เต็ง เส่ง ลงนามกฎหมายลงทุนพม่าฉบับใหม่

ผู้นำพม่าลงนามประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติฉบับใหม่แล้ว เมื่อวันศุกร์ (2 พ.ย.) ที่หวังช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่หลุดพ้นจากการปกครองระบอบทหารนานหลายทศวรรษ ทำเนียบประธานาธิบดีระบุ การประกาศใช้กฎหมายมีขึ้นหลังถกเถียงกันอยู่นานหลายสัปดาห์เกี่ยวกับการเปิดกว้างให้บริษัทข้ามชาติเข้าลงทุนในพม่า “นักลงทุนต่างรอคอยกฎหมายนี้ให้ได้รับการอนุมัติรับรอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมประธานาธิบดีเต็งเส่งลงนามโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้” ซอว์ เต เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีกล่าว และเพิ่มเติมว่า ประธานาธิบดีต้องการประกาศใช้กฎหมายก่อนเดินทางไปร่วมการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ที่ลาว ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์นี้ (5 พ.ย.)

 


ผู้นำพม่าลงนามประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการลงทุนต่างชาติฉบับใหม่แล้ว เมื่อวันศุกร์ (2 พ.ย.) ที่หวังช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศที่หลุดพ้นจากการปกครองระบอบทหารนานหลายทศวรรษ ทำเนียบประธานาธิบดีระบุ การประกาศใช้กฎหมายมีขึ้นหลังถกเถียงกันอยู่นานหลายสัปดาห์เกี่ยวกับการเปิดกว้างให้บริษัทข้ามชาติเข้าลงทุนในพม่า “นักลงทุนต่างรอคอยกฎหมายนี้ให้ได้รับการอนุมัติรับรอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมประธานาธิบดีเต็งเส่งลงนามโดยเร็วเท่าที่สามารถทำได้” ซอว์ เต เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีกล่าว และเพิ่มเติมว่า ประธานาธิบดีต้องการประกาศใช้กฎหมายก่อนเดินทางไปร่วมการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ที่ลาว ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้

กฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้แก่นักลงทุนฉบับนี้ได้รับมติเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันพฤหัสบดี (1) หลังประธานาธิบดีเต็งเส่งส่งร่างกลับคืนให้แก้ไขท่ามกลางความวิตกว่ากฎหมายปกป้องธุรกิจมากเกินไป ข้อจำกัดก่อนหน้านี้ที่กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือครองหุ้นในการร่วมทุนได้เพียง 50% ถูกปรับเปลี่ยนใหม่อนุญาตให้สัดส่วนของการลงทุนเป็นการตัดสินใจของหุ้นส่วนต่างชาติ และท้องถิ่น ท่าทีนี้มีขึ้นเมื่อกิจการยักษ์ใหญ่ระดับโลกเช่น โคคา-โคลา เจนเนอรัลอิเล็กทริค เตรียมพร้อมเข้าลงทุนในพม่า ซึ่งหนึ่งในข้อร้องเรียนสำคัญของนักธุรกิจที่กระหายจะเข้ามาลงทุนในพม่าคือ การขาดกรอบกฎหมายที่ชัดเจน “ผมคิดว่ากฎหมายฉบับใหม่จะดึงดูดนักลงทุนที่สนใจให้เข้ามาลงทุนในพม่ามากขึ้น” อ่อง ยี ยุ้นต์ สมาชิกสภาจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย กล่าว

ประธานาธิบดีเต็งเส่งให้คำมั่นที่จะยกประเด็นเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลางของการปฏิรูประลอกใหม่ หลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงการเมืองอย่างมากมายนับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองระบอบเผด็จการทหารที่ยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษเมื่อปีก่อน ชาติตะวันตกเริ่มผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรต่อพม่า และบริษัทต่างชาติต่างรอคอยเข้าลงทุนในประเทศแห่งนี้ โดยจับตามองไปที่ทรัพยากรธรรมชาติอันมหาศาล ประชากรจำนวนมาก และที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่อยู่ระหว่างจีน และอินเดีย.

NEWS & TRENDS