เปลี่ยนฟาร์มข้าวโพดให้อัจฉริยะ! เพิ่มแต้มต่อธุรกิจเกษตรตามแบบแบรนด์ดัง SUNSWEET

Text & Photo : พิมพ์ใจ พิมพิลา





Main Idea
 
  • เกษตรกรรมของประเทศไทยมีการแข่งขันสูง แต่บางครั้งก็ไม่สามารถเพิ่มผลิตได้ตามความต้องการ เหตุเพราะมีข้อจำกัดในเรื่องของคุณภาพของดิน น้ำ อากาศ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนเก่า
 
  • ภาคการเกษตรไทยยังนับว่าเกิดการพัฒนาน้อยมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่า
 
  • มาเรียนรู้การทำฟาร์ม KC ฟาร์มต้นแบบของบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ที่นำเอาเทคโนโลยีทั้งใหม่และเก่าเข้ามาใช้ได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับการลดค่าใช้จ่ายในการผลิต

 

     ในสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นปัญหานี้แน่นอนว่ากลุ่มคนที่ประสบปัญหาอย่างมากคือเกษตรกร ที่ต้องกระตือรือร้นหารายได้อื่นเพื่อมาทดแทนรายจ่ายที่มากขึ้น หรือต้องหาความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อลดความเสี่ยงในกระบวนการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพิ่มปริมาณให้ได้คุ้มกว่าการปลูกในรูปแบบเดิมๆ





     อย่างฟาร์มต้นแบบ KC ของบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจข้าวโพดหวานแบบครบวงจรและผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรอื่นๆ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแทบจะทุกกระบวนการในการปลูกบนพื้นที่ฟาร์มทั้งหมด 37 ไร่ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวโพดหวานจากเดิมอยู่ที่ 2 ตันต่อไร่ กลายเป็น 3-3.5 ตันต่อไร่ อีกทั้งยังเปิดฟาร์มให้เกษตรกรเครือข่ายหรือเกษตรกรทั่วไปเข้ามาหาความรู้หรือศึกษาข้อมูลได้ โดยมีผู้ให้คำแนะนำการใช้เทคโนโลยีกับวิธีการที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตด้วย



    

     อัมพันธ์ สุริยัง
ผู้จัดการฝ่ายผลิตและคลังสินค้า เล่าให้ฟังถึงการเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ โดยร่วมกันกับบริษัทที่พัฒนาเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะ มีโรงเรือนในการเพาะกล้าให้กับเกษตรกรแทนการใช้เมล็ดในการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการป้องกันและดูแลระหว่างการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวาน


     เธอกล่าวว่า “เราใช้เครื่องมือ IoT (Internet of Things) ฝังหรือติดตั้งลงไปในพื้นที่ เมื่อมีการแจ้งเตือนว่าพื้นที่ต้องการน้ำหรือความชื้นในดินไม่เพียงพอ IoT จะแสดงผลไปยังวาล์วเพื่อให้วาล์วเปิดน้ำใส่แปลง ถ้าเซ็นเซอร์จับได้ว่าน้ำเพียงพอก็จุดก็สั่งหยุดหรือถ้าขาดน้ำก็จะมีการสั่งให้น้ำเปิดวาล์ว ซึ่งเซ็นเซอร์จะช่วยควบคุมความชื้นในดิน โดยแจ้งเตือนงผ่านแอปพลิเคชั่นให้เกษตรกรได้รับรู้ว่าพื้นที่เป็นอย่างไร”
    




     นอกจากนี้ยังใช้ระบบเวกเตอร์ สเตชั่น เพื่อเก็บข้อมูลทั้งทิศทาง อุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง ทิศทางลม ความเร็วลม ปริมาณน้ำฝน ความชื้นสัมพัทธ์ เพื่อบอกว่าสถานการณ์หรือสภาพอากาศในตอนนี้จะส่งผลอะไรต่อสิ่งที่เขาทำ เช่น การป้องกันแมลงหรือโรคต่างๆ ที่อาจเข้ามา
    

     ใช้โซล่าเซลล์ในการดึงน้ำจากบาดาลขึ้นมาใช้เพื่อจ่ายเข้ามาในแปลงร่วมด้วย ซึ่งในอนาคตข้อมูลเหล่านี้จะสามารถส่งมายังแอพพลิเคชั่นในมือถือของเกษตรกรได้ หรือการใช้โดรนเพื่อลดแรงงานคน ซึ่งถ้าเทียบกันระหว่างการใช้โดรนกับการใช้แรงงานมนุษย์ คือ มนุษย์จะมีค่าใช้จ่าย 35,000 บาท แต่โดรนมีค่าใช้จ่าย  25,000 บาท (รวมค่าสารเคมีแล้ว) โดยใน 1 วัน ถ้าใช้โดรน 1 ลำ สามารถทำงานได้ถึง100 ไร่ ซึ่งหากใช้แรงงานคนจะต้องใช้ถึง 20 คนต่อพื้นที่ 100 ไร่ และหากใช้แรงงานคนฉีดพ่นจะใช้น้ำประมาณ 8,000 ลิตร แต่โดรนจะใช้น้ำเพียง 400 ลิตรเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะใช้โดรนแล้วยังใช้รถในการเก็บเกี่ยวเข้ามาร่วมด้วย
    




     อัมพันธ์กล่าวถึงข้อดีของการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ว่า เกษตรกรจะมีเวลาไปทำงานอย่างอื่นได้นอกจากการดูแลฟาร์ม เนื่องจากเซ็นเซอร์มันทำงานโดยระบบครบวงจร ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อนเกษตรกรอาจจะอยู่เฝ้าพื้นที่ทั้งวัน และเธอมองว่าถ้าเกษตรกรสามารถรู้สภาพอากาศว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้ในอนาคต ก็จะสามารถมองเห็นปัญหาหรือเตรียมตัวแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแมลงหรือโรค ซึ่งถ้าแมลงน้อยผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้น 1.5 ตันต่อไร่ แต่ถ้าเราใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ผลผลิตที่ได้จะสามารถเพิ่มขึ้น 2-3 ตันต่อไร่ ก็จะสามารถทำให้เขาได้ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับเงินที่จะเหลือกลับมาเข้ากระเป๋า



    

     องอาจ กิตติคุณชัย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางรอดของธุรกิจคือการนำองค์ความรู้ วิชาการและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ รวมไปถึงการนำประสบการณ์ที่ผ่านมามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเทคโนโลยีที่อยู่ในฟาร์มเป็นเพียงส่วนเล็กๆ  เท่านั้น
    

     “เราอยากให้ธุรกิจของเราเป็นประโยชน์ต่อผู้คนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร ทั้งแรงงาน พนักงานต่างๆ และเรื่องของอาหารที่มาจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่หล่อเลี้ยงชาวโลกอย่างทั่วถึง เพราะบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) จัดจำหน่ายข้าวโพดหวานทั่วโลก คิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของยอดขาย โดยรายได้ภายในประเทศอยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ภายใต้แบรนด์ KC โดยข้าวโพดหวานทั้งหมดจะได้มาจากการรับซื้อสินค้าแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง เราเข้าไปช่วยดูแลตั้งแต่เพาะปลูกจนเก็บเกี่ยว ทำให้ได้ผลผลิตตามจำนวนและมีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในการลดความเสียหายและลดต้นทุน” เขากล่าวเพิ่มเติมในสิ่งที่ฟาร์มซันสวีตกำลังทำเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสามารถนำข้าวโพดหวานเข้าสู่ตลาดโลกให้ได้
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน