บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดประเมินภาพรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยปี 2556 ว่าน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องด้วยอัตราเลข 2 หลัก เป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่ระดับ 10 - 13% ตามแรงส่งของเศรษฐกิจในภาพรวม แม้จะชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่ 13.5%ส่วนหนึ่งคงเป็นผลจากฐานเงินให้สินเชื่อรวมที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งกระจายไปทั้งในฝั่งสินเชื่อภาคธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย ขณะที่ เมื่อเทียบเป็นปริมาณเงินให้สินเชื่อสุทธิที่เพิ่มขึ้นแล้ว คาดว่าจะเห็นเงินให้สินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านบาท สูงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับการเพิ่มขึ้นในปี 2555 และอาจหนุนให้ขนาดสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยแตะระดับ 10 ล้านล้านบาทภายในสิ้นปี 2556
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดประเมินภาพรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยปี 2556 ว่าน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องด้วยอัตราเลข 2 หลัก เป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่ระดับ 10 - 13% ตามแรงส่งของเศรษฐกิจในภาพรวม แม้จะชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่ 13.5%ส่วนหนึ่งคงเป็นผลจากฐานเงินให้สินเชื่อรวมที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งกระจายไปทั้งในฝั่งสินเชื่อภาคธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย ขณะที่ เมื่อเทียบเป็นปริมาณเงินให้สินเชื่อสุทธิที่เพิ่มขึ้นแล้ว คาดว่าจะเห็นเงินให้สินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านบาท สูงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับการเพิ่มขึ้นในปี 2555 และอาจหนุนให้ขนาดสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยแตะระดับ 10 ล้านล้านบาทภายในสิ้นปี 2556
โดยคาดว่าสินเชื่อสำหรับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีน่าจะมีบทบาทต่อพอร์ตสินเชื่อภาคธุรกิจของธนาคารในระดับมากขึ้นจากปี 2555 โดยส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อเอสเอ็มอีในพอร์ตสินเชื่อภาคธุรกิจของแบงก์ อาจทยอยแตะระดับ 56.0% ในปี 2556 จากระดับ 55.0% ในปี 2555 ตามการเติบโตของสินเชื่อเอสเอ็มอีที่คาดว่าจะนำหน้าสินเชื่อผู้ประกอบการรายใหญ่จากหลายหลายปัจจัย
ทั้งนี้ สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่อาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงจากหลายสาเหตุ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความก้าวหน้าของสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ไทย คงต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายทั้งจากอุปสงค์และอุปทานสำหรับสินเชื่อของลูกค้ากลุ่มดังกล่าว เนื่องจากความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการรายใหญ่อาจลดทอนลงตามการหันไประดมเงินทุนผ่านตลาด ตราสารหนี้ และทางเลือกอื่นๆ ในระดับที่หนาแน่นขึ้น อาทิ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ขณะเดียวกัน การบังคับใช้หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำของ Basel III ที่จะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินสำหรับการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มขึ้นมากกว่าสินเชื่อประเภทเอสเอ็มอีและรายย่อยในอนาคตโดยเฉพาะหลังจากการบังคับใช้เต็มรูปแบบ คงทำให้ธนาคารพาณิชย์อาจต้องวางแผนปรับน้ำหนักล่วงหน้าหรือให้ความสำคัญกับสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น รวมถึงกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี เพื่อบริหารเงินกองทุนของธนาคารให้เป็นไปตามความเหมาะสม ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่ยอมรับได้