นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวภายหลังการเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน AEO หรือ Authorized Economic Operator เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าร่วมโครงการในปลายปี 56 ว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งองค์กรโลกหรือ World Customs Organization (WCO) จึงได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก ที่เรียกว่า SAFE โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าตลอดเส้นทางการขนส่ง
นางเบญจา หลุยเจริญ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวภายหลังการเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมรับฟังการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐาน AEO หรือ Authorized Economic Operator เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าร่วมโครงการในปลายปี 56 ว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยในการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งองค์กรโลกหรือ World Customs Organization (WCO) จึงได้กำหนดกรอบมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกทางการค้าโลก ที่เรียกว่า SAFE โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกทางการค้าตลอดเส้นทางการขนส่ง
ทั้งนี้ โครงการ AEO ถือเป็นทางปฏิบัติในการรับรองผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน ว่ามีการดำเนินงานที่ปลอดภัยและได้รับการรับรองจากศุลกากรว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของ WCO ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ตัวแทนออกของ ผู้ขนส่ง ผู้รวบรวม คนกลาง ผู้ประกอบการท่าเรือหรือท่าอากาศยาน ผู้ประกอบการกิจการท่ารถ ผู้ประกอบการคลังสินค้า ตลอดจนผู้จัดจำหน่าย โดยกรมศุลกากรได้เริ่มโครงการนำร่อง AEO สำหรับผู้ส่งออก มาตั้งแต่ปี 51 จนถึงปัจจุบันกรมศุลกากรได้ดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบสำหรับผู้ส่งออก
อย่างไรก็ตาม ภายในปีงบประมาณ 56 กรมศุลกากรจะขยายประเภทผู้ประกอบการให้ครอบคลุมถึงผู้นำเข้าและตัวแทนออกของ โดยได้กำหนดระยะเวลาในการปรับตัวของผู้นำเข้า และผู้ส่งออกระดับบัตรทองหรือ Gold Card และตัวแทนออกของรับอนุญาตระดับพิเศษ หรือ Licensed Customs Broker เพื่อเข้าสู่โครงการ AEO ภายใน 1 ปี
“เราอยากให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาเข้าโครงการ AEO ทั้งหมด ทั้งผู้ประกอบการ Gold Card ที่มีจำนวน 249 ราย และ Licensed Customs Broker จำนวน 200 ราย โดยตอนนี้มีผู้ประกอบการเข้าโครงการ AEO แล้ว 17 ราย ซึ่งหากผู้ประกอบการสนใจสามารถสมัครเข้าร่วมได้ เราก็จะไปตรวจดูตั้งแต่ขั้นตอนและกระบวนการผลิตว่ามีความปลอดภัยและได้มาตรฐานหรือไม่ โดยหากผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน AEO ก็จะทำให้ได้รับความสะดวกในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ “ นางเบญจา กล่าว
สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ AEO จะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ไม่น้อยกว่าที่ Gold Card และ Licensed Customs Broker ได้รับ รวมทั้งจะได้รับสิทธิพิเศษที่กรมศุลกากรจะพิจารณาเพิ่มเติมให้ในอนาคต นอกจากนั้น กรมศุลกากรยังมีโครงการที่จะจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Mutual Recognition Agreement (MRA) กับประเทศต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เสนอข้อจัดทำ MRA กับไทย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ AEO ของไทยได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มขึ้นตามข้อตกลงที่จะมีการจัดทำร่วมกัน โดยเฉพาะการลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการนำของเข้าและสิ่งของออกระหว่างประเทศที่ทำ MRA ด้วยกัน นอกจากนั้นกรมศุลกากรจะจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์เรื่อง AEO สำหรับ Gold Card ในปลายเดือน พ.ย.นี้ และ Licensed Customs Broker ต้นเดือน ธ.ค.55 จากนั้นจะดำเนินการออกประกาศกรมศุลกากร และเปิดรับสมัครผู้ประกอบการ AEO ในเดือน ม.ค.56