อรท.ชงแก้กฎหมายคุ้มครองลูกจ้างชั่วคราว

นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) เปิดเผยว่าว่า ขณะนี้สภาองค์การลูกจ้าง 6 แห่งประกอบด้วยสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สหพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์แห่งประเทศไทยเตรียมเสนอร่างฉบับแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ต่อนายสมศักดิ์เกียรติ

 


นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) เปิดเผยว่าว่า ขณะนี้สภาองค์การลูกจ้าง 6 แห่งประกอบด้วยสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สหพันธ์แรงงานชิ้นส่วนยานยนต์แห่งประเทศไทยเตรียมเสนอร่างฉบับแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ต่อนายสมศักดิ์เกียรติ

ทั้งนี้ เนื่องจากใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่ครอบคลุมและไม่ได้ให้ความคุ้มครองลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานรัฐเช่น ลูกจ้างรัฐสภา ลูกจ้างกทม.ลูกจ้างเทศบาล ซึ่งหากรวมลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกหน่วยงาน จะมีลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมดประมาณ 4 แสนคนโดยคนกลุ่มนี้ได้รับสัญญาจ้างแบบปีต่อปีและในช่วงที่สัญญาใกล้สิ้นสุด เมื่อเจ็บป่วยระหว่างการทำงานกฎหมายจะไม่ให้ความคุ้มครองเพราะลูกจ้างเหล่านี้ไม่ได้ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

“ปัญหานี้เคยเกิดขึ้นกับพนักงานชั่วคราวของบริษัทการบินไทยจำนวน 3 พันคนและทางสภาองค์การลูกจ้างได้เข้าไปช่วยเหลือด้วยการฟ้องร้องจนชนะคดี แต่ในทางปฏิบัติแต่ไม่สามารถบังคับให้บริษัทการบินจ่ายเงินชดเชยได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องแก้ไขมาตรา 11/1  ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 เพื่อขยายความคุ้มครองไปถึงลูกจ้างชั่วคราวในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสหากิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ให้ได้รับคุ้มครองเช่นเดียวกับลูกจ้างบริษัทเอกชน” ประธานอรท. กล่าว

นายมนัส กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันในร่างฉบับแก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ยังได้เสนอให้แก้ไขความหมายของคำว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นค่าจ้างแรกเข้า ซึ่งจะใช้บังคับในกรณีทำงานปีแรกเท่านั้น เมื่อทำงานถึงปีที่สองก็ต้องได้รับค่าจ้างตามกลไกของตลาด รวมทั้งแก้ไขให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่เป็นหญิงตั้งครรภ์มีสิทธิลาเพื่อรับการตรวจสุขภาพก่อนคลอดและหลังคลอดที่นอกเหนือจากการลาคลอดบุตร 90 วัน

นอกจากนี้ ยังเสนอแก้ไขการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีที่นายจ้างประสบปัญหาขาดทุนและต้องหยุดกิจการตามมาตรา 75 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างชดเชย 75 เปอร์เซ็นต์ ของค่าจ้างที่ได้รับในแต่ละเดือนให้เปลี่ยนเป็นนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างชดเชย 100 เปอร์เซ็นต์และต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า 5 วันทำการจากเดิมต้องแจ้งภายใน 3 วันทำการ นอกจากนี้ ยังเสนอเพิ่มเติมการจ่ายเงินช่วยเหลือในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างครอบคลุมไปถึงเหตุภัยพิบัติเช่น กรณีน้ำท่วม ภัยธรรมชาติ ขณะเดียวกันในร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่เสนอยังแก้ไขบทลงโทษในกรณีนายจ้างไม่ปฏิบัติตามในกรณีต่างๆที่กำหนดจากเดิมปรับ 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 6 เดือน เปลี่ยนเป็นปรับไม่เกิน 2 แสนบาทและจำคุกไม่เกิน 1 ปี
 

NEWS & TRENDS