เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่กระทรวงแรงงาน นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลกระทบในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้มี 2 จังหวัด ที่ส่งสัญญาณจะมีการเลิกจ้าง คือ จ.ขอนแก่น และจ.พะเยา ในกิจการประเภทสิ่งทอและเซรามิก ทั้งนี้ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ กสร.ให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ 29 จังหวัด ที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดด เช่น จ.ตาก สุรินทร์ น่าน ศรีสะเกษและจ.พะเยา ให้ออกตรวจสถานประกอบการอย่างเข้มงวดอย่างน้อยขอให้ได้ประมาณ 4,000แห่งต่อเดือนและให้รายงานผลทุกวันที่5 ของเดือนถัดไป แต่หากพบสัญญาณที่รุนแรงสามารถแจ้งมาที่ตนเองได้ตลอดเวลา
เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่กระทรวงแรงงาน นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลกระทบในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาท ซึ่งเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้มี 2 จังหวัด ที่ส่งสัญญาณจะมีการเลิกจ้าง คือ จ.ขอนแก่น และจ.พะเยา ในกิจการประเภทสิ่งทอและเซรามิก ทั้งนี้ ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ กสร.ให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ 29 จังหวัด ที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดด เช่น จ.ตาก สุรินทร์ น่าน ศรีสะเกษและจ.พะเยา ให้ออกตรวจสถานประกอบการอย่างเข้มงวดอย่างน้อยขอให้ได้ประมาณ 4,000แห่งต่อเดือนและให้รายงานผลทุกวันที่5 ของเดือนถัดไป แต่หากพบสัญญาณที่รุนแรงสามารถแจ้งมาที่ตนเองได้ตลอดเวลา
“หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือนำสวัสดิการมารวมเป็นค่าจ้างจะมีความผิดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541มีโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน ปรับไม่เกิน 1แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นการออกคำเตือน หากไม่ปฏิบัติตามจะดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนนายจ้างที่แจ้งการจ่ายค่าจ้างเท็จ หากตรวจพบจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างส่วนต่างย้อนหลังให้แก่แรงงานแม้ว่าลูกจ้างจะยินยอม ซึ่งเรื่องนี้มีอายุความ 2ปี นับจากวันที่เกิดสิทธิ์”นายปกรณ์ กล่าว