นายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้ภาษีนิติบุคคลของไทยจะลดจาก 30% เป็น 23% ในปีที่ผ่านมา และเหลือ 20% ในปีนี้ แต่ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค อาทิ ฮ่องกง และ สิงคโปร์ ที่เก็บภาษีนิติบุคคลที่ 16-17% ซึ่งทำให้ไทยยังเสียเปรียบประเทศดังกล่าวในการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยดังนั้น กรมสรรพากรจึงตั้งเป้าหมายที่จะปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลให้เหลือ 15 % เพื่อให้ต่ำที่สุดในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเลือกเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
นายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้ภาษีนิติบุคคลของไทยจะลดจาก 30% เป็น 23% ในปีที่ผ่านมา และเหลือ 20% ในปีนี้ แต่ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค อาทิ ฮ่องกง และ สิงคโปร์ ที่เก็บภาษีนิติบุคคลที่ 16-17% ซึ่งทำให้ไทยยังเสียเปรียบประเทศดังกล่าวในการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยดังนั้น กรมสรรพากรจึงตั้งเป้าหมายที่จะปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลให้เหลือ 15 % เพื่อให้ต่ำที่สุดในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเลือกเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น
“กรมสรรพากรจำเป็นต้องปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคลให้เหลือ 15% เพราะเมื่อไปรวมกับจุดแข็งด้านอื่นของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม แรงงานที่มีฝีมือ จะทำให้ไทยเป็นตัวเลือกอันดับแรกของนักลงทุน" นายสาธิต กล่าว
สำหรับการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 20% ทำให้กรมสรรพากรเก็บภาษีลดลงไปปีละ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปี ในการเก็บภาษีให้กลับมาเท่าเดิม โดยหากมีการลดภาษีนิติบุคคลรอบใหม่ยังไม่มีการประเมินว่าจะเสียรายได้อีกเท่าไร
อย่างไรก็ตาม เมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาเห็นชอบให้มีการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมที่เก็บสูงสุดในอัตรา 37% เหลือ 35% โดยมีการปรับอัตราให้ถี่ขึ้นเป็นขั้นบันไดละ 5% ทำให้ภาระภาษีของผู้เสียภาษีลดลง แต่รัฐบาลต้องเสียรายได้ปีละ 2.7 หมื่นล้านบาท โดยการลดภาษีให้มีผลตั้งแต่รายได้ที่เกิดขึ้นปีนี้ทันที