ดร.วนิดา พลเดช หัวหน้าศูนย์วิจัย ออคิด สลิงชอท กล่าวว่า แบบสำรวจศักยภาพและการเตรียม พร้อมด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2012 เป็นการ ดำเนินการสำรวจแบบออนไลน์ในช่วงไตรมาส 3 ถึง 4 ของปี 2555 โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจทั้งสิ้นจาก 253 องค์กร ครอบคลุมทุกประเภทธุรกิจที่มีฐานการผลิตทั้งในประเทศไทย ในอาเซียนและประเทศอื่นๆ นอกอาเซียน ตลอดจนองค์กรที่ส่งออกสินค้า หรือบริการในอาเซียน และนอกอาเซียน โดยผู้ที่ให้ข้อมูลนั้นมีตั้งแต่เจ้าของกิจการ, ผู้บริหารระดับสูง, ผู้บริหารในหน่วยงานหลัก, ผู้บริหารฝ่ายบุคคล และ เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ ครอบคลุมทุกรุ่นอายุ ทุกกลุ่มเจนเนอเรชั่น
ดร.วนิดา พลเดช หัวหน้าศูนย์วิจัย ออคิด สลิงชอท กล่าวว่า แบบสำรวจศักยภาพและการเตรียม พร้อมด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2012 เป็นการ ดำเนินการสำรวจแบบออนไลน์ในช่วงไตรมาส 3 ถึง 4 ของปี 2555 โดยมีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจทั้งสิ้นจาก 253 องค์กร ครอบคลุมทุกประเภทธุรกิจที่มีฐานการผลิตทั้งในประเทศไทย ในอาเซียนและประเทศอื่นๆ นอกอาเซียน ตลอดจนองค์กรที่ส่งออกสินค้า หรือบริการในอาเซียน และนอกอาเซียน โดยผู้ที่ให้ข้อมูลนั้นมีตั้งแต่เจ้าของกิจการ, ผู้บริหารระดับสูง, ผู้บริหารในหน่วยงานหลัก, ผู้บริหารฝ่ายบุคคล และ เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ ครอบคลุมทุกรุ่นอายุ ทุกกลุ่มเจนเนอเรชั่น
ทั้งนี้ แบบสำรวจศักยภาพ และการเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2012 ของทางศูนย์วิจัย ออคิด สลิงชอท นั้นเผยให้เห็นชัดไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก หรือใหญ่ ล้วนขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการ และแนวทางปฏิบัติของ AEC จึงต้องช่วยกันเร่งแก้ไขเป็นอันดับแรกๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะเห็นวาการรณรงค์ที่ภาครัฐหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายได้ทำผ่านมานั้น ยังไม่ได้ผลมากนัก และอาจส่งผลให้การวางนโยบายและกลยุทธ์ขององค์กรไทยขาดประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่าแหล่งข้อมูลความรู้ที่สำคัญที่สุดขององค์กรไทยและผู้ประกอบการทุกระดับเกี่ยวกับ AEC คือ สื่อมวลชน และรองลงมา คือ ข้อมูลความรู้จากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาตามลำดับ ฉะนั้น ภาครัฐควรมีการใช้ประโยชน์จากช่องทางต่างๆ นอกจากภาคสื่อมวลชนแล้ว อาทิ สมาคมธุรกิจ หรือชมรมที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจต่างๆ เช่นสภาหอการค้า หรือสภาอุตสาหกรรมเป็นต้น รวมถึง ภาคการศึกษา เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายช่องทาง เพราะในภาคธุรกิจเองยัง เห็นว่าภาครัฐไม่ค่อยสนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือเท่าที่ควร และควรส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME เข้าเป็นสมาชิกของชมรม/สมาคม ซึ่งจะเป็นจุดหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ผมเห็นว่าหน่วยงานอื่น เช่น หน่วยงานภาคการศึกษาก็สามารถเป็นช่องทางในการให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC ได้เช่นกัน” นายอภิวุฒิ กล่าว
อีกหนึ่งความท้าทายและเป็นปัญหาขององค์กรไทยในการรับมือกับ AEC คือ เรื่องของ "คน" โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรและผู้บริหาร ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าการหาผู้สืบทอดธุรกิจ (Succession Plan) เป็นสิ่งที่ยังทำได้ไม่ดีนัก ประเด็นเหล่านี้จึงกลายเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญในการพัฒนา “คน” ภายในองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจบ่งชี้ว่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) มองเห็น AEC เป็นโอกาสมากกว่ากลุ่มเจนเนอเรชั่นอื่นๆ เพราะส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการซึ่งมีความเข้าใจ AEC มากกว่าบุคลากรกลุ่มอื่น ขณะที่พนักงานเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ (Gen X) ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดขององค์กร กลับมีแนวโน้มที่ ต้องการไปทำงานในต่างประเทศน้อยที่สุด จุดนี้องค์กรจะต้องตระหนักและบริหารจัดการให้ดี เพราะที่ผ่านมามีหลายองค์กรที่ประสบปัญหาขาดแคลนผู้บริหารในระดับกลางที่มีประสบการณ์ หรือทายาทที่จะสืบทอด
ด้านการมองเห็นโอกาส มีนัยยะที่สำคัญว่า หากยิ่งมีความเข้าใจมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมองเห็น AEC เป็นโอกาสมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นองค์กรจึงควรส่งเสริมในการให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานให้มากขึ้น "
การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร ทั้งด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาฝีมือแรงงาน ความรู้ทางด้านเทคนิค รวมถึงความสามารถในด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะคุณภาพของบุคลากรคือหัวใจแห่งความสำเร็จในการเพิ่มขีดความสามารถสำหรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น และที่สำคัญ นอกจากพัฒนาแล้วองค์กรต้องเรียนรู้ที่จะรักษาบุคลากรเหล่านั้นไว้ให้ได้ด้วย