ส่งสัญญาณเลิกจ้าง 39 แห่งแรงงานเดือดร้อน 3.3 หมื่น

เมื่อวันที่ 7 ม.ค.56 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ กสร. ณ วันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 มีสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท 4 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 275 คน สถานประกอบการมีแนวโน้มการเลิกจ้าง อันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้าง จำนวน 2 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 480 คน และมีอีก 5 แห่ง ที่ส่งสัญญาณการขาดสภาพคล่อง และหมดสัญญาเช่าที่ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 999 คน นอกจากนี้ กสร.ยังรายงานถึงสถานการณ์ด้านแรงงาน ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยมีสถานการณ์ประกอบการ 76 แห่ง เลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 10,696 คน และแนวโน้มการเลิกจ้าง 39 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 33,655 คน

 


เมื่อวันที่ 7 ม.ค.56 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากการรายงานสถานการณ์ด้านแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ กสร. ณ วันที่ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 มีสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท 4 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 275 คน สถานประกอบการมีแนวโน้มการเลิกจ้าง อันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้าง จำนวน 2 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 480 คน และมีอีก 5 แห่ง ที่ส่งสัญญาณการขาดสภาพคล่อง และหมดสัญญาเช่าที่ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 999 คน
 
      นอกจากนี้ กสร.ยังรายงานถึงสถานการณ์ด้านแรงงาน ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2556 โดยมีสถานการณ์ประกอบการ 76 แห่ง เลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 10,696 คน และแนวโน้มการเลิกจ้าง 39 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 33,655 คน

ด้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ก็ได้มีการหารือร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการ และมีข้อสรุปที่ตรงกันไว้ 10 มาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวได้ ส่วนกระแสข่าวว่ากรมสรรพากรมีแนวคิดจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 15% เพื่อให้อัตราภาษีต่ำสุดในภูมิภาคอาเซียนนั้น ขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่มีนโยบายหรือแนวความคิดดังกล่าวแต่อย่างใด

นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เป็นห่วงสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ จะกระทบกับการพิจารณาเครดิตของประเทศ โดยวันที่ 14 ม.ค.2556 สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส จะเดินทางเข้ามาเก็บข้อมูลด้านต่างๆ ในไทย เพื่อประเมินเครดิตของไทยใหม่ ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้ชี้แจงกับทาง ฟิทช์ เรทติ้งส์ ถึงแผนการกู้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งไม่ทำให้ระดับหนี้สาธารณะสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง โดยปัจจุบัน ระดับหนี้สาธารณะอยู่ที่ 43% เป็นระดับไม่น่ากังวล


ที่มา : บ้านเมือง

 

NEWS & TRENDS