ปรับค่าแรงนโยบายรัฐ กกร.ชี้ควรจ่ายส่วนเกินเอง

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สายแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จะหารือถึงผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ รวมถึงมาตรการเยียวยาที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะเอสเอ็มอี แต่เกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการทุกขนาด

 

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สายแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จะหารือถึงผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ รวมถึงมาตรการเยียวยาที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะเอสเอ็มอี แต่เกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการทุกขนาด

ทั้งนี้ การปรับค่าแรงเป็นนโยบายของรัฐบาล รัฐบาลก็ควรจะเป็นผู้รับภาระ โดยควรออกมาตรการเยียวยาด้วยการชดเชยส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้นให้แก่แรงงานโดยตรง ไม่จำเป็นต้องผ่านผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะเป็นผลดีให้ผลประโยชน์ถึงมือแรงงานมากที่สุด ขณะที่ภาคเอกชนไม่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นจากนโยบายของรัฐบาล

“หน้าที่เอกชนคือ ผลิตสินค้าในต้นทุนที่ต่ำที่สุด หากต้นทุนเพิ่ม ราคาสินค้าเพิ่มลูกค้าไม่ซื้อของ สุดท้ายก็ต้องปิดกิจการไป ซึ่งรัฐบาลคงไม่ต้องการเห็นการปิดกิจการก่อน แล้วค่อยมาช่วยเหลือทีหลัง และคราวนี้เป็นเรื่องที่ได้รับผลกระทบจริงๆ เอกชนจึงยังหวังว่ารัฐบาลจะชะลอการขึ้นค่าแรงทั่วประเทศออกไปจนถึงปี 2558” นายทวีกิจ กล่าว

ด้านนายสมมาตร ขุนเศรษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า เอกชนไม่ได้คัดค้าน แต่เห็นว่าควรจะให้เวลาปรับตัวสำหรับเอสเอ็มอีท่ามกลางเศรษฐกิจที่มีความผันผวน และต้องการการพัฒนาก่อนเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 58 แต่ถ้ารัฐเดินหน้าก็ควรหาแนวทางชดเชยผลกระทบ

NEWS & TRENDS