ต้องบอกเลยว่าการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับความเป็นความตายนั้นไม่ได้ง่ายเลย แต่สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจเหล่านี้อยู่รอดได้ ก็คือ การสร้างความแตกต่างให้ธุรกิจ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำ 5 ไอเดียการทำธุรกิจแห่งความตายอย่างไรให้แตกต่างจากคู่แข่ง จาก 4 แบรนด์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย และ 1 ไอเดียจากเมืองนอก มาดูว่าแต่ละแบรนด์เขาใช้ไอเดียอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
LifeGem
เป็นธุรกิจที่สร้างขึ้นเพื่อให้คนที่มีชีวิตอยู่ สามารถนึกถึงและจดจำบุคคลผู้จากไปได้ตลอดกาล ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์จากเถ้ากระดูกของมนุษย์ ก่อตั้งในปี 2544 ที่สหรัฐอเมริกา ไอเดียของการทำธุรกิจให้แตกต่างจากคู่แข่งก็คือ นำเถ้ากระดูกหรือเส้นผมมาเสกให้กลายเป็นเพชร เพื่อนำไปประกอบเป็นอนุสรณ์หรือเครื่องประดับอย่างสวยงามและไม่เหมือนใคร และเมื่อเพียงไม่นานหลังเปิดตัวก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก เพราะเพียงแค่ปีแรกก็มีการสั่งทำถึง 6,000 ออเดอร์ บอกเลยว่าเป็นไอเดียถึงกับต้องร้องว้าวกันเลยทีเดียว
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/marketing/5930.html
ข้อมูลติดต่อ
Website: https://www.lifegem-uk.com/
สถานที่: เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
บริบุญ
เป็นธุรกิจที่ต่อยอดมากจากสุริยา หีบศพ ศิริราช ที่ทายาทรุ่น 3 เข้ามาสานต่อเพื่อทำให้สุริยา หีบศพมีคนรู้จักมากขึ้น โดยการคิดแคมเปญ “บริบุญ” ขึ้นมา ซึ่งเป็นแคมเปญในรูปแบบของการช่วยเหลือหรือการให้ จากการซื้อพวงหรีด 1 พวก เท่ากับโลงศพ 1 โลง เป็นการบริจาคโลงศพให้กับผู้ที่ยากไร้ 1 คน ที่สำคัญพวงหรีดทำมาจากกระดาษรีไซเคิล และทางร้านมีบริการรับฝากพวงหรีดหรือโลงศพ เพื่อเก็บไว้บริจาคในอนาคต สามารถบริจาคได้ทั่วประเทศ ทั้งวัดหรือโรงพยาบาล ตามที่ทุกคนต้องการ หรือซื้อพวงหรีดพร้อมบริจาคไปกับโรงก็ได้เช่นกัน เป็นการต่อยอดสินค้าที่ทำให้คนรู้สึกอิ่มบุญมากเลยว่าไหม
ข้อมูลติดต่อ
Facebook: บริบุญ – Boriboon
Instagram: Boriboonxsuriya
Line: @boriboonsuriya
Tel. 092 508 1086
สถานที่ : 418-422 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
สุคติ ผ้าดิบบริจาค
เป็นแบรนด์ผ้าดิบบริจาคของหนุ่มอาร์ตติส ที่แจ้งเกิดด้วยวิธีการทำธุรกิจที่ไม่ซ้ำใคร โดยใช้การบอกเล่าเรื่องราว (Storytelling ) ให้ผู้บริโภคได้รับรู้และทำความเข้าใจถึงความจำเป็นในการบริจาคผ้าดิบห่อศพที่แท้จริง และเมื่อผู้บริโภคเข้าใจแล้ว จากนั้นจึงต่อด้วย How to ช่องทางการนำไปบริจาค และปิดด้วยการขายว่าหากสนใจซื้อจะต้องทำยังไง และมีสินค้าให้เลือกแบบไหนบ้าง เห็นไหมละว่าแค่ใช้เทคนิคเล็กๆ ในการขายสินค้าก็สามารถปิดการขายได้อย่างง่ายได้ และยังทำให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงสินค้าจริงๆ อีกด้วย
สามารถอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/7142.html
ข้อมูลติดต่อ
Facebook: สุคติ ผ้าดิบบริจาค
Instagram: sucati.by.ling
Line: h.k.textile
โทร: 089 019 9939
สถานที่ : 46/1 หมู่4 ซ.วัดนางสาว ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน
ลฤก พวงหรีดเสื่อ
เป็นธุรกิจพวงหรีดที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ ผลงานของทายาทรุ่น 3 ผู้เข้ามาสานต่อธุรกิจโรงงานเสื่ออายุกว่า 50 ปีของครอบครัวให้สุดปังมากกว่าเก่า โดยเขาไอเดียจากตอนที่ไปงานศพ แล้วเห็นว่าคนเริ่มไม่ซื้อพวงหรีดที่เป็นดอกไม้กัน แต่สั่งพวกพวงหรีดพัดลมและอื่นๆ มองว่าน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่ไม่เป็นขยะ แล้วทางวัดหรือเจ้าภาพก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ทีนี้เลยมาคิดว่า เสื่อของเรามันก็อยู่คู่วัด คู่บ้านของคนอยู่แล้ว ก็น่าจะมาเป็นพวงหรีดได้เช่นกัน ซึ่งบอกได้เลยว่าได้ทั้งระลึกถึงคนที่จากไปและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สามารถอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/marketing/5308.html
ข้อมูลติดต่อ
Facebook: ลฤก พวงหลีดเสื่อ
Instagram: laluek_wreath
Line: http://lin.ee/8Uczios
โทร: 081 349 5349
สถานที่: 323 ซอยบางแคง 14 กรุงเทพมหานคร 10160
สู่ขิตคอฟฟี่บาร์
ธุรกิจสุดท้ายขอแถม เพราะว่าเป็นธุรกิจที่เป็นที่พูดถึงมากบนโซเชียลมีเดียในช่วงต้นปีที่ผ่านมาก ซึ่งเป็นธุรกิจคาเฟ่ที่ขายคอฟฟี่บาร์ที่สุดหลอด ไอเดียของทางร้านเขาก็คือใช้เอาโลงศพมาทำเป็นเคาน์เตอร์บาร์ ทำให้เรียกเสียงจากคนจากโลกออนไลน์ได้เป็นอย่างมาก ลูกค้าต่างก็อยากมาลิ้มลองกาแฟกันยกใหญ่ แค่สร้างความแตกต่างที่ชัดเจนก็สามารถเรียกลูกค้าให้ซื้อได้อย่างง่ายดาย
ข้อมูลติดต่อ
Facebook: สู่ขิตคอฟฟี่บาร์
โทร: 080 339 1566
สถานที่ : 79/20 ม.6 ถ.เลี่ยงเมือง ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ .สุราษฎร์ธานี 84000
และนี่คือ ไอเดียการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความตายที่แตกต่างจากคู่แข่ง
ค่าใช้จ่ายหลังความตาย
1. ค่าใช้จ่ายที่เจ้าภาพงานศพจะต้องจ่าย
- ค่าโลงศพ ราคาเริ่มต้น 3,000 -200,000 บาท
- ค่าดอกไม้ประดับหน้าศพและเมรุ ราคาเริ่มต้น 8,000 – 15,000 บาท
- ค่าอาหารเลี้ยงแขก ราคาเฉลี่ยต่อคืน 2,000 – 5,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ค่าบำรุงศาลา
- ค่าธรณีสงฆ์กรณีที่ญาติต้องเก็บศพผู้เสียชีวิตไว้ก่อนยังมิได้ประกอบพิธีเผาหรือนำไปฝัง ราคาโดยประมาณ 5,000 บาท
2. ค่าใช้จ่ายของรูปแบบพิธีกรรมทางศาสนา
- ค่าทำพิธีกงเต็ก มีค่าใช้จ่าย 2 ส่วนคือ ค่าใช้จ่ายให้กับคณะที่จัดพิธีกงเต็ก และค่าใช้จ่ายเพิ่มให้กับทางวัด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 20,000 บาท
- ค่าหลุมฝังศพ ราคาเริ่มต้น 10,000 – 1,000,000 บาท
- ค่าสถานที่จัดงานศพ
ที่มา : https://thaipublica.org/2011/09/funeral-business-1/
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี