ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนางานศิลปหัตกรรมตามโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และยังเป็นศูนย์กลางสนับสนุนพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพไทยให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ทั้งในเชิงพาณิชย์และด้านการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของศิลปหัตถกรรมจากประเทศไทย
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนางานศิลปหัตกรรมตามโครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และยังเป็นศูนย์กลางสนับสนุนพร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพไทยให้เป็นที่รู้จัก รวมทั้งเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ทั้งในเชิงพาณิชย์และด้านการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของศิลปหัตถกรรมจากประเทศไทย
ทั้งนี้ ด้วยบทบาทของหน่วยงานซึ่งตระหนักเห็นถึงความสำคัญของงานหัตถกรรมไทย ทั้งในเชิงอนุรักษ์และการนำไปสู่เชิงพาณิชย์ในตลาดโลก ทำให้ พิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป) ได้วางแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของไทยให้มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการขยายช่องทางการตลาด โดยการนำเอาเรื่องของ “นวัตกรรม” เข้ามาประยุกต์เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีทั้งคุณค่าและมูลค่า ซึ่งหนึ่งในแนวทางของการพลักดันให้เกิดเป็นงานหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์นั้น ก็คือ การจัด “โครงการประกวดหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์” หรือ Innovative Craft Award ขึ้นเป็นครั้งแรก
“วันนี้นวัตกรรมถือเป็นเทรนด์ของโลกไปแล้ว ทุกอย่างต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ แทนที่จะเป็นหัตถกรรมธรรมดาๆ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การรู้จักนำเอาความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอด จะเป็นการสร้างโอกาสให้มากขึ้นโดยเฉพาะในตลาดโลก ซึ่งการที่ศ.ศ.ป.ผลักดันในเรื่องของ Innovative Craft นั้น นอกเหนือจะเป็นการส่งเสริมบุคลากร ครูช่าง หรือช่างฝีมือในท้องถิ่นที่มีทักษะฝีมือสืบทอดมาจากบรรพบุรุษไม่ให้สูญหายไปนั้น ยังเป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นนักออกแบบ ซึ่งเข้าใจในวิถีชีวิตของไทย รู้จักนำเอาเทคนิค ภูมิปัญญาชาวบ้านและวัตถุดิบพื้นบ้านมาร้อยเรียงเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งหากมองในแง่ของการอนุรักษ์ก็ยังคงอยู่ ขณะเดียวกันในเชิงคุณค่าและมูลค่าก็เพิ่มขึ้นด้วย”
พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการ ศ.ศ.ป.ยังกล่าวเสริมอีกว่า หากมองศักยภาพงานหัตถกรรมของไทยแล้ว ต้องบอกว่าในกลุ่มอาเซียน ไทยถือว่าเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งทุกคนยอมรับในทักษะฝีมือและความพิถีพิถัน ทำให้โอกาสของสินค้าหัตถกรรมไทยในตลาดอาเซียนจึงมีค่อนข้างสูง และทั้งนี้ หากสามารถกระตุ้นให้เกิดความคิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีการพัฒนารูปแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตคนในสังคมสมัยใหม่ได้ เท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสให้หัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ของไทย สามารถขยายฐานตลาดสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งยังเป็นการรองรับการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 นี้ด้วย
“โอกาสของเราในตลาดอาเซียน ไม่ได้มีเฉพาะโอกาสในแง่ของการตลาดเท่านั้น ยังมีโอกาสในแง่วัตถุดิบและโอกาสในแง่ของความเหมือนและความต่าง อย่างในอาเซียน คนอาจจะมีความชอบเหมือนๆ กัน เช่น ชอบเครื่องจักรสารหรือเครื่องปั้นเหมือนกัน แต่ในความต่างนั้น คือความพิถีพิถันและเอกลักษณ์ของคนไทย ซึ่งโดนใจคนในอาเซียน ถือได้ว่าเราสามารถเป็นผู้นำในเรื่องของ Innovative Craft ในอาเซียนได้เลย”