Main Idea
ผู้บริโภคยุคนี้มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป อยากได้อะไรก็ต้อง “ตอนนี้ เดี๋ยวนี้!” มีความอดทนน้อยลง เรียกร้องมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม และผูกโยงกันเป็นห่วงโซ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตสินค้า กลุ่มค้าปลีก ตลอดจนระบบปฏิบัติการด้านคลังสินค้า
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคทั่วโลก ส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ ที่ต้องลดระยะเวลาการดำเนินงานต่างๆ ให้สั้นลง วางแผนกลยุทธ์รูปแบบใหม่ ให้ความสำคัญกับทั้งระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที
นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวด ที่จะรับมือกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ ยุคที่ผู้คนมีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป อยากได้อะไรก็ต้อง “ตอนนี้ เดี๋ยวนี้!” มีความอดทนน้อยลง เรียกร้องมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม และผูกโยงกันเป็นห่วงโซ่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตสินค้า กลุ่มค้าปลีก ตลอดจนระบบปฏิบัติการด้านคลังสินค้าด้วย
ศิวัจน์ โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันค้นหาสินค้าและซื้อสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งพฤติกรรมผู้บริโภคที่ว่า “ฉันต้องการสินค้าเดี๋ยวนี้” ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั้งในด้านการผลิต ค้าปลีก และระบบปฏิบัติการคลังสินค้า ที่ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที โดยผลสำรวจของซีบราพบว่า 49 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเผยว่าความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตของธุรกิจ โดยเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการลดระยะเวลาการดำเนินงานต่างๆ ให้สั้นลงเป็นสิ่งสำคัญในแผนการขยายธุรกิจและนำมาสู่การวางแผนกลยุทธ์รูปแบบใหม่ในวันนี้
ทั้งนี้ ซีบรา เทคโนโลยีส์ ได้ทำการศึกษาเทรนด์ในอนาคตด้านการจัดการระบบคลังสินค้าภายในปี 2567 โดยสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,403 คน (352 ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจการดำเนินงานด้านระบบอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่ง, การค้าปลีก, การขนส่งทางไปรษณีย์ และตลาดผู้ค้าส่งในทวีปอเมริกาเหนือ, ละตินอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก ในการวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงานปัจจุบันและแนวทางในการวางแผนในการพัฒนาคลังสินค้า, ศูนย์กระจายสินค้า และฟูลฟิลล์เมนท์ เซ็นเตอร์ (Fulfilment Center) จนออกมาเป็นเทรนด์ในอนาคตด้านการจัดการคลังสินค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Warehousing Asia Pacific Vision Study)
ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ภายในปี 2567 ระบบอัตโนมัติจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าเข้ามาแทนที่พนักงาน
57 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจวางแผนเปลี่ยนการทำงานบางส่วนเป็นระบบอัตโนมัติและนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในจัดการคลังสินค้า
70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่าการบริหารจัดการโดยพนักงานเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสมดุลของระบบคลังสินค้า โดย 43 เปอร์เซ็นต์ ต้องการใช้ระบบทำงานอัตโนมัติจัดการในบางส่วน (พนักงานยังคงมีส่วนร่วม) และ 27 เปอร์เซ็นต์ ต้องการใช้ระบบการทำงานร่วมกัน (พนักงานทำงานร่วมกับอุปกรณ์ดีไวซ์)
ภายในปี 2567 ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจคาดว่าจะใช้หุ่นยนต์เพื่อจัดการสินค้าคงคลังขาเข้า (27 เปอร์เซ็นต์) การบรรจุภัณฑ์ (24 เปอร์เซ็นต์) และสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง/การรับสินค้า (21 เปอร์เซ็นต์)
การวางแผนกลยุทธ์ด้านฟูลฟิลล์เมนท์และการปฏิบัติงานยังคงมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ในระบบคลังสินค้า
68 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า อัตราการใช้กําลังการผลิต (Capacity Utilization) ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญ
68 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรเผยว่าการจัดหาพนักงาน/ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและประสิทธิภาพผลผลิตนั้นเป็นความท้าทายสำคัญที่องค์กรต้องเผชิญ ซึ่ง 62 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือเพิ่มผลผลิตของการทำงานเป็นทีม ในขณะที่ยังคงสอดคล้องกับขั้นตอนการทำงานที่ลื่นไหล
ในอีก 5 ปีข้างหน้า การใช้ประโยชน์ด้านไอที/เทคโนโลยีถือเป็นความท้าทายด้านการปฏิบัติงานที่ใหญ่ที่สุด (68 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงการเพิ่มผลลัพธ์ระยะยาวสำหรับระบบการตรวจสอบสถานะสินค้า, เครื่องแนะนำการดำเนินงานอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ และการวิเคราะห์เชิงข้อมูลเพื่อขับเครื่องธุรกิจ
เมื่อคลังสินค้าขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจึงต้องการเพิ่มระบบการตรวจสอบสถานะตำแหน่งสินค้าและการดำเนินงานโดยเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ในการจัดการระบบปฏิบัติงาน (85 เปอร์เซ็นต์), วางแผนเส้นทางของการปฏิบัติงาน (85 เปอร์เซ็นต์), บริการเสริมเพิ่มเติม (84 เปอร์เซ็นต์) และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (88 เปอร์เซ็นต์)
การลงทุนและการนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เข้ามาใช้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์
เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม (48 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้รับถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจคลังสินค้า
จำนวน 3 ใน 4 ของผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจ (75 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นตรงกันว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องปรับปรุงการดำเนินงานระบบคลังสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันยุคเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ แต่ยังอย่างไรก็ตามองค์กรยังคงปรับตัวอย่าล่าช้าสำหรับการใช้งานอุปกรณ์แบบพกพาและเทคโนโลยี
73 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงระบบคลังสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการนำอุปกรณ์ดีไวซ์แบบพกพาเข้ามาเป็นเครื่องมือให้กับพนักงานภายในองค์กร ซึ่งภายในปี 2567 การทำงานแบบทันสมัยนี้จะถูกขับเคลื่อนโดยคอมพิวเตอร์พกพาระบบแอนดรอยด์โซลูชั่น (90 เปอร์เซ็นต์) ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) (60 เปอร์เซ็นต์) และระบบการจัดการคลังสินค้าเต็มรูปแบบ (WMS) (55 เปอร์เซ็นต์)
66 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม เผยว่าในระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า เครื่องพิมพ์ฉลากบาร์โค้ดแบบพกพาหรืออุปกรณ์เครื่องพิมพ์ระบบความร้อน (Thermal Printer )จะเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรพิจารณาลงทุนเพิ่มจำนวนและอัพเกรดให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
จากการสำรวจยังพบอีกว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภายในปี 2567 จำนวน 87 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีการวางแผนที่จะใช้ระบบอุปกรณ์แบบพกพา เพื่อช่วยให้การทำงานของพนักงานในพื้นที่คลังสินค้าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
73 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีอำนาจการในตัดสินใจ เผยว่าภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า พวกเขามีการวางแผนที่จะลงทุนใช้สมาร์ทวอทช์, แว่นตาอัจฉริยะ และอุปกรณ์ดีไวซ์พกพาแบบคาดเอวด้วย
SME ไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเหล่านี้ก็ต้องเตรียมปรับตัวเอง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกวันนี้ด้วย เมื่อผู้บริโภคต้องการสินค้าเดี๋ยวนี้! SME ก็ต้องรับมือให้ทัน
ที่มา : ซีบรา เทคโนโลยีส์
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี