นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.เตรียมเสนอคณะกรรมการ กนอ. พิจารณาตั้งบริษัท กนอ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเดือน ส.ค. 56 โดย กนอ.กำลังศึกษารูปแบบการตั้งบริษัทลูก และดูรูปแบบจากแห่งอื่น เช่น บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล และต้องมาดูว่า บริษัทลูกควรมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ แต่การเป็นรัฐวิสาหกิจ อาจจะทำให้การลงทุนไม่คล่องตัว ซึ่ง กนอ.จะใช้เงินรายได้ของตัวเองในการเข้าไปลงทุนตั้งบริษัทลูก แต่เมื่อออกไปลงทุนในต่างประเทศอาจจะของบเพิ่มหากมีการเพิ่มทุน
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ.เตรียมเสนอคณะกรรมการ กนอ. พิจารณาตั้งบริษัท กนอ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเดือน ส.ค. 56 โดย กนอ.กำลังศึกษารูปแบบการตั้งบริษัทลูก และดูรูปแบบจากแห่งอื่น เช่น บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล และต้องมาดูว่า บริษัทลูกควรมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือไม่ แต่การเป็นรัฐวิสาหกิจ อาจจะทำให้การลงทุนไม่คล่องตัว ซึ่ง กนอ.จะใช้เงินรายได้ของตัวเองในการเข้าไปลงทุนตั้งบริษัทลูก แต่เมื่อออกไปลงทุนในต่างประเทศอาจจะของบเพิ่มหากมีการเพิ่มทุน
ทั้งนี้เมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ กนอ.แล้วจะต้องเสนอที่ประชุม ครม. พิจารณาอีกครั้ง โดยการตั้งบริษัทลูกครั้งนี้จะใช้ประสบการณ์การบริหารนิคมอุตสาหกรรมไปลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศ เช่น พม่า เพื่อรองรับผู้ประกอบการไทยที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า บริษัท กนอ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะเป็นโฮลดิ้งคอมพานีทำหน้าที่ออกไปลงทุนตั้งนิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศ โดย กนอ.จะเข้าไปถือหุ้นไม่เกิน 49 % เพื่อไม่ให้มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และ กนอ.อยู่ระหว่างหารือกับพันธมิตร 3-4 ราย เพื่อให้เข้ามาร่วมถือหุ้น เช่น บริษัทพัฒนานิคมอุตสาหกรรม กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ กนอ.ต้องการพันธมิตรเข้าร่วม 2 ราย แต่จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นใกล้เคียงกันจึงหารือเพิ่มเพื่อกระจายสัดส่วนการถือหุ้นออกไปเพื่อไม่ให้มีใครมีเสียงชี้นำ โดย กนอ.อาจจะถือหุ้นข้างมากที่ 35 % และให้พันธมิตรถือหุ้นในสัดส่วนลดหลั่นลงมา