ติวเข้มผู้ปลูกหอมแดงยกระดับลุยอาเซียน

นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร จัดทำแผนพัฒนากลุ่มเกษตรกรหอมแดงจากผู้ปลูก กลายเป็นผู้ส่งออก เพื่อรับมือ การค้าเสรี FTA ล่าสุด พัฒนาเกษตรกรหอมแดงศรีสะเกษกว่า 700 ราย ได้มาตรฐาน GAP

      นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร จัดทำแผนพัฒนากลุ่มเกษตรกรหอมแดงจากผู้ปลูก กลายเป็นผู้ส่งออก เพื่อรับมือ การค้าเสรี FTA ล่าสุด พัฒนาเกษตรกรหอมแดงศรีสะเกษกว่า 700 ราย ได้มาตรฐาน GAP 

      
       ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา นักวิจัย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการเปิดเขตเสรีการค้า FTA ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ดังนั้น เพื่อรองรับผลกระทบดังกล่าว กองทุน FTA กระทรวงพาณิชย์ จึงได้มอบหมายให้ทางมหาวิทยาลัยในส่วนของศูนย์บริการวิชาการ จึงได้จัดทำแผนพัฒนากลุ่มเกษตรกรหอมแดงขึ้น ภายใต้โครงการ “วิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการผลิต การเก็บรักษา และการตลาดหอมแดงแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
       
       โดยทาง ทีมคณะวิจัย ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ กว่า 700 ราย ตังแต่ต้นน้ำ เริ่มจากการให้ความรู้แก่เกษตรกร ในการเพาะปลูกให้ได้มาตรฐานGood Agriculture Practices (GAP) การคัดเลือกสายพันธุ์แท้ที่เหมาะสม ต้านทานโรค ให้ผลผลิตดี

  สำหรับส่วนกลางน้ำ ความรู้หลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาไปจนถึง การแปรรูปเบื้องต้น การยืดอายุการเก็บรักษาและการบรรจุภัณฑ์ และระบบการบริหารจัดการในศูนย์รับซื้อหอมแดงเพื่อการควบคุมทางบัญชีและการเงิน รวมถึงแนะนำการลดต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลังและโลจิสติกส์ ระดับปลายน้ำ การหาช่องทางการจัดจำหน่ายและการจัดการด้านการตลาดและโลจิสติกส์เพื่อการส่งออก รวมทั้งพัฒนาตราสินค้า (Branding) บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
       
       ทั้งนี้ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ป้อนเข้าสู่ตลาดเพื่อให้ผลิตภัณฑ์หอมแดงเป็นพืชเศรษฐกิจแปรรูปใหม่ที่มีศักยภาพของไทย โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดอาเซียนซึ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมาก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายที่มีความต้องการหอมแดงจำนวนมาก

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์
 

NEWS & TRENDS