โฉมใหม่ธุรกิจเกษตร รวยได้! ด้วย Smart Farming







     ในยุคที่ Technology is everything มองไปทางไหนใครๆ ก็ใช้ Smart Phone บ้านที่อยู่ก็ต้องเป็น Smart  Home ของที่ใช้ต้องเป็น Smart Gadget เพื่อทำให้ชีวิตเป็น Smart Lifestyle แม้แต่การทำเกษตรเองยังต้องเปลี่ยนเป็น  Smart Farm ด้วยเช่นกัน วิถีของเกษตรกรในยุคที่คนรุ่นใหม่เริ่มใส่ใจกลับไปพัฒนาบ้านเกิด ทำให้หลายคนเริ่มหันมา สนใจวิธีการทำเกษตรกรรมแบบฉลาดด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าไปเปลี่ยนวิถีแบบเดิมๆ แต่การที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง อย่างไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งการใช้เทคโนโลยีนั่นหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้น  
 

     โดยอธิบายง่ายๆ Smart Farm คือการทำเกษตรกรรมอัจฉริยะที่ชาญฉลาดด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาบริหาร จัดการระบบการเพาะปลูก สามารถควบคุมทุกอย่างได้ด้วยเทคโนโลยี ตรวจสอบ วิเคราะห์ทุกอย่างได้อย่าง Real-time  สามารถแสดงผลข้อมูลการเจริญเติบโตและประเมินผลผลิต คาดการณ์ทุกอย่างได้ด้วย Big data นี่คือ Smart Farm  แบบเต็มพิกัด ซึ่งถ้าพูดถึงในบ้านเรายังอยู่แค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เนื่องจากการทำ Smart Farm จำเป็นต้องใช้เงินลงทุน ต้องมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อีกทั้งตัวเกษตรกรต้องมีใจที่จะเปลี่ยนแปลง  
 



     ดร.วนายุทธ์ แสนเงิน อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (หลักสูตรระบบหุ่นยนต์ และการควบคุมอัตโนมัติ) กล่าวในงานมหกรรมวิทย์ ยกระดับภูมิภาค จ. น่าน ซึ่งได้พูดถึงกระแสของการทำ Smart Farm ในประเทศไทยว่า ปัจจุบันยังไม่ค่อยแพร่หลายสักเท่าไหร่ ด้วยข้อจำกัดหลายด้าน เช่น เงินลงทุน การนำเข้า Censor ไปจนถึงด้านบุคลากร
 

     “ตอนนี้ประเทศก็เริ่มมีคนทำ แต่เป็นกลุ่มเล็กๆ และยังไม่เชิงว่าเป็น Smart Farm เต็มตัว เช่น เขามีโรงปลูกอยู่แล้วและมีระบบอะไรบางอย่างเข้าไปควบคุม เช่น ระบบน้ำอัตโนมัติ มันยังเป็นแค่เริ่มต้น เพราะถ้า Smart Farm จริงๆ มันจะต้องควบคุมทั้งหมดได้เลย สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผลผลิตแบบนี้ โตเท่านี้ อยู่ในระยะนี้ ต้องให้ปุ๋ยเท่าไหร่ ซึ่งถ้าคนทั่วไปอยากจะเริ่ม อาจจะต้องค่อยๆ เริ่มจากการควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนก่อน ต้องมีความ Flow ของอากาศ ถ้าตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศา ก็ต้อง 25 องศาทั้งวันทั้งคืน มันต้องควบคุมให้ได้ ถ้าทำได้แล้วอาจจะขยับมาควบคุมเรื่องของน้ำ  เรื่องของปุ๋ย แร่ธาตุในดินในน้ำต่อ” 
 



     ทั้งนี้ สิ่งที่ตามมาของการทำ Smart Farm คือต้นทุนที่สูงกว่าการทำเกษตรกรรมทั่วไป แต่ถ้าหากทำสำเร็จ  เกษตรกรสามารถปลูกอะไรก็ได้บนโลกนี้อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าสินค้าได้อีกด้วย
  

