5 ความท้าทายธุรกิจโลจิสติกส์ในสมรภูมิดิสรัปชั่น

      NOSTRA Logistics ชี้ธุรกิจโลจิสติกส์กำลังเผชิญกับ 5 ความท้าทาย จากพฤติกรรมผู้บริโภค และรูปแบบธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น เผยธุรกิจโลจิสติกส์เริ่มปรับตัวใช้เทคโนโลยี โดยติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์





    สำหรับธุรกิจ SME ที่รับผลกระทบจากการดิสรัปชั่นของเทคโนโลยี ได้แก่ ธุรกิจประเภท ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวผู้ประกอบการใช้ระบบบริหารจัดการงานขนส่งและวางแผนเส้นทางด้วยTelematics,Internet of Thing (IoT), Big Data AnalyticsและCloud Computingบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นทั้งเวลาความเร็วความถูกต้องและมีต้นทุนที่ต่ำลง






     ปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี เผยนอสตร้า โลจิสติกส์ เปิดเผยว่า ในยุคสมรภูมิดีสรัปชั่นธุรกิจโลจิสติกส์กำลังเผชิญกับ 5 ความท้าทายจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และรูปแบบธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่ง 5 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ ประกอบไปด้วย
 


     1.ด้านการลดต้นทุนการขนส่ง “เทคโนโลยีและข้อมูล” กำลังมีบทบาทครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการบริหารจัดการงานขนส่งและกลุ่มรถในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ ประโยชน์ที่เห็นชัดเจน คือ องค์กรที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่าจะได้เปรียบบนสนามแข่งขัน การใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนงานจัดส่งสินค้าและบริหารบุคลากร เพื่อลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่างๆจึงมีความสำคัญ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านั้นต่างมีที่มาจากการวางแผนการวิ่งรถ เช่น การวางแผนการจัดสินค้าและการใช้รถ การเลือกเส้นทางขนส่งที่ใช้ระยะทางและเวลาน้อยที่สุด การขับรถในระดับความเร็วที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน การขับรถถูกวิธีไม่เร่งกระชากหรือเร็วเกินกำหนด ก็ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลงได้มากและสามารถยืดเวลาและรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น

 

     2.การบริหารจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาลเทคโนโลยีและข้อมูลจะกลายเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งได้เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยได้มีการออกกฎเรื่องการติดตั้งจีพีเอสในรถโดยสารและรถขนส่งเพื่อติดตามและเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนมาได้ 2-3 ปีแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีจีพีเอสอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่บริษัทฯ พบว่าหลังจากที่ได้เปิดตัวเทคโนโลยีโซลูชัน NOSTRA Telematics ซึ่งทำได้มากกว่าแค่การติดตามรถแบบจีพีเอสทั่วไป เมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัทขนส่งหลายแห่งให้ความสนใจและเริ่มนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) เข้าไปทดลองใช้ในการจัดการงานขนส่ง โดยเทเลเมติกส์เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สื่อสารระหว่างรถขนส่งสินค้าและผู้ควบคุมงานจัดส่ง สามารถรับและส่งข้อมูลต่างๆ เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ การหยุดนิ่ง-จอด การเบรก การแซง ปริมาณน้ำมันที่เหลือ อุณหภูมิห้องเก็บความเย็น ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมด้วย เช่น Internet of Thing, Cloud Service และ Big Data Analytics เพื่อการรับ-ส่งข้อมูล การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ โดยจะได้แหล่งข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ในทุกวันเพื่อการวางแผนการใช้รถและประเมินพฤติกรรมการขับรถเพื่อการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้จากการติดตามและวางแผนการใช้รถที่เหมาะสม
 




     3.การให้บริการพิเศษเฉพาะเซ็กเม้นต์หรือบริการตามความต้องการเฉพาะ (Customized services) ธุรกิจ  แต่ละประเภทมีความต้องการหรือความมุ่งเน้นของลูกค้าแตกต่างกัน เทคโนโลยีจึงต้องสามารถพัฒนาและต่อยอดเพื่อให้ตรงตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของธุรกิจแต่ละประเภทได้จีไอเอสได้มีการออกแบบโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจหรือการทำงานของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น โซลูชันสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs) โดยใช้เทคโนโลยีผสานกันระหว่างระบบติดตามรถด้วย GPS Tracking, Telematics, Internet of Thing (IoT) และ Big Data Analytics เพื่อให้ผู้บริหารจัดการรถรับส่งพนักงาน และพนักงานผู้ใช้รถสามารถติดตามข้อมูลรถได้แบบเรียลไทม์ผ่านระบบ NOSTRA Logistics 


     
ในส่วนฟังก์ชันการทำงานครอบคลุมตั้งแต่วางแผนเส้นทางเดินรถจนถึงการออกรายงาน  โดยผู้บริหารรถรับส่งสามารถทำงานบนเว็บแอปพลิเคชันตั้งแต่การสร้างเส้นทางและจุดรับส่งของรถแต่ละคัน การติดตามและตรวจสอบตำแหน่งรถ ณ ปัจจุบัน ระบบการจองรถด้วยตัวเองสำหรับผู้ใช้รถ ตลอดจนรายงานสรุปต่างๆ  สำหรับผู้ใช้รถก็สามารถดูข้อมูลตารางเดินรถพร้อมเส้นทางและจุดจอด ตำแหน่งรถปัจจุบันบนแผนที่ ตำแหน่งจุดจอดรถที่ใกล้ที่สุด และจองรถรับส่งผ่านระบบได้เองด้วยโมบายแอปพลิเคชันของ BOMs  


   4.การบริหารบุคลากร แรงงานหนุ่มสาวไม่นิยมทำงานในองค์กรที่ไม่เห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจด้านการขนส่ง เทคโนโลยีจะมาช่วยบริหารจัดการเวลาทำงานของบุคลากร เช่น พนักงานขับรถต้องขับต่อเนื่องไม่เกิน 4 ชั่วโมงหรืออย่างเช่นในตัวอย่างของโซลูชันสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs)  ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการทำงานของรถรับส่งพนักงานคือ องค์กรมีเครื่องมือที่ใช้สื่อสารเพื่อการจัดบริการรถพนักงาน สามารถติดตามรถได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถวัดผลจากเกณฑ์ที่กำหนดหรือ KPI สำหรับพนักงานขับรถหรือผู้รับจ้างให้บริการรถด้วยข้อมูลที่ได้จากการบันทึกเวลาและพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถที่จัดเก็บไว้ในระบบได้อีกด้วย

 

     5.การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังต่าง ๆ จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2559 ที่ภาครัฐมีโครงการมั่นใจทั่วไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking โดยข้อมูลจากกรมขนส่งทางบกพบว่าเดือนมกราคม 2561 ปัจจุบันมีรถโดยสารและรถบรรทุกที่ติดตั้งระบบ GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 316,562 คัน นอกจากนี้กรมการขนส่งทางบกรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการเดินรถของผู้ประกอบการที่มีความเป็นมืออาชีพประวัติการเดินรถดีมีการตรวจสภาพความพร้อมของรถและพนักงานขับรถเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดมีการติดตั้งGPS Tracking เพื่อการตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่และการใช้ความเร็วของรถได้แบบReal-time ทำให้ผู้ประกอบการการขนส่งต้องตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการให้บริการของตนเองทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด
 




     “จาก 5 ความท้าทายดังกล่าว ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์เริ่มมีการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ โดยกรณีศึกษาของบริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยพบว่าการติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ด้วยปัจจัยดังกล่าวกรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกกฎข้อบังคับให้รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบ Connected GPS ภายในปี 2562 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการเร่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าวโดยภาพรวมธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศไทยเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา มีการติดตั้งระบบแล้วกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยังคงเหลืออีกกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ที่จะต้องเร่งดำเนินการติดตั้งระบบ Connected GPS”นางสาวปิยวดีกล่าว
 

     ปิยวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruptionต่อธุรกิจขนส่งที่สำคัญเกิดในกลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่เรียกว่า Second Party Logistics (2PL)หรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐานเพราะเป็นกลุ่มที่เน้นบทบาทในการรับจ้างขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่มุ่งเน้นการจัดการด้านคลังสินค้าและจุดกระจายสินค้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารต้นทุนค่าขนส่งขณะที่ผู้ประกอบการ ThirdParty Logistics (3PL) หรือผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรได้มุ่งเน้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้การจัดการคลังสินค้าและจุดกระจายสินค้าเชื่อมต่อกับกิจกรรมการขนส่งอย่างเป็นระบบด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตหรือ IoT ช่วยให้การจัดการงานโลจิสติกส์ทั้งระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้นรวมถึงการใช้ดิจิทัลช่วยจัดการธุรกิจในพื้นที่ที่ตนเองมีต้นทุนสูงผ่านการทำงานในเครือข่ายพันธมิตรเพื่อลดต้นทุนการขนส่งในส่วนที่จัดการเองได้ยาก ส่งผลให้มีศักยภาพทางธุรกิจมากกว่าผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีการขนส่งต่ำหรือเน้นการขนส่งแบบดั้งเดิม ดังนั้น ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นที่ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยจัดการงานขนส่ง เพื่อช่วยบริหารด้านต้นทุนขนส่งให้ต่ำลงและลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองให้มากที่สุด เพื่อรองรับตลาดโลจิสติกส์ที่กำลังเติบโตในยุคดิจิทัล เช่น ตลาดอีคอมเมิส ที่ส่งผลโดยตรงกับธุรกิจขนส่ง การปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เทคโนโลยีเข้าสู่รูปแบบ E-Logistics จะนำมาซึ่งโอกาสแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่สามารถปรับตัวได้ทัน
 

     ในยุคสมรภูมิดีสรัปชั่นเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจขนส่งได้แก่ระบบจัดการงานขนส่งและคลังสินค้าด้วยConnected GPS, Telematics,Internet of Thing (IoT), Big Data Analytics และ Cloud Computing เหล่านี้ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งเวลาความเร็วความถูกต้องและมีต้นทุนที่ต่ำลงทั้งยังเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและพฤติกรรมเช่นประสิทธิภาพในการใช้รถและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปิยวดีกล่าวทิ้งท้าย


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: TECH

จับตา 3 เทคโนโลยี ที่ช่วยติดสปีดธุรกิจให้ชนะคู่แข่ง 2568

ในยุคที่โลกหมุนเร็วนี้ 3 ปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนบทบาทของธุรกิจจากผู้นำให้กลายเป็นผู้ตามได้ หากไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

รวม 6 สตาร์ทอัพไทยพลิกโลก เปลี่ยนเกษตรดั้งเดิม สู่ Smart Farming

คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มมากกว่า 9 พันล้านคนในปี 2050 เป็นโอกาสของธุรกิจเกษตรและการผลิตอาหารครั้งใหญ่ของไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้ชวนมารู้จัก 6 สตาร์ทอัพไทยสายเกษตรที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจเกษตรไทยมาฝากกัน

แสงตะวัน อ่อนน่วม พัฒนาแพลตฟอร์ม แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนให้ธุรกิจที่พักไซส์เล็ก

ปัญหาหนึ่งของธุรกิจโรงแรมเล็ก คือต้นทุนการดำเนินงานสูง และมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน แสงตะวัน อ่อนน่วม ซึ่งเห็น Pain Point ดังกล่าว จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Shin Platform Hotel Self-Service Solution ขึ้นมา เพื่อช่วยทดแทนแรงงานคน, บริษัท ชิบะรูม