สำหรับผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าจากการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น กรมการค้าภายในได้ศึกษาภาพรวมผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 245 บาท หรือเพิ่มขึ้น 22.45%
สำหรับผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าจากการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น กรมการค้าภายในได้ศึกษาภาพรวมผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 245 บาท หรือเพิ่มขึ้น 22.45%
พบว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงงานครั้งนี้ เนื่องจากมีการปรับตัวไปแล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.2555 ที่ผ่านมา โดยภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีสัดส่วนต่อภาคการผลิตทั้งหมดถึง 50% มีต้นทุนการผลิตจากค่าแรงเพียง 0.62-9.61% ซึ่งตัวอย่างสินค้าที่ศึกษา ได้แก่ น้ำมันพืชปาล์ม สบู่ ผงซักฟอก
ส่วนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) สัดส่วนต่อภาคการผลิต 50% เช่นกัน แต่ค่าแรงมีสัดส่วนต้นทุนจะได้รับผลกระทบ 10-30% จึงมีผลกระทบจากการปรับค่าแรงงานครั้งนี้ที่ 2.24-6.74% ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ศึกษาได้แก่ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องหนัง
ส่วนผลกระทบในภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีสัดส่วนแรงในต้นทุนการผลิต 30-35% จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น แบ่งเป็นหมวดข้าว ธัญพืช 6.73-7.86% จากสินค้าตัวอย่าง ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง ข้าวโพด หมวดโปรตีน 0.94-1.38% จากสินค้าตัวอย่าง เนื้อหมู ไข่ไก่ หมวดพืชผัก 1.93-2.51% จากสินค้าตัวอย่าง ผักกะหล่ำปลี ผักกาดขาว]
ภาคการขนส่งมีสัดส่วนค่าแรงในต้นทุนค่าขนส่ง 30% จะได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น หมวดการขนส่งสินค้า 6.73% หมวดขนส่งมวลชน 4.50% ภาคการพาณิชย์และบริการ มีสัด
ส่วนค่าแรงงานในต้นทุน 3-5% แบ่งเป็นหมวดการค้าส่งและค้าปลีก 0.67-1.12% จากบริการตัวอย่าง ห้างค้าปลีกส่งสมัยใหม่ โชห่วย หมวดการให้บริการ 3.37% จากบริการตัวอย่าง บริการซ่อมรถยนต์ รักษาพยาบาล
น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน ระบุว่า การอ้างปรับขึ้นราคาสินค้า จากการขึ้นค่าแรง จะส่งผลกระทบต่อยอดขายในตลาดของผู้ประกอบการมากกว่า ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้าควรใช้วิธีบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุน เนื่องจากค่าแรงงานส่งผลกระทบต่อต้นทุนราคาสินค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งจากภาพรวมการศึกษา การปรับขึ้นค่าแรงต่อแรงงาน 16.39 ล้านคนต่อต้นทุนการผลิตสินค้า แบ่งเป็นภาคส่วนต่างๆ นั้น ภาคการบริการมีแรงงานมากที่สุด 7.78 ล้านคน มีสัดส่วนต่อการผลิตรวมของประเทศมากที่สุดเช่นกัน คือ 47.47% แต่มีต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนต่ำแค่ 2-5% เท่านั้น ขณะที่กลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภคที่สำคัญมีต้นทุนแรงงานไม่สูงมากเมื่อปรับการบริหารจัดการ ก็จะสามารถดูดซับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องขึ้นราคาสินค้า ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดได้.