TEXT : อุดมทรัพย์ สุวรรณคุณ
Main Idea
- ค่าไฟแพงขึ้น ผู้ประกอบการคงอยากจะหาตัวช่วยในการลดค่าใช้จ่ายใช่ไหมครับ
- กระแสกำลังมาเลยกับการติดโซลาร์เซลล์ เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟ ยิ่งมีกระแสโซเชียลที่มีคนแชร์ค่าไฟหลังติดโซลาร์เซลล์ ลดค่าไฟจากหลักพันจนเหลือหลักสิบ! โซลาเซลล์ก็ดูเป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้นมาทันทีทั้งกับคนทั่วไปหรือแม้แต่คนทำธุรกิจ
ผู้ประกอบการที่กำลังคิดจะติดตั้งโซลาร์เซลล์ วันนี้เรามีข้อควรรู้ มาช่วยในการตัดสินใจ การไม่รอบคอบอาจทำให้การลงทุนของคุณไม่คุ้มค่าได้นะครับ
โซลาร์เซลล์ คือ?
โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คือ อุปกรณ์ที่ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้ทันที หรือเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้ เป็นพลังงานสะอาดที่ใช้ได้ไม่จำกัด ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย!
ทำไมติดโซลาร์เซลล์ถึงคุ้มค่า?
ไฟฟ้าถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ร้านอาหาร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ ต่างมีการใช้ไฟอย่างต่อเนื่อง ที่จะหนักหนาเอาการคือ การเปิดเครื่องปรับอากาศ บางที่เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง ยิ่งในช่วงที่ค่าไฟแพงขึ้นการติดโซลาร์เซลล์เป็นการประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือนไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับแต่ละสถานประกอบการ
ปัจจัยหลักๆ ที่นำมาคำนวณความคุ้มค่า คือ
- จำนวนเงินที่ลงทุนติดตั้งโซลาเซลล์ เช่น
- โฮมออฟฟิศขนาดเล็ก – ใช้แผงโซลาร์ขนาดไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ (kW)
- อาคารหรือโรงงานขนาดเล็ก – ใช้แผงโซลาร์ขนาดตั้งแต่ 10 – 250 กิโลวัตต์ (kW)
- โรงงานขนาดกลางหรือโรงกลางขนาดใหญ่ – ใช้แผงโซลาร์ขนาดตั้งแต่ 250 กิโลวัตต์ขึ้นไป (kW)
- ธุรกิจเกษตร ฟาร์ม สวน ที่มีพื้นที่ไม่ใหญ่มาก ใช้แผงโซลาร์ขนาดตั้งแต่ 300 กิโลวัตต์ขึ้นไป (kW)
สำหรับการติดโซล่าเซลล์ ราคาจะตกประมาน 25-40 บาท/W เช่น ขนาด 5kW ที่นิยมสำหรับโฮมออฟฟิศขนาดเล็ก เอา 5000W x 25-40 บาท ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 110,000 – 130,000 จะลดค่าไฟได้ประมาณ 2,500-3,000 บาทต่อเดือน
- ขนาดของกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละวัน
- ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่ต้องจ่าย ควรมีบิลค่าไฟเฉลี่ยต่อเดือนสูงกว่า 2,000 บาทขึ้นไป
- เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เนื่องจากระบบโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานถึง 20-25 ปีขึ้นไป
ประเภทแผงโซลาร์เซลล์
1. โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
ข้อดี
มีคุณภาพสูง ผลิตจากซิลิคอนเกรดดีสุด ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าประเภทอื่นผลิตไฟได้ดีแม้แสงจะน้อย อายุการใช้งานนานถึง 25-40 ปี
ข้อเสีย
ราคาจะสูงกว่าประเภทอื่น
2. โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
ข้อดี
มีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิสูงดีกว่าโมโนคริสตัลไลน์ อายุการใช้งาน 20-25 ปี ราคาถูกกว่าโมโนคริสตัลไลน์
ข้อเสีย
ใช้พื้นที่ติดตั้งมากกว่า
3. ประเภทฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)
