​เปิดผลสำรวจโอกาสก้าวขึ้นสู่ผู้บริหารระดับสูงสุดของ CIO

 
 
                 บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น (เอชดีเอส - HDS) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) เปิดเผยผลการสำรวจเกี่ยวกับ โอกาสในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร หรือ ซีอีโอ (CEO - Chief Executive Office) ของผู้บริหารด้านสารสนเทศ หรือ ซีไอโอ  (CIO - Chief Information Officer) ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ตีพิมพ์ใน Economist Intelligence Unit (EIU) เรื่อง “The Future for CIOs: Which Way Is Up?” ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พบว่า ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าผู้บริหารฝ่ายไอทีอาจเป็นที่ยอมรับจากผลงานในภาคธุรกิจ แต่ก็มีจำนวนน้อยที่สามารถก้าวไปสู่ตำแหน่ง CEO ได้ ซึ่งผลการสำรวจได้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการผลักดันไปสู่ตำแหน่ง CEO ในอนาคตนั้นต้องอาศัยปัจจัยอื่นมากกว่าความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค
 
                การสำรวจนี้ได้ทำขึ้น ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดย Economist Intelligence Unit (EIU) ได้ทำการสำรวจผู้บริหารอาวุโส จำนวนกว่า 1,000 ราย ใน 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อันประกอบด้วยออสเตรเลีย, จีน, ฮ่องกง, อินเดีย, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และสมาชิกอีก 6 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าตำแหน่ง CIO ในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญมากกว่าการบริหารจัดการด้านสารสนเทศในจำนวน 9 ใน 10 องค์กร (คิดเป็นร้อยละ 89) นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ร้อยละ 84 เห็นด้วยว่าตำแหน่ง CIO ควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนด้านธุรกิจที่สำคัญๆตั้งแต่ช่วงแรก

                 มร. Neville Vincent รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ HDS กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตำแหน่ง CIO เริ่มค่อยๆมีบทบาท และเป็นที่ยอมรับในองค์กร เนื่องจากมีส่วนช่วยในการบริหารจัดการประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย ซึ่งในก้าวต่อไป ตำแหน่ง CIO จะต้องเพิ่มบทบาทมากขึ้นในการพิสูจน์ศักยภาพในการช่วยผลักดันการเติบโตขององค์กรด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆเพื่อสร้างรายได้ จะเห็นได้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 66 เชื่อว่าตำแหน่ง CIO เป็นตัวเลือกที่มีศักยภาพในการก้าวสู่ตำแหน่ง CEO ดังนั้น จึงไม่ถึงทางตันในสายอาชีพซะทีเดียว”

    ทั้งนี้ ในมุมมองของ CEO นั้น ตำแหน่ง CIO ควรจะต้องพัฒนาทักษะที่สำคัญ 3 ประการคือ ความเข้าใจในธุรกิจ (ร้อยละ 41), ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ (ร้อยละ 26), และความรอบรู้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมธุรกิจให้มากขึ้น (ร้อยละ 23) ซึ่งในขณะเดียวกัน การกำหนดเป้าหมายของ CIO ก็มักขาดในสิ่งเหล่านี้คือ  การแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนในแง่ธุรกิจในการลงทุนทางด้านสารสนเทศ  (ร้อยละ 28)   ทักษะเชิงเทคนิคในการเชื่อมต่อนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ (ร้อยละ 24) และความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ (ร้อยละ 23)   จากผลสำรวจเหล่านี้ อาจทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ผลสำรวจในข้อต่อมาก็คือ ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ได้อยู่ในฝ่ายไอที (ร้อยละ 17)   มีมุมมองเปิดกว้างที่จะรับ CIO ที่ไม่มีพื้นฐานทางไอที มากกว่า CIO ที่มีพื้นฐานทางไอที (ร้อยละ 9)  

    มร. James Chambers, บรรณาธิการอาวุโส ของ The Economist Intelligence Unit กล่าวว่า  “ตำแหน่ง CIO มีสิทธิ์ในการก้าวสู่ตำแหน่ง CEO เช่นเดียวกับผู้บริหารระดับซีจากสาขาอื่นๆ แต่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยเสริมที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ด้วยการริเริ่มในการพัฒนาความรู้ และใช้เวลากับฝ่ายอื่นๆในองค์กรให้มากขึ้น เพื่อให้เห็นช่องทางในการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร การมี “นวัตกรรม” หรือ Innovation คือปัจจัยสำคัญในการผลักดันรายได้ธุรกิจให้เติบโตขึ้น ซึ่งพบว่า 3 ใน 5 ขององค์กรให้ความเห็นเดียวกันถึงแนวโน้มของความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นในสิ่งเหล่านี้

     ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีส่วนในการผลักดันด้านนวัตกรรมขององค์กรน้อยกว่า 1 ใน 3 (ร้อยละ 28) แต่ 4 ใน 5 ของผู้บริหารจากทุกแผนก (ร้อยละ 85) เห็นพ้องว่าตำแหน่ง CIO จะต้องแสดงความเป็นผู้นำในการผลักดันนวัตกรรมสำหรับการดำเนินธุรกิจนี้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีอาจช่วยผลักดันตำแหน่ง CIO ให้โดดเด่น แต่ไม่ได้จำกัดให้อยู่ในอาชีพสายไอทีเท่านั้น

     มร. Neville กล่าวเสริมว่า “ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 59 เห็นด้วยว่านวัตกรรมเป็นตัวสร้างรายได้ที่สำคัญ แต่ยังมีอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนด้านงบประมาณและ/หรือทรัพยากรสารสนเทศ (ร้อยละ 18) โครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศที่มีมาตรฐานต่ำ (ร้อยละ 14) และความบกพร่องด้านทักษะและบุคลากรที่มีพรสวรรค์ (ร้อยละ 12)”

     ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของระบบสารสนเทศไม่ทำให้ตำแหน่ง CIO หมดความสำคัญ หรือลดบทบาทความรับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยของข้อมูล  เนื่องจากองค์กรจำเป็นต้องอาศัยความคิดที่แม่นยำของ CIO ในการเพิ่มรายได้ให้องค์กรด้วยทรัพยากรด้านสารสนเทศที่มีอยู่เดิม มากกว่าจะมุ่งเน้นพัฒนาธุรกิจด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้ผลการสำรวจยังระบุว่า ตำแหน่ง CIO สามารถผลักดันการสร้างรายได้และการเติบโตทางธุรกิจโดยอาศัย 5 ขั้นตอน ได้แก่

    1) ความรับผิดชอบในการบริหารข้อมูล - ตำแหน่ง CIO ต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล และช่วยสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำไปเป็นข้อมูลเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญขององค์กรในการขับเคลื่อนการเติบโตของยอดขาย

                2) การนำเทคโนโลยีมาเชื่อมโยงกับความต้องการของธุรกิจ - ตำแหน่ง CIO ต้องมองข้าม เพียงแค่การบริหารระบบไอทีในฝ่ายตนเอง แต่ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแต่ละแผนก เพื่อสร้างความได้เปรียบให้องค์กร

                3) การแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนจาการลงทุนในสารสนเทศ – ตำแหน่ง CIO ถูกคาดหวังว่าจะต้องนำเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมมาสร้างรายได้ให้องค์กรเพิ่มขึ้น มากกว่าการช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

                4) แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ - ตำแหน่ง CIO ต้องมีความทะเยอทะยานต้องใฝ่หาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติม นอกเหนือจากทักษะด้านสารสนเทศที่มีอยู่ ซึ่งต้องอาศัยการริเริ่มต่างๆ อาทิ การคลุกคลีกับแผนกอื่นๆ ในองค์กร

                5)  สร้างบทบาทในการนำนวัตกรรม ตำแหน่ง CIO จำเป็นต้องทำความเข้าใจในธุรกิจและทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานระดับซีอย่างใกล้ชิด เพื่อผลักดันนวัตกรรม และเข้าไปมีส่วนร่วมกับการตัดสินใจครั้งสำคัญต่างๆ ตั้งแต่ช่วงแรก

     “ท้ายที่สุด ตำแหน่ง CIO ที่จะก้าวตามรอย CEO ได้นั้น จำเป็นต้องแสดงความสามารถในความเป็นเจ้าของ (ownership) ในการบริหารข้อมูลขององค์กรให้ตอบสนองความต้องทางธุรกิจขององค์กร  มุ่งเน้นไปที่การผลักดันนวัตกรรม ทาง ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เราพร้อมที่จะช่วย CIO ในด้านโซลูชั่นและการบริการ เพื่อที่จะก้าวไปสู่ตำแหน่ง CEO ได้อย่างเต็มภาคภูมิ” มร. Neville กล่าวทิ้งท้าย

    สนใจข้อมูลเพิ่ม สามารถดูได้ที่ http://www.hds.com/go/futurecio/

RECCOMMEND: TECH

จับตา 3 เทคโนโลยี ที่ช่วยติดสปีดธุรกิจให้ชนะคู่แข่ง 2568

ในยุคที่โลกหมุนเร็วนี้ 3 ปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนบทบาทของธุรกิจจากผู้นำให้กลายเป็นผู้ตามได้ หากไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

รวม 6 สตาร์ทอัพไทยพลิกโลก เปลี่ยนเกษตรดั้งเดิม สู่ Smart Farming

คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มมากกว่า 9 พันล้านคนในปี 2050 เป็นโอกาสของธุรกิจเกษตรและการผลิตอาหารครั้งใหญ่ของไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้ชวนมารู้จัก 6 สตาร์ทอัพไทยสายเกษตรที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจเกษตรไทยมาฝากกัน

แสงตะวัน อ่อนน่วม พัฒนาแพลตฟอร์ม แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนให้ธุรกิจที่พักไซส์เล็ก

ปัญหาหนึ่งของธุรกิจโรงแรมเล็ก คือต้นทุนการดำเนินงานสูง และมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน แสงตะวัน อ่อนน่วม ซึ่งเห็น Pain Point ดังกล่าว จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Shin Platform Hotel Self-Service Solution ขึ้นมา เพื่อช่วยทดแทนแรงงานคน, บริษัท ชิบะรูม