Tech Startup

ตลาดหมีทัก สตาร์ทอัพจะรับมืออย่างไร?

 

Text : Methawee T.

     จากช่วงปีที่ผ่านผลเชิงบวกจาก Covid ส่งผลให้สตาร์ทอัพด้านดิจิทัลเติบโตและดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุน แต่ปีนี้เส้นทางการระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น เมื่อเงินเฟ้อส่งผลกับกับธุรกิจในหลายภาคส่วน รวมถึงสตาร์ทอัพขนาดใหญ่หลายแห่งที่เริ่มมีข่าวทยอยปลดพนักงานทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ขณะเดียวกันนักลงทุนเริ่มรัดเข็มขัด เนื่องจากกองทุนบางแห่งเจ็บหนักกับการลงทุนในสตาร์ทอัพ ยกตัวอย่างเช่น Softbank Group ที่รายงานผลประกอบการการลงทุนในสตาร์ทอัพที่ขาดทุนมากถึง 26.2 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ Hedge fund Tiger Global ที่มีมูลค่าเงินลงทุนคงเหลือเพียง 45%

    รายงานจาก PitchBook พบว่า การลงทุนในสตาร์ทอัพสำหรับต้นปีนี้ลดลง 26% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา และคาดว่าเม็ดเงินการลงทุนของปีนี้จะลดลงสอดรับกับทิศทางตลาดและเศรษฐกิจ ในสภาวะตลาดซบเซา หรือที่เราเรียกว่าตลาดหมี สตาร์ทอัพจะวางแผนอย่างไรให้อยู่รอดจนถึงวันที่ตลาดกลับมาสดใสอีกครั้ง

     1.Traction อาจไม่สำคัญเท่า Bottom Line

        เมื่อก่อนเราอาจเห็นการลงทุนที่ สตาร์ทอัพใช้เงินลงทุนทุ่มตลาดเพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการ หลายๆ ครัั้งผู้ใช้อาจเยอะ แต่รายได้ไม่เติบโตตาม รวมถึงสตาร์ทอัพหลายๆ แห่งยอมขาดทุนเพื่อให้ได้ลูกค้า แต่ในสภาวะตลาดปัจจุบัน นักลงทุนไม่ได้มองเพียง Traction หรือจำนวนผู้ใช้งานอีกต่อไป แต่มองหาสตาร์ทอัพที่สร้างรายได้ และเริ่มมีกำไร เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน

     2. ลดต้นทุน ใช้จ่ายแบบมีกลยุทธ์

        จากเดิมที่สตาร์ทอัพหลายแห่งสามารถหว่านเม็ดเงินของนักลงทุน ในยุคตลาดหมีสตาร์ทอัพต้องกลับมารัดขัดเข็ม พยายามลดต้นทุน ตัดสิ่งที่ไม่สำคัญทิ้ง ใช้เงินเฉพาะส่วนที่จำเป็น สตาร์ทอัพต้องใส่ใจกับการวางกลยุทธ์การใช้เงินและวางแผน Runway เพื่อให้สามารถอยู่ในสนามได้นานที่สุด เพราะไม่มีใครขาดเดาได้เลยว่าตลาดขาลงในครั้งนี้จะยาวนานแค่ไหน

     3. ทำตัวให้โด่นเด่น

        ในตลาดที่นักลงทุนมีตัวเลือกเยอะขึ้น ตามหลักกฎ Demand และ Supply เมื่อมีสตาร์ทอัพจำนวนมากต้องการระดมทุนเพื่อให้ธุรกิจอยู่ใน ในขณะเดียวกันเม็ดเงินจากนักลงทุนลดลง ทำให้นักลงทุนถือแต้มต่อ มีตัวเลือกสตาร์ทอัพมากขึ้น ดังนั้นการที่จะได้รับโอกาสและได้รับเงินทุนสตาร์ทอัพจึงต้องมีจุดแข็งและมีความโดดเด่น กว่าสตาร์ทอัพรายอื่น การระดมทุนในช่วงนี้สตาร์ทอัพต้องอาศัยการเตรียมตัวที่มากกว่าช่วงเวลาปกติ

     4. มองหาทางหนี้ทีไล่เพื่อเป็นแผนหาเงินสำรอง

        เนื่องจากการระดมทุนในช่วงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และใช้เวลานาน  สตาร์ทอัพอาจหาแผนสำรองในกรณีที่ระดมทุนไม่สำเร็จ แผนสำรองอาจเป็นการสมัครกองทุนต่างๆ ของภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่สนับสนุนสตาร์ทอัพเพื่อนำเงินมาต่อ Runway หรือ ลองหาช่องทางการสร้างรายได้ใหม่จากจุดแข็งเดิมที่สตาร์ทอัพมี สุดท้ายการกู้เงินอาจเป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยปัจจุบันมีโปรแกรมการกู้เงินจากธนาคารที่ออกแบบมาสำหรับสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นอีกทางรอดของสตาร์ทอัพ

     5. สร้างพันธมิตรเพื่อเสริมความแข๋็งเกร่ง

        ช่วงเวลานี้มีมิตรย่อมดีกว่ามีศัตรู เพราะการมีพันธมิตรที่ดีสามารถร่วมมือกันในการฝ่าวิกฤต ไม่ว่าเป็นการร่วมมือกันทำการตลาดในกรณีที่กลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกัน ซึ่งนอกจากทำให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพแล้วยังช่วยลดต้นทุนอีกด้วย หรือการแบ่งทรัพยากรบางอย่างระหว่างกลุ่มสตาร์ทอัพด้วยกัน

     ตลาดทุนย่อมมีวัฎจักรขึ้นและลง ตลาดหมีเองก็ไม่ได้อยู่ตลอดไป ช่วงนี้ถือเป็นบทพิสูจน์ความสามารถของผู้ก่อตั้งและทีมสตาร์ทอัพในการพาทีมให้รอดจากวิกฤติ ในสถานการณ์ยากลำบากเช่นนี้ย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ อย่าลืมว่า สตาร์ทอัพอย่าง Amazon Google และ Microsoft เองก็เคยเผชิญความยากลำบากในตลาดขาลง แต่สุดท้ายก็สามารถ อยู่รอด เติบโต และกลายเป็นบริษัทใหญ่ชั้นนำของโลก


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup