ดัชนี SME ชี้ ส.ค ภาคการค้า-บริการเติบโต

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนสิงหาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2555 พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.7 จากระดับ 43.9 (เพิ่มขึ้น 3.8) โดยภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.2 และ 48.5 จากระดับ 43.2 และ 43.1 (เพิ่มขึ้น 4.0 และ 5.4) ขณะที่ภาคค้าส่ง ค่าดัชนีลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 47.2 จากระดับ 47.5 (ลดลง 0.3) ส่วนความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตนเอง ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 39.9 และ 46.9 จากระดับ 36.9 และ 35.8 (เพิ่มขึ้น 3.0 และ 11.1) ตามลำดับ

 


สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (Trade & Service Sentiment Index : TSSI) ประจำเดือนสิงหาคม เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2555 พบว่า ดัชนี TSSI SMEs รวมภาคการค้าและบริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.7 จากระดับ 43.9 (เพิ่มขึ้น 3.8) โดยภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 47.2 และ 48.5 จากระดับ 43.2 และ 43.1 (เพิ่มขึ้น 4.0 และ 5.4) ขณะที่ภาคค้าส่ง ค่าดัชนีลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 47.2 จากระดับ 47.5 (ลดลง 0.3) ส่วนความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตนเอง ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 39.9 และ 46.9 จากระดับ 36.9 และ 35.8 (เพิ่มขึ้น 3.0 และ 11.1) ตามลำดับ

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าดัชนีรวมภาคการค้าและบริการในเดือนสิงหาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น มีผลจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมมีความเข้มแข็ง สะท้อนได้จากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 14.23  นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวถึง 1.93 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.5 การอุปโภคบริโภคในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาแต่ละประเภทกิจการ พบว่า ภาคค้าปลีก กิจการสถานีบริการน้ำมัน ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 50.8 จากระดับ 39.0 (เพิ่มขึ้น 11.8) เช่นเดียวกับภาคบริการ พบว่า กิจการขนส่งสินค้าและขนส่งมวลชน เป็นกลุ่มที่มีค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 51.8 และ 50.8 จากระดับ 40.9 และ 37.3 (เพิ่มขึ้น 10.9 และ 11.0) ผลจากสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับที่ดี รวมถึงมาตรการรถยนต์คันแรก กอปรกับอยู่ในช่วงการชะลอการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบซึ่งส่งผลดีต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ  ส่งผลให้สถานการณ์การใช้น้ำมัน รวมถึงการขนส่งสินค้าและขนส่งมวลชน มีความคึกคักเพิ่มมากขึ้น

ส่วนภาคค้าส่ง ซึ่งมีค่าดัชนีลดลงเล็กน้อย พบว่า กิจการค้าส่งสินค้าเกษตร มีค่าดัชนีลดลงมากที่สุดอยู่ที่ 47.4 จากระดับ 48.9 (ลดลง 1.5) ผลจากราคาสินค้าเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่อง เห็นได้จากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ระดับ 145.39 ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดปศุสัตว์ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ ทั้งในส่วนของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน มีสัญญาณชะลอตัว ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยชะลอตัวลงมาก โดยลดลงร้อยละ 18.6 และช่วง 8 เดือนแรกของปี การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.3

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า รวมภาคการค้าและบริการ พบว่า ค่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 54.5 จากระดับ 50.9 (เพิ่มขึ้น 3.8) และเป็นการเพิ่มขึ้นของทุกภาคธุรกิจ โดยกิจการภาคค้าส่ง ภาคค้าปลีก และภาคบริการ ค่าดัชนีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 51.4  54.7 และ 55.5 จากระดับ 50.8  50.7 และ 51.0 (เพิ่มขึ้น 0.6 4.0 และ 4.5) เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจประเทศและต่อธุรกิจตนเอง ที่ค่าดัชนีอยู่ที่ 58.8 จากระดับ 62.1 จากระดับ 53.1 และ 50.4 (เพิ่มขึ้น 5.7 และ 11.7) ตามลำดับ
 

NEWS & TRENDS