SME เสี่ยงแค่ไหนต่อการโดนไวรัสล้วงตับ

Text ไศลธร เหมะสิขัณฑกะ







    ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่โลกพัฒนาอย่างรวดเร็วไม่ต่างกับนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่ข้าวของเครื่องใช้สามารถเชื่อมต่อเข้าหากันได้หมดผ่านอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวทำหน้าที่เป็นได้ทุกอย่าง ตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสารยันรีโมทเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงทำหน้าที่เป็นบัตรเครดิตและธนาคาร อีกทั้งการทำธุรกิจก็สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาจนก้าวหน้าและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันได้ สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ บรรดาผู้ไม่ประสงค์ดีที่ใช้ความก้าวหน้าเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการฉกทรัพย์ ล้วงตับขโมยข้อมูล หรือแม้แต่ก่อกวนธุรกิจไม่ให้เดินต่อได้


     ข้อมูลจาก แคสเปอร์สกี้ แลป ระบุว่า ประเทศไทยมีจำนวน SME คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 98.5 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจในประเทศทั้งหมด และเป็นแหล่งจ้างแรงงานของประเทศสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก อีกทั้งธุรกิจ SME ยังมีสัดส่วนการส่งออกมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และมีอิทธิพลสำคัญต่อกลยุทธ์การพัฒนาและสร้างการเติบโตของประเทศของรัฐบาลไทย 


     อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม ในยุคนี้ผู้ประกอบการก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ แต่ SME ส่วนใหญ่ของไทยยังไม่เห็นความจำเป็นในการป้องกันความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจของตนมีขนาดที่เล็กเกินไปและไม่น่าเตะตาต้องใจเหล่าผู้ไม่หวังดี แต่ที่จริงแล้ว นั่นคือความประมาทอย่างใหญ่หลวง เพราะเหล่าโจรไซเบอร์ผู้ไม่หวังดีนั้น ไม่เคยสนใจในขนาดธุรกิจหรือองค์ประกอบใดๆ ของเหยื่อ นอกเหนือไปจาก “เงิน” และความยากง่ายในการเข้าไปฉกเงินนั้นๆ มา 
    

     แม้จะมีการแจ้งเตือนมากมายถึงการระมัดระวังภัยคุกคาม แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมอยู่มาก มาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้มีอะไรบ้าง 


     1.การตั้งพาสเวิร์ดเหมือนกันในทุกๆ บริการออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ เฟซบุ๊ก ไลน์ หรืออะไรก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ว่า จำง่าย  

    2.การตั้งพาสเวิร์ดที่ง่ายต่อการคาดเดาเช่น 123456 ซึ่งเคยมีผลวิจัยระบุออกมาแล้วว่าเป็นพาสเวิร์ดยอดแย่ที่สุดในโลก หรือวันเดือนปีเกิดของตนเอง ซึ่งหลายๆ คนก็ยังทำอยู่


    3.การสำส่อนทางข้อมูล ผ่านไดรฟ์สำส่อน (แฟลชไดรฟ์) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดไวรัสหรือโปรแกรมแฝงอันตรายต่างๆ ได้อย่างง่ายดายที่สุด ต่อให้ไม่ออนไลน์เลยก็มีโอกาสข้อมูลหายหรือเครื่องพังได้

    4.การเข้าเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย แม้จะรู้ว่าเสี่ยงแต่ก็ยังต้องขอลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่ และเว็บดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เถื่อนต่างๆ 


    5.การไว้ใจให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลตนเอง เช่น แฟน เพื่อนสนิท สามารถล็อกอินเข้าเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรมของเราได้ หรือใช้โทรศัพท์มือถือของเราได้ เป็นต้น


     บรรดากูรูด้านคอมพิวเตอร์มักกล่าวอยู่เสมอว่า ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยใดในโลกที่ดีไปกว่าตัวผู้ใช้เอง ดังนั้น SME ทุกๆ ท่านไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ ขอให้เช็คให้ดีว่ามีพฤติกรรมที่ระบุไว้ดังนี้หรือไม่ หากมี ขอให้เลิกเสียก่อนที่จะสาย เพราะขึ้นชื่อว่าไวรัส หรือโจรไซเบอร์ หรืออะไรก็ตาม ขอแค่เหยื่อมีเงินจะมากหรือน้อย มีแค่หลักร้อยพี่แกก็เอา เราเตือนคุณแล้ว 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

แสงตะวัน อ่อนน่วม พัฒนาแพลตฟอร์ม แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนให้ธุรกิจที่พักไซส์เล็ก

ปัญหาหนึ่งของธุรกิจโรงแรมเล็ก คือต้นทุนการดำเนินงานสูง และมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน แสงตะวัน อ่อนน่วม ซึ่งเห็น Pain Point ดังกล่าว จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Shin Platform Hotel Self-Service Solution ขึ้นมา เพื่อช่วยทดแทนแรงงานคน, บริษัท ชิบะรูม

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก จากไอเดียที่ไม่อยากให้น้องป่วย เมื่อผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก อีกหนึ่งสินค้านวัตกรรมที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์ชาว Pet Parent หรือ การเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว