Phuket Smart City ก้าวแรกสู่ดิจิทัล

 



    Phuket Smart City เป็นโครงการหลักที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ MDE ผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่องในการก้าวสู่ดิจิทัล ด้วยการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีกับภาคธุรกิจและสังคม เพื่อสร้างเมืองต้นแบบที่ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจและใช้ชีวิต

        
    Phuket Smart City เป็นโครงการนำร่องของ Smart City การที่ภาครัฐได้เริ่มโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ตซิตี้ (Smart City) ที่เกาะภูเก็ตในครั้งนี้ เนื่องจากด้วยขนาดพื้นที่ของจังหวัดที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และโครงสร้างประชากรในพื้นที่ที่มีอยู่เพียง 378,364 คน 


    แต่ในปี 2557 ภูเก็ตมีจำนวนนักท่องเที่ยวถึง 11,855,000 คน หรือคิดเป็น 3 เท่าของประชากรในพื้นที่ และในจำนวนนักท่องเที่ยวนี้เป็นชาวต่างชาติถึง 70% ดังจะเห็นได้ว่ากิจการส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติแทบทั้งสิ้น จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการดึงชาวต่างชาติที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ามาจัดตั้งบริษัทหรือสาขาที่ภูเก็ต ซึ่งจะผลักดันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางธุรกิจดิจิทัล (Digital Hub)


    ประชา อัศวธีระ ผู้จัดการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า สาขาภูเก็ต กล่าวว่า มีความร่วมมือระหว่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ MDE จังหวัดภูเก็ต SIPA รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตร อาทิ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ได้เริ่มจัดทำโครงการนำร่อง Phuket Smart City เมืองน่าอยู่ 2 แห่ง ประกอบด้วย เขตเทศบาลเมืองป่าตอง และ เขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ซึ่งควบคุมบริเวณพื้นที่ประมาณ 28.4 ตารางกิโลเมตร จากพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดภูเก็ต 540 ตารางกิโลเมตรในการดำเนินการโครงการ โดยเน้นใน 2 เรื่องหลัก ประกอบด้วย Smart Economy และ Smart Living Community


    โครงการ Phuket Smart City นั้นจะเน้นการสร้างอุตสาหกรรมที่ 2 คืออุตสาหกรรมดิจิทัลขึ้นมารองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตโตมาด้วยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวขาเดียวมาโดยตลอด เราพยายามที่จะหาอุตสาหกรรมที่ 2 ที่อยู่กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ดี ซึ่งขณะนี้มองว่าอุตสาหกรรมที่ 2 นั้นคือ อุตสาหกรรมดิจิทัล ที่จะพัฒนาควบคู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน


    ด้วยเหตุผลดังกล่าว จังหวัดภูเก็ตจึงได้ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 9 ของซูเปอร์ คลัสเตอร์ (Super Cluster) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคตสําหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งด้านอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจากการรวมกลุ่มอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเสริมศักยภาพในกลุ่มอุตสาหกรรมได้มากขึ้น และก้าวสู่การเป็นคลัสเตอร์ดิจิทัลอย่างแท้จริง
 
การสร้าง Smart City ที่สมบรูณ์จะเกิดขึ้นได้ 3 ส่วน คือ 

    1. Smart Economy ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมที่ 2 ขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยจะมุ่งเน้นไปทางด้านเทคโนโลยี ทั้งการเป็นแหล่งรวมนักพัฒนา ในลักษณะของ Research Center หรือ Innovation Center และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหันมาใช้ Smart Technology ในการเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจมากขึ้น 


    การเปิดโอกาสให้ธุรกิจและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามาตั้งและดำเนินธุรกิจด้วยการยกเว้นภาษี 8 ปี และได้รับสิทธิพิเศษจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) อีก 5 ปี สำหรับนักพัฒนาและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญระดับนานาชาติ จะได้สิทธิผู้อาศัยถาวร (Permanent Resident) ทำให้ภูเก็ตศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนา (Research Center) ตลอดจนเป็นศูนย์นวัตกรรม (Innovation Center) และเป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ (Knowledge Center) และทำให้เกิดพัฒนาสินค้าออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


    ปัจจุบันมีบริษัทที่เข้ามายื่นขอสนับสนุนกับโครงการ Phuket Smart City ประมาณ 20-30 บริษัทแล้ว โดยได้ส่งแบบฟอร์มไปที่ BOI ทั้งนี้เพื่อให้เกิด Ecosystem ในจังหวัดภูเก็ต และเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสู่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ท้องถิ่นด้วย ซึ่งจะขับเคลื่อนเข้าสู่แนวทางสร้างการเติบโตของธุรกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนในอนาคต สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนที่อาศัยในจังหวัดภูเก็ตโดยรวม

