Tech Startup

Startup Mindset ล้มอย่างไรให้สำเร็จ เมื่อความล้มเหลวคือส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

 

Text : Methawee T.

     สตาร์ทอัพหลายๆ แห่งที่กำลังท้อกับการพยายามหาทางอยู่รอดและเติบโต เพราะสิ่งที่คิดตั้งแต่แรกไม่เป็นตามที่คาดหวัง บทความนี้จะช่วยให้คุณเห็นว่าสตาร์ทอัพเจ๋งๆ ระดับโลก ก็ก้าวพลาดก่อนจะเติบโตกันทั้งนั้น จากห้องเรียนเรื่อง Entrepreneur Mindset ของอาจารย์ Chuck Eesley คณะ Management Science and Engineering มหาวิทยาลัย Standford ได้บอกเล่าสถิติ ความผิดพลาดของสตาร์ทอัพในรูปแบบต่างๆ และดูเหมือนกับว่า  Fail Fast และ Fail Forword หรือผิดพลาดเร็วและผิดพลาดเพื่อเรียนรู้สำหรับก้าวไปข้างหน้า จะเป็นบททดสอบหนึ่งก่อนจะก้าวสู่ความสำเร็จ     

     จากการเก็บสถิติของ Standford Alumini ที่ก่อตั้งธุรกิจภายใน 3 ปี พบ ว่าไอเดียตั้งต้นของสตาร์ทอัพในหลายๆ หัวข้อไม่เวิร์คตั้งแต่ต้น ต้องผ่านกระบวนการล้มเหลวและปรับเปลี่ยน จนเจอสิ่งที่ใช่

 

 

     - 69% เปลี่ยนแผนธุรกิจ เพราะเมื่อแผนแรกที่คิดไว้ไม่ใช่อย่างที่คิด สิ่งที่ดีที่สุดคือคิดใหม่ ทดลองใหม่ จนกว่าจะเจอแผนธุรกิจที่ใช่

     - 20% เปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด แผนในการขยายตลาดหรือหาลูกค้าปรับเปลี่ยนไปตามสภาพตลาด กลุ่มเป้าหมาย และแผนธุรกิจ สตาร์ทอัพหลายๆ แห่งยอมรับว่าพวกเขาปรับเปลี่ยนแผนการตลาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงโควิด 19 ที่มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นตลอดเวลา

     - 17% เปลี่ยนช่องทางการขาย ช่องทางการขายคือโอกาส เมื่อมีช่องทางใหม่ๆ เกิดขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละช่วงวัยที่อยู่ในช่องทางการขายที่แตกต่างกัน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนช่องทางการขายให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายและแผนการตลาดจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

     - 15% เปลี่ยนกลุ่มลูกค้า เมื่อลูกค้ากลุ่มแรกที่คาดการณ์ไว้กลับไม่ใช่ ลูกค้าหลักที่ต้องการสินค้าหรือบริการของเรา แต่ในระหว่างทางในการทำธุรกิจเราอาจค้นพบลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีโอกาสมากกว่า

     - 12% เปลี่ยนเทคโนโลยี เนื่องจากเมื่อพัฒนาจากเดิมแล้วเห็นช่องว่าง หรือความต้องการของตลาดเปลี่ยนแปลงจากที่คิดไว้ตั้งแต่ต้น ทำให้ต้องพัฒนาเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยน

 

 

     อาจารย์ Chuck Eesley ได้ให้แง่คิดไว้ว่าการทำธุรกิจมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ความผิดพลาดเป็นหนึ่งองค์ประกอบของความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ได้ ต้องมี Entrepreneur Mindset ที่ประกอบไปด้วย 4 ข้อหลัก

     - Comfortable with Uncertainty การเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่คาดไม่ถึงตลอดเวลา

     - Action Bias การลดอคติในการตัดสินใจ ด้วยการใช้การทดลองที่ได้ข้อมูลที่แท้จริง

     - Customer Focus การเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง และพยายามค้นหานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ลูกค้า

     - Opportunity Assessment มองหาโอกาสใหม่ๆ ตลอดเวลา และการตัดสินใจว่าโอกาสที่เข้ามาคุ้มค่ากับสตาร์ทอัพหรือไม่

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup