สภาอุตฯ 70 จังหวัดบุกทำเนียบร้องนายกฯเบรกขึ้นค่าแรง

นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสายงานอุตสาหกรรมจังหวัด ว่า ในวันที่ 30 ต.ค.2555 ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 70 จังหวัด ได้นัดรวมตัวเพื่อเตรียมยื่นหนังสือและขอเข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในวันที่ 1 ม.ค.2555 เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการได้รับผล กระทบอย่างรุนแรง และไม่ได้เห็นด้วยกับที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ที่นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. ระบุว่าเอกชนไม่ได้รับผล กระทบจากการขึ้นค่าแรง และขอถอนเรื่องออก โดยอ้างว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ขอยกวาระออกไปหารือนอกรอบ



นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสายงานอุตสาหกรรมจังหวัด ว่า ในวันที่ 30 ต.ค.2555 ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 70 จังหวัด ได้นัดรวมตัวเพื่อเตรียมยื่นหนังสือและขอเข้าพบน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในวันที่ 1 ม.ค.2555 เพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการได้รับผล กระทบอย่างรุนแรง และไม่ได้เห็นด้วยกับที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ที่นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. ระบุว่าเอกชนไม่ได้รับผล กระทบจากการขึ้นค่าแรง และขอถอนเรื่องออก โดยอ้างว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ขอยกวาระออกไปหารือนอกรอบ

"ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์นี้ คาดว่ากระทรวงแรงงานจะเสนอวาระการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ให้ที่ประชุมเห็นชอบ ดังนั้นภาคเอกชนจึงต้องเข้าไปชี้แจงกับ นายกฯ เพื่อทบทวนเรื่องนี้ และหากนายพยุงศักดิ์ไม่เห็นด้วยที่จะให้เสนอวาระดังกล่าวเข้าที่ประชุมอีก ก็ต้องถามนายพยุงศักดิ์ว่าจะยังเป็นผู้นำของภาคเอกชนต่อไปได้หรือไม่"นายทวีกิจ กล่าว

ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 70 แห่งต้องการให้นายกฯรับทราบความเดือดร้อนด้วยตนเอง และหามาตรการช่วยเหลือ ชดเชย เยียวยา เช่นเดียวกับนโยบายอุดหนุนราคาสินค้าเกษตร เช่น นโยบายรับจำนำข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา เพราะภาคอุตสาหกรรมก็มีความสำคัญ ดังนั้นอาจออกมาตรการช่วยในระยะแรกเช่น จ่ายค่าแรงส่วนต่างให้กับภาคเอกชน เพื่อลดผล กระทบโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่มีสัดส่วนถึง 90% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ยังไม่มีความพร้อมที่จะปรับขึ้นค่าแรง แต่ปัจจุบันที่ยังเปิดกิจการอยู่ได้ เพราะพยายามประคองกิจการในลักษณะหลังชนฝา

รายงานข่าวจากส.อ.ท.เปิดเผยว่า ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดไม่พอใจอย่างมาก ที่ไม่มีการเสนอให้ทบทวนการขึ้นค่าแรง 300 บาท ในที่ประชุม กรอ.ที่เกาะสมุย ทั้งที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) แต่ทราบว่ามีการดึงเรื่องออกก่อนประชุม 2 ชั่วโมง โดยอ้างว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำเป็นต้องหารือนอกรอบ ซึ่งสศช. ได้สอบถามความเห็นนายพยุงศักดิ์ และนายพยุงศักดิ์ก็เห็นด้วย แต่ความเห็นนั้นไม่ได้เป็นความเห็นของสมาชิกส่วนใหญ่ จึงไม่เข้าใจว่านายพยุงศักดิ์เป็นตัวแทนของภาคเอกชน หรือตัวแทนของรัฐบาล

สำหรับข้อเสนอที่เตรียมเสนอต่อนายฯ ได้แก่ 1.ต้องการให้รัฐบาลคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไว้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2558 และหากเศรษฐกิจผันผวนรุนแรงจนกระทบต่อค่าครองชีพของลูกจ้าง คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาทบทวนได้ตามความเหมาะสม 2.ต้องการให้มติการขึ้นค่าจ้างปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง 3.ลูกจ้างต้องจบการศึกษาขั้นต่ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีใบประกาศหรือเอกสารรับรอง 4.หลังวันที่ 31 ธ.ค.2558 ให้ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำและปล่อยลอยตัวตามกลไกตลาด 5.รัฐบาลต้องมีโครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม
 

NEWS & TRENDS