เทรนด์ อี คอมเมิร์ซ สำหรับเอสเอ็มอีปี 2557

 

เรื่อง : นเรศ เหล่าพรรณราย
    ธุรกิจค้าขายออนไลน์หรืออีคอมเมิร์ซมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตามเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ภาพรววมการเปลี่ยนแปลงในรอบปีที่ผ่านมาและคาดว่าจะยังเกิดขึ้นในอนาคตของอีคอมเมิร์ซในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญจะยังคงเป็นไปตามกระแสของโซเชียลมีเดียรวมถึงเทคโนโลยี Mobile Device  โดยมีทิศทางดังต่อไปนี้

    หนึ่ง..ลูกค้ามีโอกาสได้แชร์ประสบการณ์ด้วยตัวเอง 
   
  
ปัจจุบันเวบไซท์อีคอมเมิร์ซหลายแห่งได้เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้แชร์ประสบการณ์ใช้งานสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊คหรือเวบบอร์ดต่างๆ

  โดยผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซต้องสร้างฟังชั่นการแชร์ลงบนแอพลิเคชั่นหรือเวบไซท์ของตนเองเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถแสดงความคิดเห็นต่อการให้บริการหรือรีวิวสินค้าได้โดยง่าย

     ทั้งนี้ ผลสำรวจยืนยันว่าลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าโดยพิจารณาจากความคิดเห็นของลูกค้ารายอื่นที่ได้ใช้สินค้าไปแล้วก่อนหน้ามากกว่าการรับคำโฆษณาจากผู้ผลิตสินค้า โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการแชร์ประสบการณ์ใช้งานคือสินค้าไอทีตลอดจนเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย บทสรุปคืออีคอมเมิร์ซกับโซเชียลมีเดียจะถูกหลอมรวมกันมากขึ้น

    สอง..ผู้ประกอบการรับรู้ข้อมูลการใช้บริการของลูกค้ามากขึ้น

 
ในอดีตผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ให้บริการอีคอมเมิร์ซจะใช้บริการเอาท์ซอร์สในเรื่องของระบบหลังบ้าน เช่น หลังจากที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าบนเวบไซท์หรือแอพลิเคชั่นจะส่งข้อมูลยังระบบเวบคอนเทนท์และส่งอีเมล์ตอบกลับไปยังลูกค้า ซึ่งเป็นการใช้งานระบบหลังบ้านถึงสามปาร์ตี้ ในอนาคตผู้ประกออบการจะต้องวางระบบจัดเก็บข้อมูลการใช้งานของลูกค้าตั้งแต่ประวัติการซื้อสินค้าซึ่งจะสามารถคาดเดาแผนการตลาดในอนาคตได้เช่นจัดส่งโปรโมชั่นสินค้าไปให้  

  ทั้งนี้ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่เริ่มที่จะมีระบบจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าแล้ว บทสรุปคือเอสเอ็มอีต้องเริ่มวางระบบจัดเก็บประวัติการใช้บริการของลูกค้าแต่ละรายเพื่อนำไปสู่การวางแผนการตลาดเฉพาะในอนาคต

    สาม..มุ่งเข้าหา Mobile Device  

   ปัจจุบันลูกค้ามีความต้องการที่จะสั่งซื้อสินค้าออนไลน์นอกสถานที่มากขึ้นไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ในบ้านหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์อีกต่อไป ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจึงควรพัฒนาช่องทางซื้อขายไปยังอุปกรณ์ประเภท Mobile Device  

   อย่างเช่นสมาร์ทโฟนหรือแท๊ปเลตมากขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ทั้งนี้ยอดขายแท๊ปเลตที่แซงหน้าพีซีและผู้ผลิตชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์ที่หันมาผลิตให้กับสมาร์ทโฟนมากขึ้นคือเครื่องยืนยันว่าการใช้งานพีซีจะลดน้อยลง บทสรุปคือผู้ประกอบการต้องพัฒนาแอพลิเคชั่นสำหรับสั่งซื้อสินค้าควบคู่ไปกับเวบไซท์ เนื่องจากแอพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมีความสะดวกในการซื้อสินค้านอกสถานที่มากกว่า

    สี่..เปิดรับเงินทุนจาก Crowdfunding

   ปัจจุบันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเปิดรับแหล่งเงินทุนจากผู้อื่นนอกเหนือจากญาติพี่น้องหรือสถาบันการเงินได้จาก Crowdfunding (การระดมทุนบนโลกออนไลน์โดยให้ผู้สนใจส่งเงินเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ) ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจระดมทุนเข้ามาสนับสนุนกิจการของเราให้เติบโตยิ่งขึ้นได้หรือกระทั่งการเปิดรับการลงทุนจากกองทุนร่วมลงทุน (VC) ไม่เพียงแต่ช่วยสนับสนุนแหล่งเงินทุนแต่ยังเป็นภาพสะท้อนธุรกิจของเราด้วยว่าได้รับการยอมรับจากผู้อื่นหรือไม่ บทสรุปคือผู้ประกอบการต้องเปิดใจรับรูปแบบการระดมทุนแบบใหม่เพื่อนำไปขยายธุรกิจ

หมายเหตุ:เรียบเรียงจาก www.smallbusinesscomputing.com 

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: TECH

จับตา 3 เทคโนโลยี ที่ช่วยติดสปีดธุรกิจให้ชนะคู่แข่ง 2568

ในยุคที่โลกหมุนเร็วนี้ 3 ปัจจัยสำคัญอะไรบ้างที่จะเปลี่ยนบทบาทของธุรกิจจากผู้นำให้กลายเป็นผู้ตามได้ หากไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

รวม 6 สตาร์ทอัพไทยพลิกโลก เปลี่ยนเกษตรดั้งเดิม สู่ Smart Farming

คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มมากกว่า 9 พันล้านคนในปี 2050 เป็นโอกาสของธุรกิจเกษตรและการผลิตอาหารครั้งใหญ่ของไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้ชวนมารู้จัก 6 สตาร์ทอัพไทยสายเกษตรที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจเกษตรไทยมาฝากกัน

แสงตะวัน อ่อนน่วม พัฒนาแพลตฟอร์ม แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนให้ธุรกิจที่พักไซส์เล็ก

ปัญหาหนึ่งของธุรกิจโรงแรมเล็ก คือต้นทุนการดำเนินงานสูง และมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน แสงตะวัน อ่อนน่วม ซึ่งเห็น Pain Point ดังกล่าว จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Shin Platform Hotel Self-Service Solution ขึ้นมา เพื่อช่วยทดแทนแรงงานคน, บริษัท ชิบะรูม