รัฐย้ำนายจ้างโยนบาปขึ้นค่าแรงทำโรงงานเจ๊ง

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกระแสข่าวการเลิกจ้างแรงงาน และการปิดกิจการของสถานประกอบการหลายแห่ง ซึ่งถูกมองว่าเกิดจากผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ว่า จากข้อมูลของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ตั้งแต่วันที่ 1-9 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีแรงงานถูกเลิกจ้างทั้งหมด 421 ราย มีสถานประกอบการปิดกิจการ 5 แห่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์การเลิกจ้างของสถานประกอบการทั้ง 5 แห่งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้มีผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแต่อย่างใด มองว่าเป็นการอ้างเหตุการณ์การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เพื่อขอความเห็นใจในการเลิกจ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วนายจ้างมีสาเหตุการ เลิกจ้างมาจากหลายปัจจัย เช่น ไม่มียอดสั่งซื้อหรือออร์เดอร์ การขาดทุนสะสม หรือต้องการย้ายฐานการผลิต ดังนั้น จึงไม่อยากให้เกิดความวิตกกังวลว่าการปรับค่าจ้างในครั้งนี้จะทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมาก

 


นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกระแสข่าวการเลิกจ้างแรงงาน และการปิดกิจการของสถานประกอบการหลายแห่ง ซึ่งถูกมองว่าเกิดจากผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ว่า จากข้อมูลของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ตั้งแต่วันที่ 1-9 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีแรงงานถูกเลิกจ้างทั้งหมด 421 ราย มีสถานประกอบการปิดกิจการ 5 แห่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์การเลิกจ้างของสถานประกอบการทั้ง 5 แห่งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้มีผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแต่อย่างใด มองว่าเป็นการอ้างเหตุการณ์การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เพื่อขอความเห็นใจในการเลิกจ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วนายจ้างมีสาเหตุการ เลิกจ้างมาจากหลายปัจจัย เช่น ไม่มียอดสั่งซื้อหรือออร์เดอร์ การขาดทุนสะสม หรือต้องการย้ายฐานการผลิต ดังนั้น จึงไม่อยากให้เกิดความวิตกกังวลว่าการปรับค่าจ้างในครั้งนี้จะทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมาก

"ยืนยันว่าการเลิกจ้างในปัจจุบันยังอยู่ในสภาวะปกติ เหมือนในช่วงที่ไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจ จากสถิติการเลิกจ้างในปี 2554 ช่วงต้นปีเป็นช่วงที่ไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เดือนม.ค.มีการเลิกจ้าง 6,600 คน เดือนก.พ. 5,200 คน ส่วนปลายปีได้รับผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วม ทำให้มีการเลิกจ้างกว่า 13,000 คน ต่อเนื่องถึงเดือนม.ค. 2555 เลิกจ้าง 14,829 คน เดือนก.พ. 11,910 คน เดือนมี.ค. 9,147 คน และเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทครั้งแรก ในเดือนเม.ย. มีแรงงานถูกเลิกจ้าง 8,300 คน จากนั้นลดลงเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันมีข้อมูลแรงงานถูกเลิกจ้างทั้งหมด 5,000 กว่าคน จะเห็นได้ว่าจำนวนแรงงานที่ถูกเลิกจ้างไม่ได้แตกต่างจากช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจปกติ" ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว

ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะเห็นผลกระทบของการปรับค่าจ้าง 300 บาท คาดว่าจะเห็นผลกระทบได้เร็วที่สุดในเดือนก.พ. เมื่อมีการจ่ายค่าจ้าง ถ้าถึงตอนนั้นแล้วมีการเลิกจ้างจำนวนมาก อาจออกมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและลูกจ้างเพิ่มเติม

ด้านนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง 300 บาทว่า ไม่อยากพูดถึง เนื่องจากก่อนออกมาตรการได้ประชุมไปแล้วถึง 2 ครั้ง แต่ส.อ.ท.ไม่เคยเข้าร่วมเสนอความคิดเห็นในที่ประชุม ขณะนี้ กสร.กำลังเร่งสำรวจสาเหตุการเลิกจ้างมาประกอบกับข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ที่สถานประกอบการต้องแจ้งสาเหตุการปิดกิจการ จึงไม่อยากให้สรุปว่าการปิดสถานประกอบการเกิดจากผลกระทบการปรับค่าจ้างทั้งหมด

 

NEWS & TRENDS