั้งแต่ทีแรก เพื่อไม่ให้มาปวดหัวภายหลังจะดีกว่า
2. อ่านข้อมูลให้เป็น วิเคราะห์แนวโน้ม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ร้านอาหารของคุณขายดีที่สุดในช่วง 3 เดือน คือ กรกฏาคม - กันยายน สิ่งที่คุณสามารถนำใช้ประโยชน์ได้จากข้อมูลนี้ ก็คือ
- ก่อนที่ช่วงพีคจะวนกลับมาอีกรอบ สามารถวางแผนเตรียมตัวจ้างคนเพิ่มเพื่อให้มาช่วยได้
- กันเงินเอาไว้บางส่วน เพื่อลงทุนเพิ่มในช่วงเวลานั้นๆ
- วางแผนซื้อวัตถุดิบเอาไว้ล่วงหน้าในช่วงที่ราคาต่ำ เพื่อนำมาใช้ในเวลานั้น
3. งบการเงินที่ต้องรู้ให้เป็น
- งบกำไรขาดทุนเพื่อตรวจสอบสถานะการเงินของบริษัทว่าอยู่ในเกณฑ์ใด
- งบกระแสเงินสดช่วยตรวจเช็กศักยภาพวางแผนการเงินล่วงหน้า
- งบดุล- ช่วยบอกว่า ณ เวลานั้นกิจการของเรามีทรัพย์สินความมั่งคั่งมากน้อยแค่ไหน
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/finance/8919.html
รวม 4 แหล่งเงินทุนสำหรับ SME
1. แหล่งเงินทุนของตัวเอง (Founder, Family, Friend)
- เงินออม Founder เจ้าของธุรกิจ SME ที่มีเงินออมหรือเงินเก็บส่วนตัวที่คำนวณแล้วว่าถ้าหยิบเงินออมมาใช้จะไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี
- หยิบยืมจากครอบครัว เพราะไม่มีดอกเบี้ย และหากธุรกิจมีผลกำไรก็สามารถแบ่งให้ครอบครัวได้
2. นักลงทุน Angel Investor หรือ Venture Capital
- Angel Investor คือ นักลงทุนอิสระที่มีเงินทุนและประสบการณ์มักเลือกลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองชื่นชอบไอเดียและทีมงาน โดยให้เงินทุนสำหรับการเริ่มต้น แต่การจะเจอกับนักลงทุนอิสระต้องอาศัยคอนเนกชั่นทางธุรกิจ
- Venture Capital (VC) คือ องค์กรที่รวบรวมเงินจากกลุ่มนักลงทุนหรือบริษัท เพื่อนำไปหาโอกาสการลงทุนและสร้างผลตอบแทนจากธุรกิจที่มีรายได้หรือการเติบโตที่ดี ซึ่ง Venture Capital จะให้เงินลงทุนสูงกว่า Angel Investor และมีระยะเวลาลงทุนนานกว่า โดยอยู่ที่ 3-5 ปี
3. ธนาคารและสถาบันการเงิน การกู้สินเชื่อธุรกิจกับธนาคารหรือสถาบันการเงินนับเป็นการกู้เงินในระบบ มีข้อดีต่อเจ้าของธุรกิจ SME ที่หาแหล่งเงินทุน คือ กฎหมายจะมีการรับรองว่ามีการกู้หนี้ยืมสินจริง มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เป็นไปตามกฎหมาย มีการพิจารณาให้สินเชื่อและกำหนดระยะเวลาชำระคืนตามความเหมาะสมของธุรกิจ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารและสถาบันการเงินกำหนด
4. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล หน่วยงานรัฐบาลหลายๆ หน่วยงาน เช่น สสว., บสย., ISMED ฯลฯ มักมีโครงการที่สนับสนุนเงินทุนให้เปล่าสำหรับเจ้าของธุรกิจ SME โดยเปิดรับสมัครเจ้าของธุรกิจเข้ามาเสนอแผนธุรกิจในโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่จะพิจารณาธุรกิจที่สร้างนวัตกรรมหรือสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/finance/8836.html
7 วิธีบริหารหนี้ให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง
1. มีระบบบัญชีที่ดี เพื่อจะได้ตรวจสอบตัวเลขทางการเงินได้ว่า บริษัทมีกำไรหรือขาดทุน จะได้แก้ไขและหาทางป้องกันได้ทันท่วงที
2. หมดยุคแบกสต็อก ทำให้เป็น Zero waste หรือวิธีที่เป็นที่นิยมในยุคนี้คือ การพรีออร์เดอร์ ทำให้ไม่ต้องเสียเงินไปเช่าโกดัง รวมทั้งมีการควบคุมการผลิตจะช่วยทำให้ควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้นในสภาวะที่กำลังซื้อลดลง
3. เก็บเงินลูกค้าให้เร็วขึ้น ในภาวะฉุกเฉินบริษัทอาจต้องมีวิธีการทำให้ลูกค้าชำระหนี้ให้เร็วขึ้น เช่น ยอมให้ส่วนลด เพื่อให้มีเงินสดเข้าบริษัท
