ห่วงขึ้นค่าแรงทำ SMEs เจ๊งลามเศรษฐกิจไทยพัง

นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลได้ประกาศปรับขึ้นค่าแรง 300บาทต่อวันทั่วประเทศ มีผล 1 ม.ค. 2556 นั้นน เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลควรตั้งกองทุนเพื่อชดเชยส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงิน 5-6 หมื่นล้านบาทต่อปี อีกทั้ง หากไม่สามารถหามาตรการที่ดีพอมาลดผลกระทบให้เอกชน ปี 2556 ก็จะเห็น SMEs ที่มีถึง 90% ของภาคอุตสาหกรรมทยอยปิดกิจการลงคาดว่าจะเห็นผลกลางปีเป็นต้นไป แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ SMEs บางส่วนจะเป็นห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมรายใหญ่เช่น สิ่งทอ รองเท้า อาหาร ฯลฯ ผลกระทบอาจจะต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมภาพรวมและนี่อาจจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจไทยพังเร็วขึ้นเพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยก็เปราะบางแล้ว

 

นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลได้ประกาศปรับขึ้นค่าแรง 300บาทต่อวันทั่วประเทศ มีผล 1 ม.ค. 2556 นั้นน เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลควรตั้งกองทุนเพื่อชดเชยส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงิน 5-6 หมื่นล้านบาทต่อปี อีกทั้ง หากไม่สามารถหามาตรการที่ดีพอมาลดผลกระทบให้เอกชน ปี 2556 ก็จะเห็น SMEs ที่มีถึง 90% ของภาคอุตสาหกรรมทยอยปิดกิจการลงคาดว่าจะเห็นผลกลางปีเป็นต้นไป แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ SMEs บางส่วนจะเป็นห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมรายใหญ่เช่น สิ่งทอ รองเท้า อาหาร ฯลฯ ผลกระทบอาจจะต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมภาพรวมและนี่อาจจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจไทยพังเร็วขึ้นเพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยก็เปราะบางแล้ว
       
อย่างไรก็ตาม นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า คณะทำงานกกร.กำลังพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันและเห็นว่า 27 มาตรการของรัฐส่วนของมาตรการจัดตั้งกองทุนเยียวยานั้นน่าจะได้ผลเร็วสุดเพราะมาตรการอื่นๆใช้เวลาและไม่ครอบคลุมต้นทุนที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ SMEs ต่างจังหวัด
       
“ผู้ประกอบการต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวมาตั้งแต่ต้นปีแล้วซึ่งไม่คิดที่จะรับคนเพิ่มและจากนี้ไปคงไม่มีใครคิดจะไปลงทุนต่างจังหวัดแน่ และสิ่งที่ห่วงคือคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศของเราก็ลดลงเพราะการที่ค่าแรงขึ้นทำให้ไม่กล้าเสนอราคาที่จะไปแข่งกับเพื่อนบ้านได้”นายทวีกิจกล่าว

NEWS & TRENDS