รู้จัก CloudNurse แพลตฟอร์มดูแลผู้สูงอายุเจ้าแรกในไทย ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ จากสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ว่า ประชากรไทยที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปมีจำนวน 13.2 ล้านคน หรือสูงถึง 20% จากประชากรไทยทั้งหมด และมีผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากผู้อื่นสูงถึงเกือบ 1 ล้านคน ฉะนั้น ความต้องการเข้าใช้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยสูงขึ้นต่อเนื่อง หรืออัตราการเติบโตอยู่ที่ 7.8% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่อัตราการเติบโต อยู่ที่ 6.8% และ 6.4% ตามลำดับ (อ้างอิงจาก Mcknight Senior Living,2023)
ขณะเดียวกันหากเหลียวดูสถานบริการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยปัจจุบันที่มีอยู่ 3,000 แห่งทั่วประเทศนั้น ใช้ระบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิม กล่าวคือข้อมูลที่ถูกบันทึกและจัดเก็บซับซ้อน ใช้เวลานานในการเข้าถึง ซึ่งอาจส่งผลต่อเวลาการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ
เพราะเห็น Pain Point ดังกล่าว CloudNurse (คลาวด์เนิร์ส) แพลตฟอร์มสำหรับสถานดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Home) เจ้าแรกของไทยจึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อหวังปฏิวัติวงการบริหารจัดการการดูแลผู้สูงอายุแบบดั้งเดิมบนกระดาษให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล ที่ตอบโจทย์ทุกมิติ ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว บนแพลตฟอร์ม CloudNurse
ธนศักดิ์ ฮุ่นตระกูล (บิลเล็ท) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีเอช เฮลท์เทค จํากัด สตาร์ทอัพผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ เปิดเผยว่า วิสัยทัศน์ของ CloudNurse ในฐานะผู้บุกเบิกการยกระดับขีดความสามารถของสถานดูแลผู้สูงอายุไทย ให้การก้าวข้ามความท้าทายดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเยอะ และตั้งใจที่จะนำเทคโนโลยี Al และ Machine Learning เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภายใต้การให้บริการ ลดภาระงานด้านเอกสารเกือบ 100% ซึ่งสามารถมอบประสบการณ์ผู้ใช้บริการเป็นไปอย่างราบรื่น
บิลเล็ท กล่าวว่า “เราให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุเป็นอันดับหนึ่ง CloudNurse จึงถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีบทบาทช่วยลดภาระงานด้านเอกสารและการบริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุ อำนวยความสะดวกให้ผู้ดูแลมีเวลากับการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อตัวผู้สูงอายุและครอบครัว”
CloudNurse ออกแบบและรวบรวมฟีเจอร์ระบบบริหารจัดการสถานดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมตั้งแต่ลดความยุ่งยาก Operational workflow เพิ่มความแม่นยำการดูแลผู้สูงอายุ ไปถึงการส่งมอบประสบการณ์สื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ พยาบาล และ ครอบครัวผู้สูงอายุ ควบคู่กับการป้องกันความเป็นส่วนตัวของชั้นข้อมูล ตัวอย่างฟีเจอร์หลัก ได้แก่
- ระบบบันทึกข้อมูลผู้สูงอายุ (E-Charting) ช่วยลดเวลาการบันทึกข้อมูลที่ยุ่งยากใช้เวลานาน พร้อมกับช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ
- ระบบจัดการยาอิเลกทรอนิกส์ (eMAR) ช่วยติดตามการจ่ายยา ลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดจากการให้ยา
- ระบบรายงานเหตุ (Incident Reporting) ช่วยวิเคราะห์แก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที สามารถปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพิ่มคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างต่อเนื่อง
- รายงานผลประกอบการ (Dashboard) นำเสนอข้อมูลเชิงลึกบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงาน และช่วยนำเสนอต่อการรองรับการเติบโตของธุรกิจ
- รายงานข้อมูลให้แก่ญาติผู้สูงอายุ (AI-Generated Family Report) ช่วยสรุปรายงานการดูแลและข้อมูลผู้สูงอายุโดยอัตโนมัติ จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ดูแลและครอบครัวเป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่น
ปัจจุบัน CouldNurse อยู่ระหว่างการเจราให้บริการสถานดูแลผู้สูงอายุ 20 แห่ง โดยมีเป้าหมายที่จะขยายเพิ่มเป็น 100 แห่ง ภายในปี 2568 นี้
ด้าน ชาร์ลี ไพโรจน์มหากิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี กล่าวว่า “CloudNurse ออกแบบพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่ เจ้าของสถานบริการ,ผู้ดูแล และครอบครัวผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถรองรับได้ครบทุกอุปกรณ์ และ ระบบปฏิบัติการทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น iOS , Windows, และ Android รวมถึงเบราว์เซอร์ต่างๆ โดย “CloudNurse” จะแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของสถานพยาบาลผู้สูงอายุ ผ่านการนำเสนอโซลูชันดิจิทัลที่ครอบคลุมเข้ามาช่วยลงขั้นตอนการทำงาน ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพแบบบูรณาการ”
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี