หวั่นมาตรการลดโลกร้อน 2020 ทำ SMEs เดี้ยง

ในปี 2020 จะมีการเจรจามาตรการการรับมือเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติ มีแนวโน้มว่าการเจรจาในรอบนี้ประเทศกำลังพัฒนาต้องเข้าร่วมลดภาวะโลกร้อนกับเขาด้วย สัดส่วน 15-30% ของเป้าหมายที่จะลดลง 2 องศา แต่ประเทศไหนจะรับไปดำเนินการเท่าไร กติกายังไม่ออกมาชัดเจนแต่ที่แน่ ๆ เมื่อออกมาแล้วจะพิสูจน์อย่างไรว่าลดได้จริงในประเทศที่กำลังพัฒนาตามตัวเลขที่ตกลงกันไว้

 

ในปี 2020 จะมีการเจรจามาตรการการรับมือเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ตามกรอบของอนุสัญญาสหประชาชาติ มีแนวโน้มว่าการเจรจาในรอบนี้ประเทศกำลังพัฒนาต้องเข้าร่วมลดภาวะโลกร้อนกับเขาด้วย สัดส่วน 15-30% ของเป้าหมายที่จะลดลง 2 องศา แต่ประเทศไหนจะรับไปดำเนินการเท่าไร กติกายังไม่ออกมาชัดเจนแต่ที่แน่ ๆ เมื่อออกมาแล้วจะพิสูจน์อย่างไรว่าลดได้จริงในประเทศที่กำลังพัฒนาตามตัวเลขที่ตกลงกันไว้ 

ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบ ที่เรียกว่า MRV ในการตรวจสอบการปล่อยคาร์บอน ตั้งแต่การเข้าไปตรวจสอบ รายงาน และมีการสอบทวนซ้ำอีกรอบ 

ผู้ประกอบการรายใหญ่มีการปรับตัวไปพร้อมกับซัพพลายเชนในระบบไปแล้ว แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ เอสเอ็มอีวันนี้ทราบหรือไม่ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรหากเกิดมาตรการนี้จริง

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้ประสานงานชุดโครงการความรู้และยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวว่า ผลกระทบต่อเอสเอ็มอีนั้นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งน่าเป็นห่วงเพราะห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมปรับ แต่ซัพพลายเชนมาจากเอสเอ็มอี ถ้าไม่ปรับก็ติดปัญหากลายเป็นเหตุผลที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่นำมาอ้างว่ายังไม่ทำ เราพยายามที่จะบอกว่า การทำแบบนี้คือการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด ต้นทุนเพิ่ม แต่เมื่อคิดรวมในสิ่งที่ยังขายได้ ที่เพิ่มมาคือกำไร 

สำหรับ เอสเอ็มอีต่างประเทศ ภาครัฐใช้การอุดหนุนด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น จากการใช้พลังงานทางเลือก การยกเว้นภาษีเงินได้ ในช่วงปีลงทุนปรับเครื่องจักรเพื่อการผลิตสีเขียว หรือกองทุนในการส่งเสริมเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อลงทุนในธุรกิจเครื่องจักรกรีน สำหรับบ้านเรา เราใช้การยกเว้นภาษีนิติบุคคลสำหรับโครงการที่ลดการปล่อยคาร์บอน กองทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ฯออกมาเพื่อการกู้ยืมในการทำโครงการที่เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตด้วย

และปลายปี 2555 ครม.อนุมัติโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ โดยพิจารณาจากการปล่อยมลพิษ ใครที่ปล่อยมากก็เสียมาก โดยจะเริ่มใช้ปี 2559 เป็นต้นไป เริ่มเก็บตั้งแต่ 5% ถึง 40% รวมถึงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 11 ก็ยังพูดถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกด้วย

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ



 

NEWS & TRENDS