Q-Life

กระแสกัญชามาแรง! หยิบกัญชามาใช้แบบไหนให้โดนใจ ไม่ดราม่า

 

     หลังจากที่กัญชาถูกประกาศให้ปลดล็อกตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีการอนุญาตให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ขึ้นไปสามารถครอบครอง ใช้ประโยชน์ ดูแล เก็บรักษา ขนย้าย จำหน่ายกัญชาได้ แต่เพียงไม่นานก็มีผู้ประกอบการบางรายนำกัญชามาใส่ในอาหารโดยไม่แจ้งผู้บริโภคล่วงหน้า จนเกิดกระแสที่มีผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลเพราะกัญชาหลายคน นี่คือเรื่องร้อนแรงที่คนทำร้านอาหารต้องรู้ หากจะนำกัญชามาใช้ประกอบอาหาร ต้องทำอย่างไรเมื่อกัญชาไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน!

 

 

  • ติดป้ายชัดเจนว่ามีส่วนผสมของกัญชา

     เพราะหลายร้านนำส่วนผสมของกัญชาหรือกัญชงมาใส่ในอาหารและเครื่องดื่มโดยไม่ได้มีการติดป้ายบอก ทำให้ลูกค้าหลายคนแพ้และสามารถเข้าโรงพยาบาลได้ นอกจากนี้กัญชายังมีข้อจำกัดห้ามใช้กับบุคคลหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร ผู้มีประวัติแพ้สารสกัดกัญชา โรคหัวใจและหลอดเลือด/โรคตับ/โรคไตที่รุนแรง ผู้ที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด โรคจิตเภท/โรคจิตจากสารเสพติด/โรคซึมเศร้า/โรคอารมณ์สองขั้วและมีความเสี่ยงสูงในการทำร้ายตนเอง

     หากใครที่อยากนำกัญชามาเป็นส่วนผสมของเมนูในร้าน ต้องติดป้ายอย่างชัดเจนและแจ้งลูกค้าให้ทราบทุกครั้ง

 

 

  • ศึกษาปริมาณการใส่กัญชาในหรือกัญชงในอาหาร เครื่องดื่ม

     ก่อนหน้านี้มีบางรายที่นำดอกกัญชามาเป็นส่วนผสมในคุ้กกี้ ซึ่งปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าโรงพยาบาลได้ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยแนวทางการใช้กัญชากัญชงในอาหารว่า ตัวช่อดอกกัญชาและเมล็ดกัญชา ไม่สามารถนำมาใช้ใส่หรือปรุงในอาหารได้ ส่วนที่ใช้คือได้ใบกัญชา กิ่งก้าน ราก เมล็ดกัญชง น้ำมันกัญชงหรือสารสกัด CBD ที่มีปริมาณ THC ไม่เกิน 0.2% สามารถนำมาประกอบอาหารได้

 

 

  • ทำอย่างอย่างถูกต้อง

     แม้ว่าจะมีการประกาศปลดล็อก ไม่ต้องขออนุญาตในการปลูก แต่หากคุณปลูกกัญชาไว้ในบ้าน ต้องมีการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน "ปลูกกัญ" ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น ส่วนผู้ประกอบการคนไหนอยากใส่กัญชากัญชงลงในผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อจัดจำหน่าย ต้องขออนุญาตตามกฎหมายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup