เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ตัวแทนผู้ประกอบการส.อ.ท.ทั่วประเทศรวม 58 คน เข้าหารือกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เพื่อให้รัฐบาลยืดการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทออกไปก่อน 2-3 ปี โดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า จากผลการศึกษาพบว่าโรงงานขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ที่ว่าจ้างแรงงานประมาณ 200 คน หากปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทจะส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 25-28% และขณะนี้โรงงานขาดทุนเฉลี่ยแล้วเดือนละ 6-7 ล้านบาท ขณะที่มาตรการภาษีที่รัฐบาลปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงนั้น ไม่ได้มีผลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในต่างจังหวัด โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้แรงงานมาก ดังนั้น หากมาตรการปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทยังคงเดินหน้าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 จะทำให้เอสเอ็มอีต้องทยอยปิดโรงงานอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ตัวแทนผู้ประกอบการส.อ.ท.ทั่วประเทศรวม 58 คน เข้าหารือกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เพื่อให้รัฐบาลยืดการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทออกไปก่อน 2-3 ปี โดยนายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า จากผลการศึกษาพบว่าโรงงานขนาดเล็ก หรือเอสเอ็มอี ที่ว่าจ้างแรงงานประมาณ 200 คน หากปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทจะส่งผลให้ต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 25-28% และขณะนี้โรงงานขาดทุนเฉลี่ยแล้วเดือนละ 6-7 ล้านบาท ขณะที่มาตรการภาษีที่รัฐบาลปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงนั้น ไม่ได้มีผลช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในต่างจังหวัด โดยเฉพาะโรงงานที่ใช้แรงงานมาก ดังนั้น หากมาตรการปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทยังคงเดินหน้าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 จะทำให้เอสเอ็มอีต้องทยอยปิดโรงงานอย่างต่อเนื่อง
วันเดียวกัน องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) พร้อมคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และกลุ่มสหภาพแรงงานต่างๆ กว่า 30 คน นำโดยนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อนายเผดิมชัย โดยระบุว่าหากรัฐบาลไม่ขึ้นค่าจ้าง 300 บาท ในวันที่ 1 ม.ค. 2556 คาดว่าผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศคงออกมารวมตัวกันผลักดันให้เกิดการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท
ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) ว่า ที่ประชุมได้หารือเร่งด่วนเกี่ยวกับนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการทำงานชุดพิเศษ กกร.ขึ้นมา 1 คณะ มีตัวแทนจากส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ฝ่ายละ 3 คน รวมเป็น 9 คนขึ้นมาจัดทำข้อเสนอต่อนโยบายค่าแรง 300 บาท โดยจะประชุมนัดแรกในวันที่ 8 พ.ย.นี้
"การขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศใน ช่วงต้นปีหน้าจะส่งผลกระทบค่อนข้างมากต่อ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (เอสเอ็มอี) และผู้ประกอบการ ในบางกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากน้อยแตกต่างกันไป อาจต้องการความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน คณะทำงานชุดพิเศษจะเป็นตัวกลางรวบรวมข้อเสนอต่างๆ ทั้งหมดมาสรุป และเมื่อได้ข้อเสนอทั้งหมดจะเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาทันที" นายพยุงศักดิ์กล่าว