Tech Startup

เช็คให้ชัวร์ ก่อนสตาร์ทอัพคิด Scale

 

Text : Methawee T.

     การเติบโตอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดดเป็นหนึ่งในเป้าหมายของสตาร์ทอัพทุกแห่ง แต่การเติบโตที่ปราศจากความพร้อมกลับส่งผลร้ายมากกว่าผลดี งานวิจัยหลายๆ ชิ้นชี้ว่า Business Model ที่ไม่แน่ชัดเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญส่งผลให้สตาร์ทอัพที่เร่งโตตายกลางทาง วันนี้เราจึงชวนสตาร์ทอัพทุกคนมาตกผลึกความพร้อมในปัจจุบัน ก่อนจะก้าวต่อไปอย่างเติบโตและมั่นคง

     เมื่อพูดถึงการ Scale หรือการเติบโต สตาร์ทอัพสามารถวางแผน Scale ได้หลากหลายรูปแบบ ยกตังอย่างการ Scale ในรูปแบบที่พบเจอบ่อยดังต่อไปนี้

     1. การขยายตลาด

        กรณีที่สตาร์ทอัพต้องการขยายฐานลูกค้าจากตลาดลูกค้าเดิมไปยังตลาดอื่นๆ เช่น ขยายจากกรุงเทพไปต่างจังหวัด หรือขยายจากประเทศไทยไปต่างประเทศ การขยายตลาดมีต้นทุนและมีระยะเวลาในการเรียนรู้พฤติกรรมของตลาดใหม่ ดังนั้นหากฐานลูกค้าตลาดเดิมยังไม่แข็งแรง การขยายฐานตลาดใหม่อาจนำไปสู่ความท้าทาย

     2. การขยายผลิตภัณฑ์หรือบริการ

        หลายๆ ครั้งสตาร์ทอัพพยายามสร้างฟีเจอร์ใหม่ หรือให้บริการใหม่ต่อยอดจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยลืมคำนึงว่าการเพิ่มฟีเจอร์หรือการขยายบริการทุกอย่างต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม ดังนั้นการคำนวนถึงความจำเป็นและความคุ้มค่าในการเพิ่มฟีเจอร์หรือขยายบริการจึงช่วยให้การขยายตลาดประสบความสำเร็จ

     3. การขยายทีม

        กรณีที่สตาร์ทอัพได้รับเงินทุนจากนักลงทุนและต้องการเร่งให้ผลิตภัณฑ์เสร็จรวดเร็วหรือต้องการขยายตลาดอย่างรวดเร็ว สตาร์ทอัพจึงต้องขยายทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการขยายทีมที่รวดเร็วและไม่มีการจัดโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม รวมถึงการวางกลยุทธ์ในการดำเนินงานชัดเจน อาจกระทบกับประสิทธิภาพการทำงาน

     เนื่องจากทุกการ Scale มีความเสี่ยง ดังนั้นก่อนจะ Scale สตาร์ทอัพจึงควรเช็คให้ชัวร์ว่าตัวเองพร้อมแล้วหรือไม่  โดยมีสิ่งที่ต้องคำถึง 3 ข้อดังต่อไปนี้

     1. Product-Market Fit

        อย่ารีบร้อน Scale หากคุณยังไม่เจอตลาดที่ใช่ เนื่องจากขั้นตอนที่สำคัญของสตาร์ทอัพคือการใช้เงินก้อนเล็กๆ ทดลงทำ MVP หรือ การทำสินค้าและบริการแบบรวดเร็วเพื่อทดลองและค้นหาตลาดที่ใช่ เมื่อเจอตลาดที่ใช่ มีกลุ่มลูกค้าที่ชัด จึงค่อยใช้เงินจำนวนมากขึ้นในการพัฒนาสินค้าและบริการ และ Scale  หากตลาดยังไม่ชัดแต่เร่ง Scale อาจสูญเงินเปล่าแทนที่จะเติบโต

     2. Business Model

        เมื่อเจอตลาดที่ใช่แล้ว ลองทบทวนโมเดลสร้างรายได้ จุดแข็ง จุดอ่อน และคุณค่าที่ส่งมอบให้กับลูกค้าของสตาร์ทอัพให้ดีเสียก่อน เพราะสตาร์ทอัพหลายๆ แห่งผู้ใช้งานอาจเยอะ แต่ Business Model ยังไม่ชัด มีแต่ผู้ใช้ แต่ยังสร้างรายได้ไม่ได้หมายความว่าสตาร์ทอัพของคุณยังไม่พร้อมจะขยาย ให้ลองกลับมาทบทวนตกผลึกเร่ื่อง Value Propostion Customer และ Revenue Channels อีกครั้ง

     3. Financial

        เมื่อทุกการ Scale ทั้งในรูปแบบของ ผลิตภัณฑ์ ทีม หรือ ขยายตลาด ต้องใช้เงินทุน ดังนั้นการคำนวณ Runway หรือเงินทุนที่เหลืออยู่ให้เพียงพอต่อการดำเนินการเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อป้องกันไม่ให้เงินหมดกลางคันระหว่าง Scale แนะนำให้ลองคำนวนว่าเงินที่มีอยู่สามารถอยู่ได้กี่เดือนหากไม่มีรายได้เข้ามาเพิ่ม หลังจากนั้นสรุปรายรับที่กำลังจะเข้ามา และคำนวนว่าหากรวมรายรับแล้วบริษัทจะสามารถอยู่ได้อีกกี่เดือน หากสถานะทางการเงินไม่ดี รายรับเฉลี่ยยังไม่สม่ำเสมอ อาจต้องพิจารณาความสำคัญของการ Scale

     ในสถานการณ์ที่เร่งให้สตาร์ทอัพเติบโต บางจังหวะการผ่อนคันเร่งเพื่อสร้างรากฐานให้แข็งแกร่ง และสร้างความพร้อมในการเติบโตแบบก้าวกระโดดในอนาคตและเติบโตแบบยั่งยืน dHเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เพิ่มโอกาสสำเร็จในการ Sclae ของสตาร์ทอัพได้เช่นกัน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup