DEPA สนับสนุนเอสเอ็มอีผลักดัน 4 มาตรการช่วยเหลือ

 



    สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลขับเคลื่อน 4 มาตรการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ให้มีความพร้อมในการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล 

    ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศสู่ Thailand 4.0 นั้นภาครัฐจำเป็นจะต้องขับเคลื่อนนโยบายสำคัญๆ ในทุกส่วนโดยเฉพาะการดำเนินงานประสานงานกับของหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่เสริมสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อนำไปสู่การผลักดันประเทศให้ก้าวสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างแท้จริง

    สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จึงนำร่องขับเคลื่อนดิจิทัลสตาร์ทอัพ และกลุ่มผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผ่าน 4 มาตรการส่งเสริมเผื่อผลักดันให้เกิดดิจิทัลสตาร์ทอัพตามเป้าหมายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 


    นายมีธรรม ณ ระนอง รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA กล่าวว่า DEPA มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิทัลเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 และแผนระดับชาติด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ที่ผ่านมา DEPA มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลใน 4 มาตรการ

 

มาตรการแรก การจดแจ้งลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา 

    ดำเนินการสนับสนุนให้ Digital Start up และกลุ่มผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยี จดแจ้งลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาและประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายของ DEPA ทราบ ผ่านการดำเนินการตามแผนงานต่างๆ ดังนี้


    -จัดสัมนา “พลิก Up ธุรกิจ ต่อติดด้วยทรัพย์สินทางปัญญา” โดยดำเนินการในกลุ่มเป้าหมาย 900 รายใน 7 จังหวัด

    -จัดศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างประเทศกับประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    -เสนอแนะแนวทางการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา

มาตรการที่ 2 การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 

    โดยร่วมมือกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่มีการอนุมัติโครงการค้ำประกันผู้ประกอบการในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ Digital Startup และ กลุ่มผู้ประกอบการ นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเบื้องต้น บสย.แบ่งการค้ำประกันสินเชื่อออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 

    -กลุ่ม Digital Start up และบุคคลธรรมดาไม่เกิน 1 ล้านบาท และนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท

    -กลุ่มนวัตกรรมและเทคโนโลยี บุคคลธรรมดาไม่เกิน 1 ล้านบาท และนิติบุคคลไม่เกิน 20 ล้านบาท

    เพื่อผลักดัน จูงใจ ให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 20 แห่ง ซึ่งเป็นพันธมิตรกับ DEPA โดยกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์ในการเข้าร่วมโครงการค้ำประกันจาก บสย. จะต้องผ่านการรับรองคุณสมบัติจากทาง DEPA

 



มาตรการที่ 3 การส่งเสริมการลงทุน 

    ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)  ดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับนโยบายและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ใน    การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI โดยเฉพาะประเภทกิจการที่เกี่ยวกับคลัสเตอร์ดิจิทัล ผ่านการดำเนินการใน 2 ด้าน ได้แก่

-การฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน

-จัดทำบทเรียน e-Learning ด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการ


มาตรการที่ 4 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์

      เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและรับรองตัวตนให้กับผู้ประกอบการด้านซอฟแวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งมีผลอย่างมากต่อความน่าการขยายธุรกิจ ปัจจุบันมีการดำเนินการแล้วดังนี้

-รับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการทั้งสิ้นจำนวน 70 ราย

-อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาขึ้นทะเบียน 310 ราย


    ทั้งนี้การพิจารณาชึ้นทะเบียนผู้ประกอบการดังกล่าวจะมีผลอย่างมากต่อการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจนวัตกรรม และธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมาตรการทั้ง 4 ของ DEPA จะช่วย เสริมสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน และผลักดัน ให้ผู้ประกอบการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 
........................

RECCOMMEND: TECH

รวมแอปจัดการขนส่งออนไลน์ ตัวช่วยธุรกิจส่งเร็วทันใจ ยอดขายไม่สะดุด

การขนส่งที่ดี คืออีกหนึ่งในเหตุผลสำคัญทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าจากร้านของเราได้  วันนี้เลยอยากลองชวนมารู้จักกับแอปฯ ช่วยจัดการระบบขนส่งออนไลน์ ที่สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าบริการ

จากกากกาแฟสู่พลังงานแห่งอนาคต กับเทคโนโลยีถ่านคาร์บอนเปลี่ยนโลก

ชวนไปดูเรื่องราวของ “เทคโนโลยีผลิตถ่านคาร์บอนจากของเหลือทิ้งกาแฟ” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ไม่เพียงช่วยลดขยะ แต่ยังเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

Cirkul ขวดไฮเทค เปลี่ยนน้ำเปล่าเป็นเครื่องดื่มได้ในพริบตา ไอเดียธุรกิจที่เกิดขึ้นในห้องล็อคเกอร์

Cirkul เริ่มต้นขึ้นในห้องล็อกเกอร์ของ Dartmouth College ขณะกำลังเทผงเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาลงในขวดน้ำปากแคบแล้วหกเลอะเทอะ จึงเกิดเป็นคำถาม 'จะเป็นยังไงถ้าแค่ใส่อะไรลงไปแล้วดื่มได้เลย' ที่นำมาสู่ไอเดียธุรกิจพันล้านในเวลาต่อมา