     “แน่นอนว่าต้นทุนสูง เพราะต้องสร้างระบบ มี Censor มีซอฟแวร์ มีบุคลากรที่เข้ามาดูเรื่องนี้โดยเฉพาะ แต่ความคุ้มค่ามันอยู่ที่ว่าคุณเลือกปลูกอะไร สมมติคนไปประเทศญี่ปุ่น คนเขาไปกินอะไร สตรอเบอร์รี่ เมล่อน แตงโม จ่ายเงิน 1,000 เยน เพื่อกินสตรอเบอร์รี่ลูกเดียวคนก็ยอมจ่าย ถามว่า 3 อย่างนี้เราปลูกได้ไหม ปลูกได้ มันอยู่ที่การควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมปุ๋ย การให้น้ำ สารอาหารต่างๆ ถามว่าทำไมเกษตรกรที่ประเทศญี่ปุ่นถึงรวย เพราะเขาสามารถ ควบคุมผลผลิตเขาได้ คุมความหวานได้ คุมขนาดได้ การทำ Smart Farm ของเขาไปไกลกว่าเรามากแล้ว เพราะฉะนั้นการทำ Smart Farm จะต้องเลือกผลผลิตที่คุ้มค่า อย่างพืชเศรษฐกิจต่างๆ ลองใช้ระบบ Smart Farm ปลูกกล้วยไม้สิ รับรองรวยระเบิด มันเอาไปประยุกต์ได้หมด อยู่ที่ว่าจะเลือกพืชอะไร คุ้มค่าหรือไม่ ถ้าเอาไปปลูกถั่วงอก ผักบุ้งยังไงก็ไม่คุ้ม”
 



     เมื่อมองย้อนกลับมาถึงแนวโน้มการทำ Smart Farm แบบจริงๆ จังๆ ในบ้านเรา อาจจะยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่จะสามารถตามประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆ ทัน แต่ถ้าหากว่าการทำ Smart Farm ยังดูไกลตัวมากเกินไป อาจจะเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการปรับตัวเองให้เป็น Smart Farmer ก่อนก็ได้ เช่น การเลือกปลูกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า มีนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างแบรนด์ให้ผลิตภัณฑ์ของตัวเอง อย่ารอแค่ลูกค้าแต่เดินหน้าไปหาลูกค้าด้วยตนเอง คงจะทำให้การทำเกษตรกรรมในบ้านเราสามารถพัฒนาไปได้อีกขั้นหรือที่เรียกว่าเป็น Smart Farmer ตัวจริงเสียงจริง!  
              


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

รวมแอปจัดการขนส่งออนไลน์ ตัวช่วยธุรกิจส่งเร็วทันใจ ยอดขายไม่สะดุด

การขนส่งที่ดี คืออีกหนึ่งในเหตุผลสำคัญทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากร้านของเราได้  วันนี้เลยอยากลองชวนมารู้จักกับแอปฯ ช่วยจัดการระบบขนส่งออนไลน์ ที่สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าบริการ

จากกากกาแฟสู่พลังงานแห่งอนาคต กับเทคโนโลยีถ่านคาร์บอนเปลี่ยนโลก

ชวนไปดูเรื่องราวของ “เทคโนโลยีผลิตถ่านคาร์บอนจากของเหลือทิ้งกาแฟ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ไม่เพียงช่วยลดขยะ แต่ยังเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

Cirkul ขวดไฮเทค เปลี่ยนน้ำเปล่าเป็นเครื่องดื่มได้ในพริบตา ไอเดียธุรกิจที่เกิดขึ้นในห้องล็อคเกอร์

Cirkul เริ่มต้นขึ้นในห้องล็อกเกอร์ของ Dartmouth College ขณะกำลังเทผงเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาลงในขวดน้ำปากแคบแล้วหกเลอะเทอะ จึงเกิดเป็นคำถาม 'จะเป็นยังไงถ้าแค่ใส่อะไรลงไปแล้วดื่มได้เลย' ที่นำมาสู่ไอเดียธุรกิจพันล้านในเวลาต่อมา