    2. Smart Living Community ที่ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ โดยมีการนำระบบ CCTV เข้ามาช่วยเฝ้าระวังและทำงานร่วมกับโซลูชันตรวจจับใบหน้า เพื่อตรวจสอบและติดตามผู้กระทำผิด เพื่อส่งการแจ้งเตือนไปที่เจ้าหน้าที่ต่อไป และการปรับใช้เทคโนโลยีนี้ยังช่วยให้เมืองภูเก็ตสามารถสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับคนต่างด้าวที่เข้ามาในพื้นที่แบบออนไลน์เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทยอีกด้วย 



    ขณะที่ทางน้ำได้วางระบบรักษาความปลอดภัยทางน้ำหรือด้านการเดินเรือ จังหวัดภูเก็ตจะร่วมกับกรมเจ้าท่าในการนำเทคโนโลยีเข้ามาจัดการโดยใช้ Vessel Tracking Management System (VTMS) ซึ่งเป็นระบบติดตามเรือ ใช้เพื่อติดตามและรักษาความปลอดภัยทางน้ำให้กับนักท่องเที่ยว ระบบช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้โดยสารทางน้ำได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังวางโครงการใช้ Smart Band กับนักท่องเที่ยว เพื่อเสริมด้านความปลอดภัยทั้งระบบ


   โดย Smart Band จะช่วยให้ทราบสถานะของนักท่องเที่ยว ตลอดจนระยะห่างจากเรือระหว่างทำกิจกรรม เช่น การดำน้ำ เป็นต้น เพื่อเฝ้าระวังเหตุสุดวิสัย และอาจนำอันตรายมาสู่นักท่องเที่ยวได้ ซึ่งครอบคลุมไปยังเรื่องของ 3. Smart Sensor ซึ่งเป็นโครงการนำเอาเซนเซอร์ที่ผสมผสานเทคโนโลยี IoT ทำให้สามารถตรวจสอบสภาพอากาศ ตรวจเช็กสภาพของน้ำทะเล และตรวจสอบความผิดปกติ โดยเมื่อพบความผิดปกติ ระบบจะส่งข้อมูลกับมาที่ส่วนกลาง เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที 


    นอกจากนี้ ยังมีการขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้น ด้วยการสร้าง Public Free Wi-Fi ความเร็วแบบ Hi-Speed อย่างน้อย 20Mbps จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจ รวมไปถึงประชาชนสามารถสร้างโอกาสในการนำเสนอสินค้าและบริการได้ดีมากขึ้น และจะส่งผลให้เศรษฐกิจของเมืองเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโครงการดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้ทันกับช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ต


    Phuket Smart City เป็นเมืองต้นแบบที่มีความสำคัญมากของประเทศ ตามแนวทางการยกระดับประเทศสู่ Digital Economy เพื่อสร้างโครงสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ใช้นวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ภายใต้การพัฒนา Smart City ให้ประสบความสำเร็จจึงควบคู่ไปกับการสร้างโมเดลใหม่ให้กับประเทศ ทั้งหมดนี้จึงเป็นพันธกิจที่สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ MDE ที่ต้องผลักดันโครงการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

รวม 6 สตาร์ทอัพไทยพลิกโลก เปลี่ยนเกษตรดั้งเดิม สู่ Smart Farming

คาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มมากกว่า 9 พันล้านคนในปี 2050 เป็นโอกาสของธุรกิจเกษตรและการผลิตอาหารครั้งใหญ่ของไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้ชวนมารู้จัก 6 สตาร์ทอัพไทยสายเกษตรที่ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาธุรกิจเกษตรไทยมาฝากกัน

แสงตะวัน อ่อนน่วม พัฒนาแพลตฟอร์ม แก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนให้ธุรกิจที่พักไซส์เล็ก

ปัญหาหนึ่งของธุรกิจโรงแรมเล็ก คือต้นทุนการดำเนินงานสูง และมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน แสงตะวัน อ่อนน่วม ซึ่งเห็น Pain Point ดังกล่าว จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Shin Platform Hotel Self-Service Solution ขึ้นมา เพื่อช่วยทดแทนแรงงานคน, บริษัท ชิบะรูม

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั