วิกฤตแรงงานอุตฯก่อสร้างขาดแคลนหนัก

นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถาบันก่อสร้างได้ประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในขณะนี้พบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างไม่สามารถขยายงานได้ตามแผนที่วางไว้ และเริ่มชะลอรับงานใหม่ เนื่องจากเกิดภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก โดยเฉพาะโครงการพัฒนาบ้านที่อยู่อาศัยส่งผลกระทบต่อการส่งมอบบ้านให้ลูกค้าที่ล่าช้าตามไปด้วย อีกทั้งยังคาดการณ์ว่ากำลังแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอสำหรับรองรับโครงการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนในปี 2555-2556

 


นายจักรพร อุ่นจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันการก่อสร้างแห่งประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถาบันก่อสร้างได้ประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในขณะนี้พบว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมก่อสร้างไม่สามารถขยายงานได้ตามแผนที่วางไว้ และเริ่มชะลอรับงานใหม่ เนื่องจากเกิดภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก โดยเฉพาะโครงการพัฒนาบ้านที่อยู่อาศัยส่งผลกระทบต่อการส่งมอบบ้านให้ลูกค้าที่ล่าช้าตามไปด้วย อีกทั้งยังคาดการณ์ว่ากำลังแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอสำหรับรองรับโครงการก่อสร้างภาครัฐและเอกชนในปี 2555-2556

“ภาคก่อสร้างปีนี้ขยายตัวประมาณ 15% หรือมีมูลค่าการลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 900,000 ล้านบาท ซึ่งการเร่งขยายงานกลับทำได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเท่าที่ควร เพราะการขาดแคลนแรงงานไม่น้อยกว่า 3 แสนคน โดยที่ผ่านมาตามตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าภาคก่อสร้างมีการใช้แรงงานเฉลี่ย 2.3-2.6 ล้านคน แต่ปีนี้มีความต้องการแรงงานสูงถึง 2.9 ล้านคน จากการขยายตัวอย่างมาก” นายจักรพร กล่าว

นายจักรพร กล่าวยอมรับว่า แรงงานของไทยเฉลี่ยมีอายุงานมากขึ้น ประกอบกับเด็กใหม่ที่จะเข้าสู่ระบบแรงงานมักจะเลือกงานทางด้านบริการมากกว่าที่จะใช้แรงงาน โดยเฉพาะในภาคก่อสร้างที่ถูกมองว่าเป็นงานหนัก แม้ว่าเอกชนพยายามปรับตัวมุ่งหาเทคโนโลยีมาทดแทนแต่ก็ไม่สามารถจะรองรับได้ทั้งหมด ดังนั้นสถาบันฯ จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเพื่อจัดกลุ่มวิชาชีพแรงงานที่ใช้ทักษะและมีค่าตอบแทนสูงไว้สำหรับแรงงานไทย อาทิ ช่างควบคุมเครื่องจักร ผู้ควบคุม Tower Crane และช่างเชื่อมงานก่อสร้าง เป็นต้น รวมทั้งยังได้หารือร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อเสนอแนวทางในการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพช่างก่อสร้าง เพื่อสร้างบุคลากรใหม่ป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างให้มากขึ้น โดยจะนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการเพื่อขออนุมัติหลักสูตรต่อไป และกระทรวงแรงงานกำลังพิจารณาการนำเข้าแรงงานต่างด้าวมา ในส่วนของกลุ่มที่ใช้ทักษะฝีมือแรงงานไม่มากจากประเทศพม่าและกัมพูชา

ส่วนกรณีที่พม่ามีการรณรงค์ให้แรงงานพม่าในต่างประเทศกลับเข้าไปยังประเทศตนเองเพื่อรองรับการขยายตัวในการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคจากการที่พม่าได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 2556 โดยคาดว่าทางการพม่าจะใช้คนงานในการก่อสร้างสนามกีฬาและระบบโครงข่ายสาธารณูปโภคต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 100,000 คนนั้น สถาบันฯ ประเมินว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบระดับหนึ่ง โดยในส่วนของแรงงานมีฝีมือที่พม่ามีความต้องการสูง
 

 

NEWS & TRENDS