ข้อดี
ฟิล์มจะมีลักษณะบางกว่าประเภทอื่น ทนต่ออากาศร้อนได้ดี สามารถโค้งงอได้ ราคาถูกที่สุดและมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด ไม่เหมาะกับภาคอุตสาหกรรม
ระบบโซลาเซลล์
1. ระบบโซล่าเซลล์ประเภท On grid
ข้อดี
- ระบบที่เชื่อมต่อกับ Grid หรือระบบไฟฟ้าของภูมิภาคหรือไฟฟ้านครหลวง
- ค่าใช้จ่ายไม่สูง เนื่องจากระบบนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ Battery สำรองไฟฟ้า
- จะได้ไฟฟ้ากระแสตรงมา ดำเนินการต่อผ่าน Inverter เพื่อทำการแปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงาน
ข้อเสีย
- ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์ได้เพียงช่วงเวลากลางวัน หรือวันที่แดดแรงเท่านั้น
- ในระหว่างวันโซล่าเซลล์อาจจะไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ จะต้องมีการนำดึงไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาจ่ายให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงาน
2. ระบบโซล่าเซลล์ประเภท Off grid
ข้อดี
- ไม่ยุ่งยากไม่ต้องเชื่อมต่อกับ Grid ของการไฟฟ้า
- มีการติดตั้ง Battery เข้าไปเพื่อเป็นพลังงานสำรองของโซล่าเซลล์
ข้อเสีย
- ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแบบ On grid เนื่องจากมีเงินลงทุนของ Battery รวมไปถึงค่าบำรุงรักษา
- ต้องมีเรื่องของการออกแบบที่ดีให้ครอบคลุมไปถึงช่วงเวลาที่ไม่มีแสงแดด เช่น กลางคืน หรือ แสงแดดไม่จัด
- ความเสถียรของการใช้ไฟฟ้า อาจจะไม่เพียงพอได้ในบางช่วงเวลา
3. ระบบโซล่าเซลล์ประเภท Hybrid
ข้อดี
- นำข้อดีของทั้ง 2 ระบบ คือ On grid และ Off grid มาประยุกต์เข้าด้วยกัน
- สามารถใช้ไฟฟ้าได้ทุกช่วงเวลาไม่ว่าจะเป็นช่วงแสงแดดแรงหรือแดดอ่อน
ข้อเสีย
- เงินลงทุนสูง
- ต้องมีการออกแบบที่ดี
สรุปข้อดีหลักๆ ของการติดโซลาร์เซลล์
- ประหยัดค่าไฟ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ช่วยประหยัดค่าไฟได้
- อยู่ได้นาน อายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ 20-25 ปี ใช้งานได้นาน ประหยัดนานขึ้น
- รักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อม โซลาร์เซลล์เป็นพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ ใช้ได้ไม่มีวันหมด
- คืนทุน เป็นการลงทุนระยะยาว
ข้อควรระวัง
- ความแข็งแรงของหลังคา ด้วยมาตรฐานแผ่นโซลาร์เซลล์ มีน้ำหนักอยู่ที่ 20-30 กิโลกรัม
- สภาพหลังคาที่เก่า มีรอยร้าว รอยแตก ควรปรับปรุงใหม่ เพราะโซลาร์เซลล์ มีอายุการใช้งานนานถึง 20-40 ปี
การเลือกผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง
การเลือกผู้ในบริการ เป็นสิ่งควรพิจารณาอย่างรอบคอบ สามารถให้คำปรึกษาหรือแนะนำได้ ได้รับมาตรฐาน มีความชำนาญ แจกแจงราคาการติดตั้ง มีบริการหลังการขาย ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ราคาอยู่ที่ประมาณ 200,000-300,000 บาท ราคาจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต
การขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์
ผู้ขอติดตั้งต้องเตรียมเอกสาร ไปยื่นขออนุญาตกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ การไฟฟ้านครหลวง เอกสารที่ต้องเตรียมสามารถเซ็คได้ที่เว็บ https://myenergy.mea.or.th/ ขั้นตอนนี้อาจยุ่งยากและต้องใช้เวลานานหน่อยนะครับ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี