8 บริษัทพื้นที่นิคมฯคว้าอุตฯยอดเยี่ยมปี 54

กนอ.ปลื้ม สถานประกอบการจากนิคมฯ 7 แห่ง จำนวน 8 ราย เข้ารับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม และอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2554 ประเภทการเพิ่มผลผลิตการบริหารความปลอดภัย และการจัดการพลังงาน พร้อมผลักดันสู่การเป็นอุตสาหกรรมชั้นนำมุ่งดำเนินกิจการตามหลักธรรมาภิบาล

       กนอ.ปลื้ม สถานประกอบการจากนิคมฯ 7 แห่ง จำนวน 8 ราย เข้ารับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม และอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2554 ประเภทการเพิ่มผลผลิตการบริหารความปลอดภัย และการจัดการพลังงาน พร้อมผลักดันสู่การเป็นอุตสาหกรรมชั้นนำมุ่งดำเนินกิจการตามหลักธรรมาภิบาล

        นายประสบศิลป์ โชติมงคล รองผู้ว่าการ รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยวันนี้  (29 กุมภาพันธ์ 2555 ) ว่า ในปี2554 มีสถานประกอบการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จำนวน 7 นิคมฯ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม และอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2554 จำนวน  8 ราย ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นผู้มอบรางวัลดังกล่าว โดยแบ่งประเภทสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลดังนี้ 

      รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ หัวอ่านและบันทึกข้อมูลแผ่นแม่เหล็ก ในนิคมฯ บางปะอิน รางวัลดังกล่าวปีนี้ มีบริษัทสมัครเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกจำนวน 8 บริษัท ซึ่งเกณฑ์การพิจารณารางวัลนี้ เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภท และต้องเป็นกิจการที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ 
 
       รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น  ประเภทการบริหารความปลอดภัย  จำนวน 3 ราย คือ บริษัท เอ็นโคเค พรีซิชั่น คอมโพแนนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในพื้นที่นิคมฯบางปะอิน บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด ในพื้นที่ นิคมฯมาบตาพุด  และบริษัท อูซูอิ อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ในพื้นที่นิคมฯอมตะนคร
 
       ประเภทการจัดการพลังงาน จำนวน 3 ราย คือ บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)   ในพื้นที่นิคมฯหนองแค  บริษัท เดลต้าอิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่นิคมฯเวลโกรว์ และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่โครงการนิคมฯบางสะพาน ประเภทการเพิ่มผลผลิต จำนวน 1 ราย คือ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด  อยู่ในพื้นที่นิคมฯบางชัน 
 
        “กนอ.ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการด้านหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่จะมีส่วนในการสนับสนุนให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน จะต้องมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการดูแลด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากโครงการต่างๆ   ที่ผ่านมา อาทิ การพัฒนาศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โครงการธงขาวดาวเขียว โครงการแรงงานปลอดภัยสังคมไทยมีสุข กิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมอื่นๆ” นายประสบศิลป์กล่าว 
 

NEWS & TRENDS