Air Protein เทคโนโลยี สร้างเนื้อสัตว์จาก อากาศ ไม่ต้องฆ่าสัตว์และใช้พืช ทางเลือกใหม่ธุรกิจสายกรีน

 

 

     ในปัจจุบันเรามักเห็นอาหารที่ทำจากโปรตีนจากพืชหลากหลายอย่างมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าผู้บริโภคหันมาสนใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และยังตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทำให้หลายๆ ธุรกิจเริ่มสนใจที่จะพัฒนาอาหารที่สามารถใช้ทดแทนเนื้อสัตว์มากขึ้น และในตอนนี้ก็มีเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถสร้างโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ได้โดยไม่ต้องมีส่วนผสมจากพืช เทคโนโลยีที่ว่านี้ก็คือ Air Protein

     การสร้างโปรตีนจากอากาศหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องจริงหรือ มันเป็นเรื่องเหนือจินตนาการหรือเปล่า เราอยากบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องเหนือจินตนการแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องจริงที่กำลังจะเกินขึ้น และทางบริษัทที่สร้างเทคโนโลยีนี้ขึ้นมา ยังบอกอีกว่าการสร้างโปรตีนจากอากาศมันมีความเป็นไปได้สูงมาก

ที่มาของการสร้าง Air Protein

     คนที่เป็นเบื้องหลังในการสร้าง Air Protein ก็คือ Dr. Lisa Dyson นักฟิสิกส์ด้านการวิจัยและที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจมากจากการวิจัยของ NASA ที่ทำการวิจัยในปี 1960 ซึ่งทาง NASA ได้พยายามหาวิธีที่ทำให้นักบินอวกาศสามารถปลูกอาหารทานเองได้ในการเดินทางไปอวกาศ และทาง NASA ก็ได้ค้นพบแบคทีเรียในกลุ่ม Hydrogenotrophs ซึ่งสามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้เป็นสารอาหารได้ และทาง CEO Dyson ก็นำเอาวิจัยนี้ไปพัฒนาต่อยอดเป็นเทคโนโลยี Air Protein ขึ้นมา เป้าหมายของเขาก็คือต้องการที่จะผลิตเนื้อสัตว์ที่สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืชได้ เช่น Impossible Foods หรือ Beyond Meat ที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้

ข้อได้เปรียบของการผลิต Air Protein

     ในการสร้าง Air Protein ใช้พื้นที่น้อยกว่าในการเลี้ยงโคและการปลูกพืช ซึ่งพลังงานที่ใช้ในการหมักจุลินทรีย์นั้นก็มาจากพลังงานหมุนเวียน CEO Dyson ยังบอกอีกว่าการผลิตเนื้อสัตว์จาก Air Protein  นอกจากจะทำให้อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงแล้ว ยังช่วยทำให้เนื้อสัตว์ที่ทำจากโปรตีนมีราคาที่ถูกและยังมีความยั่งยืนกว่าเนื้อสัตว์อื่น ๆ อีกด้วย เพราะว่าในการสร้างโปรตีนจากอากาศมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำ

     ถ้าเปรียบเทียบกระบวนการผลิตของ Air Protein กับการปลูกถั่วเหลือง  ซึ่งในการปลูกถั่วเหลืองนั้นต้องใช้พื้นที่ขนาดเท่ากับรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา และถ้าต้องการผลิตถั่วเหลืองเพื่อให้มีโปรตีนเท่ากับฟาร์มโปรตีนจากอากาศ ต้องใช้พื้นที่ขนาดเท่ากับ Walt Disney World ไดสันกล่าวเสริม

     ข้อได้เปรียบของโปรตีนจากอากาศอีกข้อหนึ่งก็คือ เวลาในการผลิต ซึ่งแป้งที่ทำจาก Air Protein สามารถผลิตได้ภายในเวลาไม่กี่วัน และเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ปลูกพืชกับเลี้ยงสัตว์ ต้องใช้ระยะเวลาเป็นเดือนเป็นปีกว่าจะได้โปรตีนมา

     และเทคโนโลยีนี้ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับธุรกิจที่ต้องการทำอาหารจากโปรตีนเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์

TEXT : รัชนีกร ทองรอด

ที่มา : https://www.odditycentral.com/foods/air-protein-startup-uses-space-age-tech-to-create-meat-out-of-thin-air.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน