กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ร่วมกันจัดโครงการ แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที ปีที่ 4 หรือโครงการ E BETTER เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านไอทีให้กับแรงงานไทย โดย ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดี กพร. กล่าวว่าปัจจุบันแรงงานไทยอ่อนทักษะภาษาอังกฤษและไอทีอย่างมากและจะต้องเร่งพัฒนาทักษะทั้งสองด้านนี้โดยด่วน เนื่องจากในปี พ.ศ.2558 ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ดังนั้น กพร.จึงได้ร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เพื่อจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตรพื้นฐานทางด้านไอทีให้แก่แรงงานที่ต้องการพัฒนาศักยภาพด้านไอที ตั้งแต่ปี 2552 และดำเนินโครงการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) ร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ร่วมกันจัดโครงการ “แรงงานไทยก้าวไกลด้วยไอที” ปีที่ 4 หรือโครงการ E BETTER เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านไอทีให้กับแรงงานไทย โดย ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดี กพร. กล่าวว่าปัจจุบันแรงงานไทยอ่อนทักษะภาษาอังกฤษและไอทีอย่างมากและจะต้องเร่งพัฒนาทักษะทั้งสองด้านนี้โดยด่วน เนื่องจากในปี พ.ศ.2558 ไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ดังนั้น กพร.จึงได้ร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) และสถาบันคีนันแห่งเอเชีย เพื่อจัดทำโครงการฝึกอบรมหลักสูตรพื้นฐานทางด้านไอทีให้แก่แรงงานที่ต้องการพัฒนาศักยภาพด้านไอที ตั้งแต่ปี 2552 และดำเนินโครงการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว
รองอธิบดี กพร.กล่าวต่อไปว่า ในปีนี้โครงการดังกล่าวได้เพิ่มหลักสูตรการอบรมเพิ่มขึ้นอีก 4 หลักสูตร จากเดิมที่เคยมีทั้งหมด 8 หลักสูตรรวมเป็น 12 หลักสูตร ซึ่งเป็นไปตามที่ผู้ใช้แรงงานต้องการ เช่น การสอนทำแผ่นพับด้วย Microsoft Word การทำฐานข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของไฟล์ และการใช้อินเตอร์เนต จากโปรแกรมต่างๆ โดยเปิดอบรมให้ครูฝึกของ กพร.เพื่อนำความรู้ไปจัดอบรมให้แก่แรงงานและประชาชนที่มีความต้องการจะพัฒนาทักษะด้านไอทีเพิ่มเติม รวมไปถึงฝ่ายบุคลากรของสถานประกอบการต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายบุคลากรของสถานประกอบการนำความรู้ไปเปิดคอร์สฝึกอบรมความรู้ด้านไอทีให้แก่ลูกจ้างภายในสถานประกอบการต่อไป
ม.ล.ปุณฑริก กล่าวต่อไปว่า หากสถานประกอบการใดที่เปิดคอร์สอบรมให้ลูกจ้างในสถานประกอบการสามารถนำหลักฐานมาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 ที่กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องยกระดับฝีมือให้กับแรงงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของแรงงานทั้งหมดในทุกปี นอกจากนี้ แรงงานและประชาชนที่สนใจสามารถเข้าไปเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ของโครงการผ่านเว็บไซต์http://www.thebetter-project.com/
“กพร.ตั้งเป้าหมายแต่ละปีจะจัดฝึกอบรมด้านไอทีให้แก่แรงงานทั่วประเทศให้ได้กว่า 10,000 คนเพื่อรองรับเออีซี ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถขอเข้ารับการอบรมที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศฝจ.) และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) ได้ตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีนี้ จนถึงเดือนพ.ย. 2556 โดยเสียค่าใช้จ่ายแต่หากเป็นการต่อยอดทักษะความรู้จะเสียค่าใช้จ่ายในการเรียน 10 บาทต่อชั่วโมง” รองอธิบดี กพร.กล่าว