สำหรับปัจจัยบวกที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)คาดว่า GDP ปี 55 ขยายตัวได้ 5.8% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 5.7% และปี 56 ที่ 4.6%, 2.ด้านท่องเที่ยว ที่คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 55 สูงถึง 21.5 ล้านคนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20 ล้านคนและคาดว่าจะมีรายได้เข้าประเทศสูงถึง 8 แสนล้านบาท, 3.ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังทรงตัว, 4.เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และ 5.การส่งออกในเดือน พ.ย.55 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ธ.ค.55 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ที่ 70.6, ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 71.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 98.3 โดยในเดือนนี้ดัชนีทุกตัวปรับเพิ่มขึ้นทุกรายการ
"ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในอนาคต ทุกรายการปรับตัวดีขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 54 เป็นต้นมา"
สำหรับปัจจัยบวกที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)คาดว่า GDP ปี 55 ขยายตัวได้ 5.8% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 5.7% และปี 56 ที่ 4.6%, 2.ด้านท่องเที่ยว ที่คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปี 55 สูงถึง 21.5 ล้านคนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20 ล้านคนและคาดว่าจะมีรายได้เข้าประเทศสูงถึง 8 แสนล้านบาท, 3.ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยังทรงตัว, 4.เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และ 5.การส่งออกในเดือน พ.ย.55 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26%
ขณะที่ปัจจัยลบ ประกอบด้วย 1.ความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะนี้สาธารณะยุโรป, 2.ความกังวลเกี่ยวกับการเลิกจ้างงานหลังมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ, 3.การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เกรงว่าจะเป็นชนวนให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองในอนาคต และ 4.ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ กล่าวว่า สาเหตุที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคคลายความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ หลังสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นจนส่งผลให้การบริโภค การลงทุน การส่งออก และการส่งออกขยายตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ คาดว่า การบริโภคของประชาชนมีแนวโน้มทรงตัวหรืออาจขยายตัวดีขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เนื่องจากประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน นโยบายรับจำนำข้าว การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
"การปรับตัวดีขึ้นในเรื่องการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง หากรัฐเร่งรัดการใช้นโยบายการคลังผ่านงบประมาณ และใช้นโยบายการเงินผ่านการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นแรงพยุงไม่ให้เศรษฐกิจไทยผันผวนตามเศรษฐกิจโลก"
ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เริ่มมีสัญญาณขาขึ้นและมีโอกาสเข้าใกล้ระดับ 100 ภายในสิ้นปีนี้ ดังนั้นหากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐไม่ยืดเยื้อ สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศมีเสถียรภาพ ไม่เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ที่ระดับ 5% ขณะที่การบริโภคภาคประชาชนขยายตัวได้ 4-5%
"การบริโภคภาคประชาชนจะขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ซึ่งเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกมาจากแรงกระตุ้นจากการบริโภค และการท่องเที่ยว ส่วนครึ่งปีหลังจะมาจากการลงทุนภาครัฐและการส่งออก" นายธนวรรธน์กล่าว