บีโอไอปลื้มสิทธิประโยชนน์ดีกว่าคู่แข่ง

บีโอไอปลื้มสิทธิประโยชน์เหนือกว่าคู่แข่งประเทศเพื่อนบ้าน แต่ชี้อาจเสียเปรียบด้านค่าแรงที่สูงกว่า ด้านรองฯหอการค้าแนะสร้างเชื่อมั่นนักลงทุนต้องลดปัญหาคอรัปชั่นที่ยังเป็นปัญหาหนักสำหรับภาคเอกชนที่ต้องจ่ายใต้โต๊ะ

 


บีโอไอปลื้มสิทธิประโยชน์เหนือกว่าคู่แข่งประเทศเพื่อนบ้าน แต่ชี้อาจเสียเปรียบด้านค่าแรงที่สูงกว่า ด้านรองฯหอการค้าแนะสร้างเชื่อมั่นนักลงทุนต้องลดปัญหาคอรัปชั่นที่ยังเป็นปัญหาหนักสำหรับภาคเอกชนที่ต้องจ่ายใต้โต๊ะ

  นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยผลการศึกษา “การวิเคราะห์ความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย ประจำปี 55” ว่า ต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมฯ จำนวน 3,228 ราย ตอบแบบสอบถามกลับมา 414 ราย ส่วนอีก 30 ราย ได้ทำการสัมภาษณ์ในเชิงลึก โดยพบว่าระหว่างปี 55-56 นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ 65.20% ยังคงต้องการลงทุนในประเทศไทยต่อ เนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์จากการลดภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอเป็นส่วนใหญ่ และอีก 31.62% มีแผนขยายการลงทุนเพิ่มเติมในปี 55 เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ แรงงานที่มีความสามารถและเพียงพอ

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับประเทศคู่แข่ง 9 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม พบว่าสิทธิประโยชน์ของบีโอไอ การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีศุลกากร การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ระบบขนส่งไทยเหนือกว่า 9 ประเทศคู่แข่ง แต่สิ่งที่คาดว่าจะเสียเปรียบคือค่าแรงที่เริ่มจะมีความเสียเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ด้านนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน รัฐบาลต้องลดปัญหาคอรัปชั่นที่ยังเป็นปัญหาหนักมากสำหรับภาคเอกชน เพราะยังต้องมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับข้าราชการและนักการเมือง และรัฐบาลต้องกำหนดยุทธศาสตร์ภาคอุตสาหกรรมให้ชัดเจน ว่าต้องการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูงอย่างไร แต่ก็ยังมีปัญหาที่ทำให้บีโอไอให้การสนับสนุนกลุ่มดังกล่าวไม่ชัดเจน จึงเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานคุณภาพกลุ่มดังกล่าว โรงงาน และบริษัทเอกชนหลายแห่งจึงต้องทำการตั้งวิทยาลัยขึ้นมาสร้างแรงงานรองรับภาคอุตสาหกรรมของตนเอง นับว่าเป็นความล้มเหลวของภาครัฐอย่างมากในการส่งเสริมการศึกษาให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
 

NEWS & TRENDS