หอการค้าฯดึงบริษัทใหญ่พี่เลี้ยงแนะแนว SMEs

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าเป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ หลังจากที่หลายฝ่ายปรับลดตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลง จากสภาวการณ์ส่งออกที่ลดลง เพราะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอการเติบโตลง ซึ่งส่งผลกระทบทำให้การบริโภคลดลง ผู้บริโภคเริ่มประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากขึ้น ผู้นำเข้าก็สั่งนำเข้าสินค้าจากผู้ประกอบการไทยลดน้อยลงไปด้วย

 


นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าเป็นห่วงสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ หลังจากที่หลายฝ่ายปรับลดตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลง จากสภาวการณ์ส่งออกที่ลดลง เพราะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอการเติบโตลง ซึ่งส่งผลกระทบทำให้การบริโภคลดลง ผู้บริโภคเริ่มประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากขึ้น ผู้นำเข้าก็สั่งนำเข้าสินค้าจากผู้ประกอบการไทยลดน้อยลงไปด้วย

ขณะที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการดังนั้น จากช่วงเวลานี้ไป ผู้ประกอบการของไทย จะต้องปรับตัวในการบริหารจัดการต้นทุน รวมทั้งหาตลาดใหม่ทดแทนให้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งเตรียมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ขณะเดียวกัน ต้องการให้รัฐบาลเร่งการลงทุนเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนตามแผนการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท หรือโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาท แม้ว่าจะติดปัญหาอยู่ที่ศาลก็ตาม แต่เห็นว่า อะไรที่ทำได้ก่อน ไม่มีปัญหาติดขัด ไม่ต้องใช้การก่อสร้างทางเทคนิคระดับสูง ก็ให้เริ่มดำเนินการไปก่อนเลย เพื่อกระตุ้นจีดีพีของไทยให้เติบโตได้ 4.5-4.8% แต่ทั้งนี้ขอดูสถานการณ์อีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้ก่อนอีกครั้งหนึ่ง

“ผมไม่อยากให้ผู้ประกอบการลดกำลังการผลิต เพราะจะมีผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าให้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก จากปัจจุบันที่มีต้นทุนสูงทั้งจากแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น ซึ่งอยู่ที่ตัวเราเองว่าจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน หาตลาดใหม่ แต่ไม่ควรลดกำลังการผลิตจาก 60-70% เหลือ 50% ควรเดินเครื่องผลิตให้เต็มที่ เพราะจะทำให้ต้นทุนถูกลง และส่วนเกินที่ผลิตได้นี้นำไปไปขายในตลาดใหม่ ๆ ที่ราคาไม่จำเป็นต้องสูงนัก รวมทั้งดูระบบบัญชีให้เป็น และการร่วมมือร่วมใจกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อให้ประหยัดต้นทุนที่สุด”

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทของไทยปัจจุบันนี้ ที่ 31.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ ไม่ได้สูงกว่าประเทศคู่แข่งด้านการค้าที่สำคัญแต่อย่างใด ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้นก็มองว่า คงจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง ส่วนปัญหาแรงงานนั้น เห็นว่า ไทยยังต้องปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพแรงงานให้ได้ค่าตอบแทนสูงตามฝีมือ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า ตัวเลขผลผลิตแรงงานต่อคนต่อปีของไทยอยู่ที่ 18,500 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่แรงงานมาเลเซียทำได้ถึง 36,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับว่าไทยยังใช้คนเปลือง ที่สำคัญหากสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศนิ่ง ก็จะช่วยทำให้การทำธุรกิจราบรื่นมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ หอการค้าได้หาแนวทางช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย ให้สามารถปรับตัวประกอบกิจการค้าและแข่งขันได้ในภูมิภาค เมื่อเข้าสู่เออีซี ด้วยการเป็นตัวกลางในการจัดงานสัมมนา เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้เอสเอ็มอี ในลักษณะให้บริษัทขนาดใหญ่มาแนะแนวทางเป็นพี่เลี้ยงให้ ซึ่งทั้งปีมีงบประมาณด้านการอบรมต่าง ๆ 25 ล้านบาท และล่าสุด จะจัดงานดังกล่าวในวันที่ 17 ก.ค.นี้ ที่รร.มิราเคิล แกรนด์ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 300 ราย
 

NEWS & TRENDS