นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ ประธานคณะกรรมการประเด็นทางการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) นั้น กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่าสภาผู้แทนราษฎรอาจพิจารณากรอบเจรจาได้ภายในเดือน ม.ค. 2556 โดยสภาหอการค้าฯ เห็นว่า ภาครัฐควรเร่งพิจารณาอย่างรวดเร็ว หากไม่ทำเอฟทีเอจะมีผลกระทบ เพราะไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) ทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปอียูแข่งขันลำบาก
นายบัณฑูร วงศ์สีลโชติ ประธานคณะกรรมการประเด็นทางการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าเจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) นั้น กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่าสภาผู้แทนราษฎรอาจพิจารณากรอบเจรจาได้ภายในเดือน ม.ค. 2556 โดยสภาหอการค้าฯ เห็นว่า ภาครัฐควรเร่งพิจารณาอย่างรวดเร็ว หากไม่ทำเอฟทีเอจะมีผลกระทบ เพราะไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) ทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปอียูแข่งขันลำบาก
"ไทยจะประกาศเจรจาเอฟทีเอกับอียูในปี 2556 แต่ไม่ได้สิทธิขยายเวลาจีเอสพีออกไป 2 ปี เพราะว่าอียูกำหนดว่าจะต้องลงนามประกาศเจตนารมณ์ในการทำเอฟทีเอก่อน 21 พ.ย. 2555 จึงจะได้สิทธินี้ แต่รัฐบาลไทยตัดสินใจช้าทำให้ประกาศเจรจาได้ในปี 2556 ทำให้วันที่ 1 ม.ค. 2557 สินค้าไทยหลายรายการที่อียูนำเข้าจากไทยมากกว่า 17.5% จะถูกตัดจีเอสพี อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งและปลาหมึกแปรรูป อาหารแปรรูป อาหารสัตว์ เครื่องประดับอัญมณี คาดว่าปี 2556 ผู้นำเข้าอียูจะเริ่มหาผู้ส่งออกรายใหม่จากประเทศอื่น" นายบัณฑูร กล่าว
ทั้งนี้ สินค้าไทยที่ถูกตัดจีเอสพีในปี 2557 จะส่งผลให้การส่งออกไปอียูเริ่มลดลงตั้งแต่ปีนี้ เพราะภาษีนำเข้าสินค้าไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าอียูเริ่มหาแหล่งผลิตสินค้าใหม่ โดยกุ้งแปรรูปมีภาษีนำเข้าเดิมภายใต้จีเอสพี 7% จะเพิ่มเป็น 20% ซึ่งเมื่อพิจารณาผลกระทบกับสินค้าส่งออกทุกรายการ คาดว่ามูลค่าการส่งออกไทยจะได้รับผลกระทบประมาณ 100,000 ล้านบาท จึงเห็นว่ารัฐบาลควรเร่งเจรจาเอฟทีเอให้เสร็จโดยเร็ว และการที่สภาพเศรษฐกิจอียูที่ยังไม่ฟื้นตัว จะต้องหาทางให้สินค้าไทยมีโอกาสแข่งขันได้มากขึ้น
นายบัณฑูร กล่าวว่า ขณะนี้อียูอยู่ระหว่างเจรจาเอฟทีเอกับเวียดนามและมาเลเซีย โดยให้ได้ข้อยุติปี 2557 ซึ่งเวียดนามประกาศเจรจาเอฟทีเอกับอียูก่อนวันที่ 21 พ.ย. 2555 ทำให้ได้สิทธิต่ออายุจีเอสพี ที่ ส่วนไทยกำลังเปิดเจรจาและจะได้ข้อยุติหลังเวียดนามและมาเลเซีย เพราะต้องใช้เวลาเจรจาประมาณ 2 ปี มีโอกาสที่อียูจะสั่งซื้อสินค้าจากมาเลเซียและเวียดนามเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสินค้าส่งออกของทั้ง 2 ประเทศ จะมีภาษีนำเข้าลดลงเหลือ 0 ทันที เมื่อไทยถูกตัดจีเอสพีทั้งหมดแล้ว อาจทำให้การส่งออกไทยไปอียูลดลงประมาณ 300,000 ล้านบาท ดังนั้นไทยจึงควรเร่งเจรจาเอฟทีเอกับอียูให้เสร็จภายในปี 2557 เพราะอียูจะตัดจีเอสพีของไทยทั้งหมดในปี 2558 หากไทยเจรจาไม่เสร็จ จะทำให้สถานการณ์การส่งออกของไทยไปอียูมีความรุนแรงขึ้น ขณะที่การส่งออกของเวียดนามและมาเลเซียจะก้าวกระโดด