DEPA ชูการทำงาน 3 ขั้น ผลักดัน Phuket Smart City เติบโตอย่างยั่งยืน


    ดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ชูนโยบายการพัฒนา 3 ขั้นตอน เพื่อผลักดันให้ภูเก็ตเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการใช้ Big Data เข้ามาสนับสนุนการทำงาน การพัฒนาบริการภาครัฐ และการผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้ความเป็น Model ต้นแบบ Smart City ของประเทศไทย


    สำนักงานส่งเสริมส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA หน่วยงานภายใต้การกำกับของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เดินหน้าโครงการยุทธศาสตร์ Phuket Smart City หรือ โครงการส่งเสริมพื้นที่พิเศษสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็น Smart City ทั้งด้านการค้าและการลงทุน 


    การลงตรวจเยี่ยมพื้นที่จังหวัดภูเก็ตของ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และดร. ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการ Phuket Smart City ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community (AEC) 
 
    ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กล่าวว่า การที่รัฐบาลมีนโยบายมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจทัล Thailand 4.0 โดยพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้มีความพร้อมมากกว่าเดิมทั้งเรื่องการปรับเปลี่ยน แก้ไข ระเบียบข้อบังคับอันเป็นการกำจัดโอกาสในการลงทุน และควรได้รับสิทธิประโยชน์อันเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นการดำเนินงานและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 


    รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางให้กลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่ในรูปแบบคลัสเตอร์ที่มีความเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยในพื้นที่ จัดให้มีหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ และช่วยกันผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมทางด้านดิจิทัลให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ พร้อมตั้งเป้าให้จังหวัดภูเก็ตเป็น Smart City ทั้งด้านการค้า การลงทุน โดยให้อุตสาหกรรมดิจิทัลขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ให้เติมโตไปพร้อม ๆ กัน ทั้งนี้เพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งมีความอ่อนไหว และถ้าโครงการนี้ดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ เชื่อมั่นว่าจะทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตขยายตัวไม่ต่ำกว่า 4.5% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า 


    ปัจจุบัน โครงการ Phuket Smart City มีพัฒนาการในหลายด้าน และดำเนินโครงการให้หลายมิติเพื่อผลักดันให้จังหวัดภูเก็ตเป็น Smart City เช่น การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศดิจิทัลภูเก็ต (Centre of Digital Excellence Phuket : CODE Phuket) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับมาตรการพิเศษสำหรับ Digital Worker หรือบริษัทด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ที่จะมาทำงานหรือลงทุนในประเทศไทย


    โดย DEPA ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรในท้องถิ่น เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมุ่งให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้ขั้นสูงในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเพิ่มคุณภาพของระบบไอทีและซอฟต์แวร์โดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) การทำโมเดลต้นแบบ (Prototyping) และ Proof of Concept ที่เอื้อให้กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลในไทยนำไปพัฒนาต่อเพื่อออกสู่เชิงพาณิชย์ได้


    สำหรับโครงการ Phuket Smart City นั้น DEPA ได้แบ่งกรอบการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 


    ระยะที่ 1 การนำ Big Data มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการพัฒนาเมืองให้กลายเป็น Smart City ในมิติต่าง ๆ อาทิ มิติด้านการค้าและเศรษฐกิจ (Smart Economy) ด้านการท่องเที่ยว (Smart Tourism) ด้านสาธารณสุข (Smart Health) ด้านการดำเนินชีวิต ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (Smart Living) โดยมุ่งการผสมผสานข้อมูลทั้งในลักษณะข้อมูลเชิงสำรวจ และข้อมูลที่จัดเก็บผ่านเทคโนโลยี Internet of Things เช่น Sensor, CCTV และการวิเคราะห์ข้อมูลจากสังคมออนไลน์ เพื่อให้เมืองสามารถใช้ข้อมูลในการบริหารได้อย่างชาญฉลาด 


    ระยะที่ 2 การยกระดับบริการภาครัฐ (eGovernment) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการเข้าถึงการบริการของภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุน การเริ่มทำธุรกิจ และการอนุมัติ อนุญาตต่าง ๆ รวมถึงการเปิดให้เกิดการเชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (Open Data) เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลมาใช้ในเชิงนโยบายเพื่อการบริหารจัดการได้ 


    ระยะที่ 3 การส่งเสริม Smart City ให้เกิดความยั่งยืน เน้นที่การใช้ประโยชน์จากการเตรียมการด้านดิจิทัลทั้งหมดโดยร่วมมือกับภาคเอกชนและท้องถิ่น


    นอกจากนี้  DEPA ยังมีส่วนในการสร้าง Ecosystem ของ Startup ในภูเก็ต เพื่อให้เกิดการพัฒนา Smart City อย่างยั่งยืนต่อไป โดยงานทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อความเชื่อมั่น การลงทุน ความสะดวกสบาย และความปลอดภัย เพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุน และการหลั่งไหลของ Digital Worker และ Digital Talent จากต่างประเทศ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการส่งออกผ่านระบบ eLogistic, eMarketplace, ePayment อีกด้วย 


สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ฝ่ายสื่อสารองค์กร สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
โทรศัพท์ 0-2141-7157-8 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ccd@depa.or.th 
....................... 


RECCOMMEND: TECH

แสงตะวัน อ่อนน่วม พัฒนาแพลตฟอร์ม แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนให้ธุรกิจที่พักไซส์เล็ก

ปัญหาหนึ่งของธุรกิจโรงแรมเล็ก คือต้นทุนการดำเนินงานสูง และมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน แสงตะวัน อ่อนน่วม ซึ่งเห็น Pain Point ดังกล่าว จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Shin Platform Hotel Self-Service Solution ขึ้นมา เพื่อช่วยทดแทนแรงงานคน, บริษัท ชิบะรูม

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก จากไอเดียที่ไม่อยากให้น้องป่วย เมื่อผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก อีกหนึ่งสินค้านวัตกรรมที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์ชาว Pet Parent หรือ การเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว