รัฐเพิ่มค่าจ้างพาร์ทไทม์นักศึกษา 40 บาท/ชั่วโมง

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่กระทรวงแรงงาน นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน แถลงภายหลังประชุมคณะกรรมการการค่าจ้าง (บอร์ด ค่าจ้าง)ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา จากเดิม 30 บาทต่อชั่วโมง เป็น 40 บาทต่อชั่วโมง โดยจะออกเป็นประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา ฉบับที่ 2 เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2556

 


เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่กระทรวงแรงงาน นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน แถลงภายหลังประชุมคณะกรรมการการค่าจ้าง (บอร์ด ค่าจ้าง)ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา จากเดิม 30 บาทต่อชั่วโมง เป็น 40 บาทต่อชั่วโมง  โดยจะออกเป็นประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างรายชั่วโมงสำหรับนักเรียน นิสิตและนักศึกษา ฉบับที่ 2 เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2556

                ทั้งนี้  ภายในเดือนพฤศจิกายน บอร์ดค่าจ้างจะเสนอนพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดแรงงาน เพื่อลงนามในร่างประกาศฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ร่างประกาศนี้ไม่มีบทลงโทษ แต่ เป็นการขอความร่วมมือและสร้างมาตรฐานทางสังคม เนื่องจากมีการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ส่งผลให้ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น

                สำหรับประกาศฉบับดังกล่าวเป็นการกำหนดแนวทางให้สถานประกอบการจ่ายค่าจ้างให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ต้องการทำงานประเภทไม่เต็มเวลา (พาร์ทไทม์) ในกิจการข่ายสินค้าและบริการลูกค้า งานวิจัยตลาด งานร้านอาหาร งานห้างสรรพสินค้า งานบริการในร้านสะดวกซื้อ และงานคลังสินค้า และห้ามไม่ให้นักเรียน นิสิตและนักศึกษาทำงานในสถานที่อันตราย สถานที่เล่นการพนัน สถานบันเทิงยามค่ำคืนที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัว รวมถึงห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ทำงานพาร์ทไทม์และจะต้องแต่งกายด้วยเครื่องแบบที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือหากแต่งกายด้วยชุดที่สถานประกอบการจัดให้ก็ต้องมีป้ายสัญลักษณ์ที่แสดงชัดเจว่าเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ขณะเดียวกันยังได้กำหนดให้นายจ้างประกันรายได้ด้วยการจ้างงานไม่ต่ำกว่าวันละ 4  ชั่วโมง

                นายอาทิตย์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังได้มอบให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.)ไปศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงในสถานประกอบการให้ชัดเจน ป้องกันการที่สถานประกอบการหันมาจ้างแรงงานรายชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าจ้าง 300 บาท ว่าควรดำเนินการอย่างไร และควรจะกำหนดให้จ้างงานวันละกี่ชั่วโมง เพราะหากสถานประกอบการหันมาจ้างลูกจ้างรายชั่วโมง โดยไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้ลูกจ้างเกิดความไม่มั่นคงในการทำงาน
 

NEWS & TRENDS