นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2555 นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ส่งหนังสือขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกกร.และรัฐบาล เพื่อพิจารณาเลื่อนกำหนดขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2555 นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ส่งหนังสือขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างกกร.และรัฐบาล เพื่อพิจารณาเลื่อนกำหนดขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ทั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556
"นายพงษ์ศักดิ์ร่วมเดินทางไปประเทศอังกฤษกับนายกฯวันที่ 12-15 พ.ย. ด้วย จึงใช้โอกาสดังกล่าวส่งหนังสือของกกร. ให้ท่านโดยตรงอีกทาง และคณะทำงานของกกร. ได้ส่งหนังสืออย่างเป็นทางการไปยังทำเนียบรัฐบาลตามกระบวนการปกติแล้ว"นายสมมาตกล่าว
นายสมมาต กล่าวว่า หลักการของเอกชนและรัฐบาลเห็นตรงกันคือ ไม่ต้องการเห็นเศรษฐกิจไทยล่มลง ดังนั้นในส่วนของเอกชนจึงต้องการให้รัฐบาลชะลอการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทออกไปก่อน อาจใช้วิธีทยอยปรับขึ้น ไม่ใช่ขึ้นครั้งเดียว แต่หากยืนยันจะขึ้นเวลานี้ ก็ไม่ควรประกาศหรือนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา แต่ควรตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาผลกระทบก่อน พร้อมจัดทำรายละเอียดของมาตรการช่วยเหลือจาก 27 มาตรการให้ชัดเจนขึ้น และเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการจริง ภายในระยะเวลา 1 เดือนเศษจากนี้
นายสมมาต กล่าวว่า ความขัดแย้งในส.อ.ท. ระหว่างนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. และสมาชิกที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น เรื่องนี้มีคนเดียวที่เห็นด้วย แต่สมาชิกส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าเอกชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะรายเล็กไม่มีความพร้อม นอกจากนี้ ต้องการให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทั้งจำนวนโรงงานที่ปิดตัวลง และแรงงานที่ถูกเลิกจ้างจากปัญหาการขึ้นค่าแรง 300 บาท เพราะทราบว่าภาครัฐมีข้อมูลแต่ไม่ยอมเปิดเผย