นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวในรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน เกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 56 ว่า มุ่งหวังให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ลดการพึ่งพาการส่งออก แต่ยอมรับว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น จะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะในสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูง
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวในรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน เกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 56 ว่า มุ่งหวังให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ลดการพึ่งพาการส่งออก แต่ยอมรับว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น จะได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะในสินค้าที่มีมูลค่าไม่สูง
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า ข้อดีของค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ น่าจะทำให้แรงงานมีความสุขมากขึ้น สามารถทำงานอยู่ในภูมิลำเนาของตัวเองได้ ได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในบางจังหวัด อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เพราะเพิ่งเริ่มมีผลไม่กี่วัน โดยการที่โรงงานหลายแห่งปิดกิจการในขณะนี้ เป็นเพราะปัญหาทางการเงินบริษัทเอง นอกจากนี้รัฐบาลกำลังออกมาตรการรองรับผลกระทบ เชื่อว่า จะบรรเทาภาระผู้ประกอบการได้
ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า การขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ จะทำให้มีความเป็นธรรม และประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งผลของประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้ เช่น การตัดเย็บที่เคยมีเศษผ้าเหลือมาก แต่เมื่อแรงงานมีค่าแรงที่ดี อาจช่วยทำให้มีเศษผ้าน้อยลง อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องมีสินเชื่อเข้าไปช่วยเหลือ ให้ผู้ประกอบการเข้าถึงและ ทุกจังหวัดมีศักยภาพของตนเองในการทำธุรกิจ ได้อยู่แล้ว
ที่มา : ไทยโพสต์