4. เคลียร์หนี้ให้เป็น เมื่อบริษัทมีหนี้ ควรพิจารณาดูความสำคัญ ต้นทุนของหนี้ ดอกเบี้ยตัวไหนแพงก็ควรรีบเคลียร์นี้ตัวนั้นให้เรียบร้อนก่อน
5. กู้เงินเท่าไหร่ถึงจะพอดี หากผู้ประกอบการต้องการเงินมาลงทุนก็ไม่ควรเกิน 2-2.5 เท่าของทรัพย์สินที่บริษัทมี
6. เสียภาษีให้ถูกต้อง การเสียภาษีให้ถูกต้องนอกจากจะทำให้ค้าขายได้อย่างบริสุทธิ์ใจแล้ว การไม่เสียภาษีเมื่อโดนตรวจสอบและ โดนปรับย้อนหลังจะเสียเงินมากกว่าเก่า โดยเฉพาะเรื่อง vat อาจโดนปรับถึง 3-4 เท่า หรือคนที่อยู่นอกระบบอาจเสียมากกว่านั้นเมื่อต้องมีการจ่ายใต้โต๊ะ
7. จอมยุทธ์ตัวเบา ในยุคนี้บริษัทอาจไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเอง การ outsource จ้างผู้เชี่ยวชาญช่วยทำในบ้างเรื่อง ทำให้ธุรกิจไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายมากไป
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/finance/8896.html
4 ขั้นตอนบริหารการเงินในวิกฤต
จากปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นในวิกฤตเราสามารถวิเคราะห์ และไล่เรียงลำดับวิธีการแก้ปัญหาได้ดังนี้
1. จำแนกปัญหา เช็คสถานะทางการเงินปัจจุบัน
- เช็คงบกระแสเงินสดระยะสั้น ว่ามีอยู่เพียงพอหรือไม่ คงเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถประคองไปได้อีกเท่าไหร่
- เช็คผลการดำเนินงานกับแผนธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain แรงงานขาดแคลนไหม จัดลำดับความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้
- ต้องการเงินทุนสนับสนุนอีกเท่าไหร่ และใช้เมื่อไหร่ โดยสามารถย้อนดูได้จากเงินสดรับกับเงินสดจ่าย ลองเรียงลำดับหนี้ที่ต้องจ่าย
2. ประเมินทรัพยากรและแหล่งทุนที่มี
- ตรวจสอบวงเงินกับธนาคาร ยังมีวงเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถเพิ่มขึ้นมาได้สูงสุดเท่าไหร่ ความยืดหยุ่นในข้อสัญญาเงินกู้สามารถผ่อนปรนอะไรได้บ้าง
- แหล่งที่มาของเงินทุนอื่น มีอะไรอีกบ้าง เช่น เงินเก็บ, ครอบครัว, ทรัพย์สินที่มีอยู่
- สอบถามผู้ถือหุ้นสามารถระดมทุนเพิ่มได้หรือไม่
- มีสินทรัพย์อะไรที่สามารถแปลงเป็นทุนได้บ้างในเวลานี้ อะไรที่สามารถขายทอดตลาดได้
- หาการสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ
3. จัดทำแผนบริหารเงินสด
- วางแผนงบประมาณการใช้เงินในแต่ละส่วนให้คุ้มค่าที่สุด
- เจรจาต่อรองเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เพื่อขอผ่อนผันสัญญา
- จัดหาเงินทุนเพิ่มเติม ไม่ว่าฝั่งเจ้าหนี้ หรือนักลงทุน
- แจ้งสถานการณ์วิกฤตและการเงินของบริษัทให้แก่ผู้ร่วมรับผิดชอบและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบ
- มองหาความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาเฉพาะด้านเพื่อมาช่วยแก้ปัญหา อาทิ ทีม HR เมื่อต้องมีการเลิกจ้างพนักงาน เป็นต้น
- หาวิธีกระตุ้นยอดขาย หรือรายได้เสริมจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมในระยะสั้น
4. ติดตามผลแบบเรียลไทม์ เพื่อปรับแก้ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- อัพเดตสถานการณ์เป็นระยะๆ ประเมินสถานะทางการเงินอยู่ตลอดเวลา
- ตรวจเช็คแผนการที่วางไว้ว่าเหมาะสมหรือสามารถช่วยแก้สถานการณ์ ณ ตอนนั้นได้หรือไม่
- หาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในระยะยาว
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/finance/7824.html
และนี่คือ 5 วิธีบริหารเงิน ฉบับ ป้องกันธุรกิจล้มเหลว ที่ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถนำไปปรับใช้ได้แบบ 1,000 เปอร์เซ็นต์
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี