ททท.ทดลองเดินรถไฟสาย OTOP กรุงเทพฯ-หัวหิน

น.ส.พสิษฐ์ตา อินทร์พันธ์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงาน ประจวบคีรีขันธ์ ได้นำคณะสื่อ และเจ้าหน้าที่ ททท.ทำการทดลองนั่งรถไฟสายท่องเที่ยว-สินค้าโอทอป กรุงเทพฯ-หัวหิน โดยเดินทางมาถึงหัวหินในเวลา 14.45 น.

 


นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวภายหลังร่วมบันทึกเทปรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ร่วมกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เพื่อชี้แจงนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 มกราคมนี้ ตนจะเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพิ่มเติมอีก 5 มาตรการ เพิ่มเติมจากการต่ออายุมาตรการที่ ครม.ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้

ประกอบด้วย 

1.มาตรการลดค่าธรรมเนียมที่พัก โรงแรมรายปีที่ต้องเสียให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 50% เป็นเวลา 3 ปี 
2.ตั้งคลินิกเคลื่อนที่พัฒนาฝีมือแรงงานไปที่สถานประกอบการและสถานศึกษา 
3.เพิ่มงบประมาณประชุมสัมมนาให้กับส่วนราชการ โดยกระทรวงการคลังจะรับไปพิจารณาเกณฑ์การเพิ่มงบประมาณ 
4.จัดคาราวานสินค้าราคาถูกไปที่สถานประกอบการ ผ่านกลไกร้านธงฟ้าและร้านค้าถูกใจ 
5.ลดอัตราภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จากเดิม 3% เหลือ 2% เพื่อให้สอดคล้องกับการลดภาษีนิติบุคคลจากเดิมที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้ 

นายเผดิมชัยกล่าวอีกว่า สำหรับการลดภาษี ณ ที่จ่ายลง 1% จะส่งกระทบต่อรายได้ภาครัฐประมาณ 20,000 หมื่นล้านบาทต่อปี จากเดิมที่จัดเก็บได้ 60,000 ล้านบาทต่อปี มาตรการทั้งหมดที่จะเสนอได้รับความเห็นชอบจากคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนแล้ว ส่วน ครม.จะมีมาตรการเพิ่มเติมหรือไม่ ต้องรอผลประชุมในวันที่ 8 มกราคมอีกครั้งหนึ่ง 

         "การขึ้นค่าแรงครั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปผลกระทบทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับเอสเอ็มอีได้ คาดว่าในเดือนมีนาคมจะเห็นภาพที่ชัดเจน" นายเผดิมชัยกล่าว 

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธาน ส.อ.ท. เปิดเผยว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลจะลดภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1% ให้สอดคล้องกับภาษีนิติบุคคลที่ลดเหลือ 23% เพราะช่วยลดภาระต้นทุน โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่ต้นทุนสูงขึ้นมาก หลังจากปรับขึ้นค่าแรงงาน และควรเพิ่มมาตรการช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตแทนการช่วยพัฒนาระดับฝีมือแรงงานไร้ทักษะให้เป็นแรงงานฝีมือ ซึ่งถือว่าล่าช้าเกินไป ไม่เกิดประโยชน์แล้ว 

นอกจากนี้ การให้เอสเอ็มอีนำสินค้าไปขายในโครงการธงฟ้าสวนทางกับความจริง เพราะเอกชนมีต้นทุนสูงขึ้น แต่กลับให้ขายสินค้าราคาถูกลง และไม่ควรรอประเมินผลกระทบถึง 3 เดือน เพราะนานเกินไป 

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง และประธานบริหารบริษัท ซีแวลู จำกัด กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือตามข้อเรียกร้องของ ส.อ.ท. และสภาหอการค้า เช่น ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเหลือร้อยละ 3 เป็นเวลา 3 ปี ให้รัฐชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง 3 ปี ส่วนมาตราภาษีเป็นมาตรการที่จะเข้ามาช่วยในตอนหลัง หลังจากที่ผู้ประกอบการอยู่รอด จึงอยากให้ช่วยเหลือก่อนจะปิดตัว ส่วนค่าไฟที่จะปรับขึ้นเป็นปัญหาที่เข้ามาซ้ำเติม เพราะยังมีปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้น ส่งออกได้รับผลกระทบมาก อยากให้แบงก์ชาติเข้ามาควบคุมค่าเงินไม่ให้ต่ำไปกว่า 30 บาท เพราะถ้าค่าเงินบาทแข็งเกินกว่านี้ ผู้ประกอบการจะเดือดร้อนหนักมาก
 

NEWS & TRENDS