สศอ.แนะ 3 แนวทางธุรกิจไทยสู้ต่างประเทศ

ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ดำเนินการร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาผลกระทบต่อุตสาหกรรมไทยจากความท้าทายด้านแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ และนำเสนอแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการ แม้ว่าที่ผ่านมาการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยค่อนข้างประสบความสำเร็จจากการใช้แรงงานราคาถูกในประเทศ เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมาสร้างและขยายเครือข่ายการผลิตจนสามารถผลิตสินค้าส่งออกได้มูลค่ามหาศาล แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมายจากสภาพแวดล้อมใหม่ในการแข่งขันที่เปลี่ยนไป

  


ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ดำเนินการร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ศึกษาผลกระทบต่อุตสาหกรรมไทยจากความท้าทายด้านแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ และนำเสนอแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการ แม้ว่าที่ผ่านมาการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยค่อนข้างประสบความสำเร็จจากการใช้แรงงานราคาถูกในประเทศ เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมาสร้างและขยายเครือข่ายการผลิตจนสามารถผลิตสินค้าส่งออกได้มูลค่ามหาศาล แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมายจากสภาพแวดล้อมใหม่ในการแข่งขันที่เปลี่ยนไป

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความท้าทายด้านแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการขาดแคลนแรงงานในประเทศทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ แรงกดดันจากการแข่งขันกับประเทศจีนที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และกับอินเดีย ซึ่งกำลังพัฒนาภาคอุตสาหกรรมมาแข่งขันในอนาคต ตลอดจนนโยบายการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556

ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการขึ้นค่าจ้างส่งผลกระทบต่อผลผลิตอุตสาหกรรม การจ้างงาน ราคาสินค้า รวมทั้งการส่งออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง และไม้ ซึ่งจำเป็นต้องวางเป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพแรงงานดังกล่าว โดยนำเสนอ 3 แนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบการว่า แนวทางแรก นอกจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี หรือ FTAแล้ว ผู้ประกอบการควรใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงที่มีอยู่ในภูมิภาค

แนวทางที่ 2 ยกระดับการผลิตของอุตสาหกรรมไทยให้สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญน้อยมาก โดยเห็นได้จากการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนไทยยังต่ำกว่าหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย จีน และเกาหลีใต้ แม้ว่าจะมีผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ แต่ยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถยกระดับตัวเองได้ เนื่องจากขาดเงินทุน ทักษะด้านการตลาด การออกแบบ รวมถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน 

และแนวทางที่ 3 คือการเพิ่มผลิตภาพแรงงานโดยการอุดหนุนการฝึกอบรม ทักษะและทัศนคติในการทำงานแก่แรงงานตามความสามารถทักษะและความถนัดของแรงงานนั้นๆ โดยการแจกคูปองการฝึกอบรมพร้อมกันนี้ควรสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อลดต้นทุนด้วย
 

NEWS & TRENDS